เอสซีจี เคมิคอลส์ เปลี่ยนชาวประมงจาก “นักล่า”เป็น “นักอนุรักษ์”

ปัจจุบันมีรายได้ 1,000 -3,000 บาทต่อวัน ทำให้สามารถปลดหนี้ได้ แล้วยังมีเวลาเหลือให้กับครอบครัวด้วยแตกต่างเมื่อหลายปีก่อนสัตว์น้ำตามชายฝั่งทะเลระยองเริ่มมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อย ๆ

ส่งผลให้ชาวประมงเรือเล็กเก้ายอด จังหวัดระยองจำเป็นต้องออกเรือไปหาสัตว์น้ำไกลออกจากฝั่ง แม้กระนั้นบางครั้งก็ยังไม่มีปลาติดเรือกลับมาเลย ส่งผลถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวประมงยากจนต้องเป็นหนี้สินเพราะมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย

ต่อมา เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้รับรู้ปัญหาของกลุ่มประมงพื้นบ้านในจังหวัดระยองว่า ปริมาณปลาและสัตว์น้ำมีจำนวนลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของกลุ่มประมงพื้นบ้าน

ชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการ เอสซีจี เคมิคอลส์ เล่าที่มาของโครงการบ้านปลาเพื่อช่วยเหลือช่าวประมงว่า “ก่อนหน้านี้เรามาดูแลชุมชนตามชายหาด มาช่วยเก็บขยะ แต่หลังจากได้คุยกับชาวประมงพอได้ทราบปัญหา เราก็เลยนำโจทย์นี้ไปคิดกัน จนเกิดเป็นโครงการบ้านปลา”

ชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการ เอสซีจี เคมิคอลส์

“บ้านปลาเอสซีจี เคมิคอลส์” ทำมาจากท่อน้ำที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทีลีนเกรดพิเศษ PE 100 ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากฝรั่งเศส นำมาเชื่อมต่อเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม หลังหนึ่งมีน้ำหนัก 250 กิโลกรัม มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนและทนแรงดันได้สูง มีอายุการใช้งานกว่า 50 ปี

เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน อาทิ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (สบทช.) สำรวจพื้นที่จัดวางแถบในชายฝั่งทะเลในรัศมีของการทำการ รวมถึงประมงพื้นบ้าน(เรือเล็ก) และเป็นพื้นที่ที่กลุ่มประมงพื้นบ้านมาทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดการจัดวางบ้านปลา

ปี 2554 -2560 เอสซีจี เคมิคอลส์ ร่วมกับ สบทช.และชาวประมงพื้นบ้าน ปล่อยบ้านปลาลงชายฝั่งทะเลระยองและพัทยา บ้านปลาที่นอนนิ่งอยู่ใต้ทะเลเริ่มมีเพรียงและปะการังมาเกาะ จนกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตย์น้ำต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

สภาพบ้านปลาในท้องทะเล เป็นที่อาศัยของหอยแมงภู่

ชลณัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ใน 5-6 ปีที่ผ่านมา เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ลงบ้านปลาจำนวน 1,100 หลัง ในทะเลจังหวัดระยองและชลบุรี คิดเป็น 29 กลุ่มประมงและเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 30 ตารางกิโลเมตร ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลกว่า 120 สายพันธุ์ และเป็นเสมือนคลังทรัพยากรในทะเลที่ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้อย่างยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลาน”

สุพัฒน์ พร้อมเพรียง ที่ปรึกษากลุ่มประมงเรือเล็กเก้ายอด กล่าวว่า “ พอ เอสซีจี เคมิคอลส์นำบ้านปลามาให้ ทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำก็เริ่มกลับมา เมื่อก่อนแทบไม่มีสัตว์น้ำให้พวกเราจับ แต่ตอนนี้ปลาที่หายไปได้กลับมาแล้ว เมื่อก่อนพวกเราออกเรือหาปลาทั้งวันมีรายได้วันละ 300 บาท แต่ปัจจุบันผมออกเรือหาปลาตอน 6.00 น. กลับขึ้นฝั่งตอน 9.00 น. ผมมีรายได้ 1,000 -3,000 บาทต่อวัน ทำให้พวกเราสามารถปลดหนี้ได้ แล้วยังมีเวลาเหลือให้กับครอบครัวด้วย”

วันงาน “จิตอาสาสร้าง บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์”

ภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการ สบทช. กล่าวให้ข้อคิดแก่ชาวประมงว่า “ มีกฎหมายหลายฉบับที่ดูแลเรื่องทรัพยากรทางทะเล การดูแลโดยใช้กฎหมายบังคับสามรถทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่คนที่จะดูแลทรัพยากรทางทะเลได้ดีที่สุดคือพี่น้องชุมชนชายฝั่ง ผมพูดเสมอว่ากำแพงมนุษย์หรือกติกาชุมชนคือสิ่งที่จะมาดูแลทรัพยากรทางทะเล”

จากพลังที่ร่วมแรงร่วมใจทุกภาคส่วนที่ทำให้ทรัพยากรชายฝั่งทะเลระยองฟื้นคืนชีวิตสัตย์น้ำต่าง ๆ ขึ้นมาได้นั้น ทุกวันนี้กลุ่มประมงต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อร่วมมือกันสร้างกติกาทางสังคม บริหารจัดกรการใช้ทรัพยากรทางเพื่อความยั่งยืน

สมัคร อ่องลออ ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็กแสงเงิน ได้เล่าถึงความร่วมมือว่า “สมัยก่อนเราเป็นนักล่าแก่งแย่งกัน ทรัพยากรธรรมชาติจึงลดลง หลังจากมีบ้านปลาแล้วความอุดมสมบูรณ์เริ่มกลับมา เราต้องปลุกจิตสำนึกของชาวประมงแต่ละคน จากอาชีพประมงที่เคยเป็นนักล่าอย่างเดียว ให้กลายมาเป็นนักอนุรักษ์ เพื่อเราจะได้ทำอาชีพนี้ไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน”

ชาวประมงที่ออกเรือเพื่อไปวางบ้านปลาในท้องทะเล

ภารกิจต่อจากนี้ไปของชาวประมงพื้นบ้านคือการสร้างจิตสำนึกกับลูกหลานให้ช่วยกันรักษาทรัพยากรตามชายฝั่งสืบต่อไป

“ตอนนี้เราเริ่มส่งต่อให้รุ่นลูกแล้ว โดยนำเด็กรุ่นใหม่มาช่วยและเรียนรู้เรื่องการทำประมงเช่น สอนสาวอวน ดูทิศทางลม ดูทางน้ำ เรียนรู้เรื่องระบบนิเวศน์ คำว่าอนุรักษ์จะต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดไป ถึงไม่มีใครมาส่งเสริม แต่เราก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์”

ขณะที่ภารกิจต่อไปของเอสซีจี เคมิคอลส์คือการขยายโครงการบ้านปลาไปสู่ท้องทะเลจังหวัดจันทบุรี และตราด โดยตั้งเป้าว่าภายในปี 2563 2 จังหวัดนี้จะต้องมีบ้านปลา 1,000 หลัง

จิตอาสา 500 คนช่วยกันสร้างบ้านปลา ณ สวนสาธารณะแหลมเจริญ

นับเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องสร้างคนรุ่นใหม่พร้อมส่งต่อให้พวกเด็ก ๆ มีจิตสำนึกรักทรัพยากรทางธรรมชาติเพื่อประมงพื้นบ้านจะได้เติบโตอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

ข่าวเกี่ยวข้อง

 

Stay Connected
Latest News