คงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง “ชุมชนมีรายได้ 18 ล้านบาทปีที่แล้วเพราะบริหารน้ำตามงานวิจัยท้องถิ่น”

พ่อหลวงคง เริ่มจัดการน้ำจากฝายสู่สระพวง 7 สระเชิงเขาบ้านสาแพะ เปลี่ยนเป็นวิถีทำเกษตรประณีต เพาะเมล็ดพันธุ์ขายตั้งเป้า 20 ล้านบาทในปี 61 และแนะ 2 หยุด 1 ทำที่ชุมชนป่าน่าน

คงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง ผู้ใหญ่บ้านสาแพะ หมู่ 3 ลำปาง หรือที่เรียกติดปากคนในท้องถิ่นและผู้คนที่เข้าไปร่วมทำงานด้วยคือ “พ่อหลวงคง”   ร่วมวงสนทนาถึงเส้นทางตามเป้าหมาย 20 ล้านบาท*

พ่อหลวงคง : พื้นที่ของเราขาดแคลนน้ำเพราะพื้นที่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ หลังจากทำฝายชะลอน้ำมาแล้ว เราก็อยากมีที่เก็บน้ำเพื่อทำเกษตรประณีตขายเมล็ดพันธุ์ ก็เป็นที่มาของสระพวง 7 สระใช้เวลา 2 ปีเก็บน้ำได้ 1 ล้านลิตร เหมาะกับการทำเกษตรที่ ตอนนี้ชุมชนไม่มีเรื่องการพนัน ไม่มีลักเล็กขโมยน้อย ไม่มีการทะเลาะวิวาท ผมว่าส่วนหนึ่งเกิดจากน้ำที่เราดูแลอยู่ ที่มีความเกี่ยวกันเพราะชาวบ้านมีน้ำแล้วไม่มีเวลา ที่หมู่บ้านนี้จะตื่นตี 3 เมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น ถัวเฉลี่ยตื่นก่อน 2 ชม. กลับหลัง 2 ชม. ก็ไม่ค่อยมีเวลา

ถาม : ตอนแรกเราก็แปลกใจเมื่อนัดประชุมชน พ่อหลวงบอกว่าชาวบ้านไม่ว่างหรอกเพราะไปผสมพันธุ์กันหมด เราตกใจมาก

พ่อหลวงคง : ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลาที่ดีในการผสมพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์ทุกอย่างเราทำส่งออก ผ่านบริษัท อย่างมะระ คนอินเดียกินมะระจากมล็ดพันธุ์บ้านสาแพะ เรามีตลาดแอฟริกาด้วย ซึ่งตลาดรับได้แน่นอน

ถาม : ตอนนนี้ชุมชนเรามีกี่หลังคาเรือนมีกี่ครอบครัว

พ่อหลวงคง : ตอนนี้เรามี 153 หลังคาเรือน ปกติ 160 แต่ก็กำลังเริ่มจะกลับมาแล้ว เพราะเห็นว่าทำเกษตรประณีตได้ตลอดทั้งปี มีรายได้ดี…ตอนแรกที่เริ่มเกษตรประณีตมีไม่ถึง 10 ราย ทุกวันนี้ ทำ 80-90 ราย ซึ่งเป้าหมายจริงๆของปีที่แล้ว 10 ล้านบาทไม่เกิน 12 ล้านบาท แต่ล่าสุดเมื่อมีสระพวงครบ 7 สระ รายได้สรุปปีที่แล้ว 18 ล้านบาทปีนี้ชุมชนตั้งเป้าหมายรายได้ 20 ล้านบาท

ถาม : ลูกค้าเรามีกี่บริษัท

พ่อหลวงคง : ที่มีรายได้ 18 ล้านบาท มาจากบริษัทเดียว แต่ก็มี 2-3 บริษัทที่สั่งจากเรา  การมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่เกี่ยวข้องว่า ประเทศไทยจะมีปัญหาเรื่องวิกฤตอะไรต่างๆ ชุมชนผมก็ผ่าน ขอให้มีน้ำอย่างเดียว

องค์ความรู้เอสซีจีได้จากชุมชน เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ จึงได้นำนวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหา “นวัตกรรมผ้าใบคอนกรีต” ที่ผสานเทคโนโลยีซีเมนต์และเทคโนโลยีใยสังเคราะห์มีความแข็งแรง ปรับรูปแบบได้ตามความต้องการใช้งาน มาใช้สร้างสระพวง สำหรับกักเก็บน้ำในสระแม่ สระลูก ส่วนผ้าใบพลาสติกสีดำปูในสระหลาน เป็นเทคโนโลยีผ้าใบพลาสติกจากเอสซีจี เคมิคอลส์

ถาม : ทำอย่างไรให้ชุมชนเชื่อในสิ่งที่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการต้องขอการเสียสละสร้างสระพวง รวมถึงการทำเกษตรประณีต

พ่อหลวงคง : ความเป็นผู้นำสำคัญมาก การมากินข้าวด้วยกัน พูดคุยกันเป็นการช่วยได้มากที่จะโน้มน้าวใจคนที่ยังไม่เห็นด้วย เหมือนการละลายพฤติกรรม เรามีงานวิจัยท้องถิ่นช่วยส่วนหนึ่ง ส่วนในทีมผู้นำต้องเข้มข้น โปร่งใส…ผู้นำที่มีปัญหาหลายคนมักจะเป็นผู้นำถือเงินไว้เอง อย่างผมจะไม่ถือเงินแม้แต่บาทเดียว ให้คณะกรรมการเขาจัดการเลย ไม่ว่าเงินจากที่ไหนจะเข้ามาสนับสนุนก็ตาม ประธานจะคอยดูเงินว่าไปไหน แล้วชี้แจงได้ทุกเม็ด

