ดีไซน์รูปแบบการทำงานร่วมกันเพื่อ Circular Economy อย่างจริงจังเสียที

@SB’18 Vancouver ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองประเด็น New Collaboration Models for a Circular Economy จากภาพ เรียงตามลำดับที่นั่ง จากซ้ายไปขวาคือ

Savers’ Tony Shumpert, Recycle BC’s Allen Langdon, Bank and Vogue’s Steven Bethell, Brambles’ Suzanne Lindsay-Walker, Keurig Green Mountain’s Monique Oxender and Levi Strauss’ Kyle Rudzinski

ว่ากันว่า หากนำบางสิ่งออกไปจากระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในงาน SB’18 Vancouver คงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการออกแบบเพื่อเริ่มต้นวงจรชีวิตแรกของผลิตภัณฑ์ (Product’s Fist Life) เพราะจริงๆ แล้วมันจะถูกรีไซเคิลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ส่วนผลิตภัณฑ์อยู่บนโลกออนไลน์ สิ่งที่นักออกแบบจำเป็นที่จะต้องถามกลับไปคือ เราใช้วัสดุอะไรในการผลิต ด้วยตัวของผลิตภัณฑ์เองสามารถนำมารียูสให้เป็นชิ้นงานที่นำแฟชั่นเจ๋งๆ อย่าง Beyond Retro (บริษัท Bank & Vogue LTD) หรือจะถูกรีไซเคิลหรือสร้างสรรค์ขึ้นมาไหม่ให้เหมือนบรรจุภัณฑ์ของ Brambles’ ได้หรือไม่ และหากได้รับการรีไซเคิลแล้ว ระบบเหล่านี้จะมีพร้อมเพื่อรองรับการเก็บรวบรวม รีไซเคิล และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เรามีผู้ซื้อที่ต้องการวัสดุเหล่านี้หรือไม่

การพิจารณาคำถามเหล่านี้ และตัวเลือกการออกแบบนั้น ได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์มักจะยาก

ลองดูตัวอย่างของความพยายามอย่างแรงกล้าของ Keurig Green Mountain ในการสร้างสรรค์แคปซูล K-Cup พลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ โดย Monique Oxender หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน บริษัท Keurig ได้แชร์กระบวนการการออกแบบใหม่ที่ยาวเหยียดให้ฟังว่า

“บริษัทได้เปิดตัวในประเทศแคนาดา เพื่อทดลองคุณสมบัติการรีไซเคิลโดยดูว่าสีไหน และทรงอะไรที่เหมาะสมที่สุด กับการเปลี่ยนถ้วยกาแฟใบใหม่ ที่จะนำมาใช้เกือบทั่วทั้งประเทศแคนาดา โดยมีความคิดอยู่ 2 ข้อที่นึกได้คือ ข้อหนึ่ง ฉันเพิ่งไปเยี่ยมญาติที่มีเครื่องจักรของ Keurig และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าถ้วยพวกนี้สามารถนำมารีไซเคิลได้ เพราะใช้แล้วก็กลายเป็นกองขยะ ข้อสอง หากผู้บริโภคได้รับถ้วยนี้และนำไปรีไซเคิล จะมีตลาดรองรับพลาสติกหรือไม่ ด้วยกฎหมายการรีไซเคิลที่เข้มงวดของประเทศจีน กำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปตามเมืองต่างๆของแคนาดา ปัจจุบันนี้ ในประเทศสหรัฐฯ จะมีการเก็บสะสมพลาสติกไว้ในโกดังหรืออาจจะเอาไปฝังในหลุมฝังกลบ โดยในท้ายที่สุดแล้ว วิธีแก้ปัญหาพลาสติกที่รีไซเคิลแล้วก็ดูเหมือนจะไม่ได้ดีไปกว่า Keurig Cup เลย”

https://www.facebook.com/sdthailand/videos/223080401753711/

พลาสติกถือเป็นวัสดุที่มหัศจรรย์ ทั้งน้ำหนักเบา ราคาไม่แพงและใช้ได้หลากหลาย ซึ่งมันมีส่วนปฏิวัติการใช้ชีวิตของพวกเรา

ในขณะที่ วัสดุเชื้อเพลิงฟอสซิลนี้ ถูกนำไปใช้ผลิตสิ่งของหลายอย่าง ตั้งแต่เก้าอี้ไปจนกระทั่งขวดน้ำ และของเล่นสำหรับเด็ก ยังคงไม่สามารถย่อยสลายในสิ่งแวดล้อมได้ ตั้งแต่ที่เริ่มนำพลาสติกมาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งเราผลิตพลาสติกไปแล้วราว 9.2 พันล้านตัน และราว 6.9 พันล้านตันที่กลายเป็นขยะ

จำนวนที่ไม่แน่นอนนี้ แสดงให้เห็นว่าพลาสติกบางส่วนตกลงไปในมหาสมุทรในรูปแบบของพลาสติกขนาดเล็ก (Microplastic) ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มม. ซึ่งเป็นลักษณะไมโครบีดส์ขนาดจิ๋ว ในรูปแบบ โฟม แผ่น เม็ดเล็กๆและเส้นใย

