การสานต่อศาสตร์พระราชา เอสซีจีใช้เวลา 10 ปีเคลื่อน “โครงการรักษ์น้ำเพื่ออนาคต” สู่ “จากภูผา สู่มหานที” เกิดเครือข่ายทั่วประเทศ สร้างนวัตกรรมปลายน้ำ กลางน้ำ ต้นน้ำ
ขอเริ่มที่นวัตกรรมปลายน้ำ
เอสซีจี เคมิคอลส์ ริเริ่มจัดทำโครงการ “บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์” โดยอนุรักษ์ชายหาดทั้งทางบกและทางน้ำคิดค้นและพัฒนา “นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE100” ขึ้น โดยนำวัสดุที่เหลือจากกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกที่ผ่านการรับรองความปลอดภัยในการขนส่งน้ำ มาออกแบบสร้างที่อยู่อาศัยจำลองให้แก่สิ่งมีชีวิตในทะเล เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสิ่งมีชีวิตในทะเล ไปจนถึงที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เกิดเป็นระบบนิเวศ ใต้ท้องทะเล และเป็นแหล่งประมงเชิงอนุรักษ์สำหรับประชาชนในท้องถิ่นได้ในอนาคต
ผลที่ตามมา สามารถเพิ่มแหล่งทำประมงใกล้ชายฝั่ง ทำให้รายได้ของชุมชนประมงเพิ่มขึ้น และช่วยสร้างพื้นที่อนุรักษ์ในทะเลจังหวัดระยองและชลบุรี ส่วนการสำรวจในเดือนเมษายน 2560 พบความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
สิ่งมีชีวิตในทะเลบริเวณบ้านปลาเพิ่มขึ้นเป็น 120 ชนิด ซึ่งเป็นปลาจำนวน 28 ชนิด เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งแรก (ปี 2559 มีปลา 23 ชนิด) พบปลาเศรษฐกิจในบริเวณบ้านปลา ได้แก่ กลุ่มปลากะพงและกลุ่มปลาเก๋า มีปะการังลงเกาะบ้านปลาทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน และปะการังเคลือบ แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์เกาะติดในกลุ่มของเพรียงหิน หอยสองฝา สาหร่าย หอยแมลงภู่
มาถึงนวัตกรรมกลางน้ำ
เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง นำนวัตกรรม ผ้าใบคอนกรีต มาใช้ที่บ้นสาแพะ ลำปาง เป็นนวัตกรรมที่ผสมผสานเทคโนโลยีซีเมนต์และเทคโนโลยีใยสังเคราะห์ ควบรวมเป็นแข็งของนวัตกรรมใหม่เป็น ผ้าใบคอนกรีตที่มีมีความยืดหยุ่นสูงตอนแห้งและแข็งตัวตอนเปียก มีความแข็งแรง สามารถขึ้นรูปตามแต่ละสภาพพื้นที่ในการใช้งาน
จุดเด่น สามารถปรับรูปแบบได้ตามความต้องการใช้งาน เกิดปฏิกิริยาด้วยการพ่นน้ำ รดน้ำ หรือแช่น้ำ ผ้าใบคอนกรีตก็จะแข็งตัวตามรูปแบบที่ต้องการ ป้องกันการขยายตัวของรอยแตก มีความทึบน้ำตามคุณสมบัติของปูนซีเมนต์
ด้วยนวัตกรรมผ้าใบคอนกรีต เกิดจากการทำงานกับชุมชนมานานนั้น จากนี้ไป อีกด้านหนึ่ง นวัตกรรมผ้าใบคอนกรีตจะเข้าสู่ระบบธุรกิจ ด้วยมีคุณสมบัติเรื่องความแข็งแรง และความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามความต้องการใช้งานแต่ละประเภท อีกทั้งยังมีความสะดวก รวดเร็ว ง่ายในการติดตั้งและใช้งาน นอกจากนี้ยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย เหมาะกับงานทางวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การดาดคลอง การป้องกันการกัดเซาะของที่ลาดชัน การดาดสระ การป้องกันน้ำท่วมและการเสริมความแข็งแรงคันดิน การทำพื้นทางเดินในแคมป์คนงาน เป็นต้น
เริ่มต้นที่นวัตกรรมต้นน้ำ
คนเมืองอาจจะไม่รู้ว่า นวัตกรรมนี้เกิดจากชุมชนบ้านสามขา ลำปาง ที่ทำงาน “วิจัยโดยชาวบ้าน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ส่งผลให้ ชาวบ้านปรับเปลี่ยนและรู้ตัว มากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งก็เป็นช่วงที่ทำงานแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันกับเอสซีจี จนถึงปัจจุบัน
ชาญ อุทธิยะ เคยให้สัมภาษณ์เนชั่น จากบทเรียนที่ชาวบ้านในหมู่บ้านสามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ช่วยกันมองและสำรวจตัวเอง พบว่า ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านมีหนี้สินรวมกันมากถึง 20 ล้านบาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ต่อเมื่อใช้งานวิจัยโดยชาวบ้าน จนเกิดผล “บ้านสามขา” กลายเป็นแหล่งความรู้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือหมู่บ้านต่าง ๆ เดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์และป้องกันไฟป่า, การจัดการป่าใช้สอย การรวมกลุ่มประกอบอาชีพ การทำบัญชีครัวเรือนและอื่นๆ จำนวนมากถึงเกือบ 70,000 คน
นับเป็นประสบการณ์เรื่องการบริหารจัดการน้ำ ที่เอสซีจีทำงานกับชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำ บวกกับความรู้ความเชี่ยวชาญของเอสซีจี ได้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ จึงได้นำนวัตกรรมกลางน้ำ ปลายน้ำมาช่วยแก้ปัญหา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้เวลานานนับ 10 ปี
ข่าวเกี่ยวข้อง
–คงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง “ชุมชนมีรายได้ 18 ล้านบาทปีที่แล้วเพราะบริหารน้ำตามงานวิจัยท้องถิ่น”
–เอสซีจี เคมิคอลส์ เปลี่ยนชาวประมงจาก “นักล่า”เป็น “นักอนุรักษ์”