ถาม : การแบ่งปันความสำเร็จแบบนี้ทั้งเรื่องบริหารจัดการน้ำ เกษตรประณีตสามารถใช้ในชุมชนอื่นได้หรือไม่เช่นที่จังหวัดน่าน

พ่อหลวงคง : ได้แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้นำ สำคัญมากส่วนของน่านมี 2 เรื่อง ต้องหยุด
1.รัฐบาลหยุดสนับสนุนการปลูกข้าวโพด ดูเหมือนว่าจะเป็นไร่ละ 2 พันบาท
2.ห้ามใช้ยาฆ่าหญ้า หรือใช้การเผา เพราะดินไม่ใช่แค่เสื่อมข้างบน แต่พวกที่อยู่ข้างล่างจะหนักมาก แล้วสารเคมีลงไปใต้ดิน ไปต่อแม่น้ำน่านหนักนะครับ ไหลลงปิง วัง ยม ห้าม 2 อย่าง อย่างที่นี่เราเอาพันธุ์ไม้ที่เป็นพันธุ์พื้นบ้าน อย่างง่ายๆ มะเฟือง มะไฟ ไปปลูกแค่นั้นเอง สัตว์ก็กลับมาพักฟื้น เป็นการคืนบ้านให้เขา ตอนนี้ก็เริ่มมีสัตว์

ถาม : แต่ชุมชนที่นั่น มีรายได้จากข้าวโพดยังชีพ ส่งลูกเรียนจนจบ

พ่อหลวงคง : สิ่งที่ผู้นำชุมชนต้องทำ คือต้องมีงานวิจัยครับ ตรงนี้ที่เกิดขึ้น ผมทำงานวิจัยดินน้ำป่า งานวิจัยสามารถตอบโจทย์ได้หมดเลย หากไม่ทำงานวิจัยจะไม่รู้เลย ต้องทำเพื่อที่จะได้รู้ว่าอะไรเหมาะสมกับพื้นที่ของเขา

ง่ายๆ คุณปลูกข้าวโพด ตุ้นทุนที่เกิดขึ้นคุณก็ขาดทุนแล้ว แต่ชาวบ้านเขาต้องการแค่เงินก้อน คุณได้ 1 ก้อน จะเหลือเงินประมาณ 4 พัน บาท ใช้หมุนเวียน มันไม่คุ้ม

พื้นที่บ้านสาแพะหมู่ 3 ตอนนี้เรื่องน้ำเราควบคุมได้ เราไม่ต้องรอฝนแล้วครับ แต่ละรอบทางการเกษตร เราใส่น้ำห้ามเกิน 300 ลิตร ทุกคนก็รู้ เขาก็จะบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขาเอง แต่ละรอบเราก็ใช้น้ำไม่เยอะ เพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำไม่เยอะ เยอะไปก็ตาย ทุกคนควบคุมได้ เป็นการทำงานเรื่องการวางแผน เตรียมดิน ความลึกของร่องดิน

ถาม : เป็นงานวิจัย

พ่อหลวงคง : พวกนี้ผ่านการวิจัยมาหมดแล้ว คือตอนนี้หมู่บ้านผม 10 หมู่บ้านร่วมงานวิจัย ดินและป่ากันอยู่ คืองานวิจัยจริงๆ มหาวิทยาลัยก็วิจัย แต่วิจัยเสร็จเอาไปขึ้นหิ้ง อันนี้เราวิจัยโดยมีสกว.ส่วนหนึ่ง มีทางเอสซีจีสนับสนุนส่วนหนึ่ง คือเป็นการวิจัยร่วมระหว่างภาควิชาการ เอกชน และชาวบ้านจริงๆ ได้ผลงานใช้ได้จริง

อย่างเมื่อก่อน ชาวบ้านไม่รู้ว่าต้นไม้ 1 ต้น สามารถแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง แต่วันนี้ชาวบ้านเริ่มรู้ว่า ต้นขนาดนี้ หน้าแล้งเขาอุ้มน้ำให้เรากี่ลิตร นี่คือสิ่งที่เราเห็น เราจะเก็บใบไม้โซนที่เราดูแล ปีนี้ใบไ้ม้ร่วงเท่าไหร่ตามธรรมชาติ ก็ไปชั่งน้ำหนักกัน ก็เริ่มรู้อะไรหลายๆ อย่าง…

ผมเห็นว่า เมื่อมีงานวิจัยร่วมแบบนี้ ป่าจะดีขึ้น ตอนนี้ผมไม่คาดหวังคนที่มีอายุมากกว่าผม แต่ผมคาดหวังจากเยาวชน และตอนนี้มียาวชนทยอยกลับบ้านเยอะแล้ว

*บทสนทนานี้ เกิดในงาน เอสซีจีสานต่อศาสตร์พระราชา รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที สร้างสมดุลตลอดห่วงโซ่ เสริมนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
ตั้งแต่ตีห้า ฝ่าอากาศเย็น 18 องศาน้องๆ เยาวชน Gen Y กลุ่ม Young รักษ์น้ำ ที่ผ่านการคัดเลือกจากเพจ SCG รักษ์น้ำ มีน้องๆ เยาวชนแฟนเพจ 36 คน จาก 9 สถาบัน เยาวชนจากชุมชนราชบุรี 2 คน สระบุรี 2 คน พนักงาน Gen Y 20 คน มาเรียนรู้เรื่องเกษตรประณีต ทดลองผสมพันธุ์พืช และศึกษาวิถีชีวิตชุมชนบ้านสาแพะ

ข่าวเกี่ยวข้อง

Stay Connected
Latest News