ในความเป็นจริงแล้ว มีพลาสติกจำนวนเยอะมากที่ตกลงไปสู่มหาสมุทรและเชื่อว่าในปี 2050 จะมีปริมาณพลาสติกเยอะกว่าปลาอย่างแน่นอน แล้วเราจะแก้ไขสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ได้อย่างไร

“ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสุดยอดที่คนเราสร้างสรรค์วัสดุใหม่ๆขึ้นมา แต่ผมก็ต้องรับสารภาพว่าสิ่งแรกที่ผมนึกได้คือ จะทำอย่างไรกับขยะเหล่านี้”
Lewis Perkins อธิการบดีแห่งสถาบัน Cradle to Cradle Product Innovations

การคำนึงถึงเรื่องขยะมูลฝอย และการรีไซเคิลนั้น เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง แต่เมื่อเราพูดถึงพลาสติกที่ดูเหมือนจะสามารถรีไซเคิลได้ แต่กลับกลายเป็นปัญหาที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นอีก โดยนักพูด 2 คนได้กล่าวไว้ว่า

“การรีไซเคิลเพียงอย่างเดียวไม่ได้แก้ปัญหาพลาสติกในมหาสมุทรได้ ดังนั้น บริษัทต้องปลอดพลาสติกด้วย”
Froilan Grate ผู้อำนวยการบริหาร GAIA ฟิลิปปินส์
“การลดทอน การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล บางครั้งเรากลับลืมไปว่า 2 สิ่งแรกนั้น มีความสำคัญมากกว่าสิ่งสุดท้ายด้วยซ้ำ เรากลับชอบสิ่งสุดท้ายมากกว่า”
Matt Pridiville ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท Upstream

ความต้องการในการลดทอน และรียูสพลาสติกนั้นเป็นที่เข้าใจ โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในงาน Forum for the Future โดยที่ Sally Uren ซีอีโอ อธิบายถึงระดับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ 3 ประการ คือ ภูมิทัศน์ การปกครอง และ Niche

จากลอนดอนถึงโอ๊กแลนด์และแคลิฟอร์เนีย มีการจัดเก็บภาษีและแบนการใช้พลาสติกประเภทใช้ได้ครั้งเดียว คนที่เริ่มเหนื่อยหน่ายกับการต้องทิ้งถ้วย หลอดพลาสติก และภาชนะพลาสติกที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็เริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะที่เราต้องการความสะดวกสบายอยู่นั้น เราก็ไม่ต้องการขยะด้วยเช่นกัน !!

ทั้งนี้ ความต้องการของตลาด ที่รวมถึงความกดดันด้านนโยบาย กำลังขับเคลื่อนบริษัทต่างๆ ให้หาวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ ที่จะอำนวยความสะดวกสบายที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการ BAN List 2.0 (Better Alternative Now) ของบริษัท Upstream ได้เผยผลิตภัณฑ์พลาสติก 20 อันดับแรกที่สร้างมลภาวะให้กับแหล่งน้ำในประเทศสหรัฐฯ และจำเป็นต้องได้รับการออกแบบใหม่หรือกำจัดทิ้ง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจเลย เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม

ตั้งแต่ซองใส่ซอสมะเขือเทศ ไปจนถึงหลอดดูด และถ้วยกาแฟ จำเป็นต้องได้รับการออกแบบใหม่ (Redesign) และวิธีแก้ปัญหาที่ชื่นชอบจากงาน SB’18 Vancouver คือ CupClub ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพจากลอนดอนที่ได้สร้างสรรค์ระบบถ้วยกาแฟ to-go ได้อย่างลงตัว

Cupclub from Cup Club on Vimeo.

CupClub ได้รับการออกแบบมาให้ดูคล้ายกับถ้วยกาแฟ to-go ที่คุณชื่นชอบ CupClub สามารถใส่เครื่องดื่มร้อนและเย็นได้ ถ้วยจะถูกแจกจ่ายให้กับร้านกาแฟและใช้เป็นถ้วยกาแฟตามปกติ แทนที่จะโยนทิ้งลงถัง กลับมีกล่องเดลิเวอรี่ที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเก็บขยะ โดยถ้วยจะถูกหยิบเพื่อทำความสะอาดและแจกจ่ายเพื่อนำไปใช้อีกครั้ง จึงขอโหวตให้กับการออกแบบถ้วยกาแฟ CupClub สำหรับการใช้งานนับร้อยๆครั้งนี้

ในขณะที่ความคิดต่างๆ ที่ได้แชร์กันระหว่างงาน SB18 Vancouver นั้น เป็นแรงบันดาลใจ ที่การหมุนเวียนที่แท้จริงนั้นยังดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายสูงสุด สำหรับหลายบริษัท

ถ้าเราจะสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และวัสดุที่นำมาผลิตจากการสร้างสรรค์ สู่การนำไปใช้ ไปจนถึงการคืนสภาพ และกลับไปสู่การสร้างสรรค์อย่างเป็นวงจร

ที่มา

ข่าวเกี่ยวข้อง

Stay Connected
Latest News