ทีเส็บเดินหน้าแคมเปญ “Zero Plastic Events” ลดใช้ขวดพลาสติกใน 5 เมืองไมซ์สู่ความยั่งยืน

ทีเส็บประกาศความร่วมมือพัฒนา 5 เมืองไมซ์ใน 4 มิติ ประเดิมแคมเปญแรก “Zero Plastic Events” ตั้งเป้าลดจำนวนขวดพลาสติกที่ใช้ในห้องประชุมในเมืองไมซ์ซิตี้ 17.3 ล้านขวด ลดลง 50 % ภายใน 1 ปี คิดเป็นปริมาณคาร์บอนได้ถึง 638 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เท่ากับปลูกต้นไม้ 70,226 ต้น ลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 30 ลบ

ทำได้งัย!!จากเมืองที่เต็มไปด้วยขยะ วันนี้ Ljubljana กลายเป็นตัวอย่างเมืองปลอดขยะ

หลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับปัญหาขยะล้นโลกที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการสร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่นเดียวกับ Ljubljana เมืองหลวงของสโลเวเนียที่เคยจัดการขยะด้วยการนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบ แต่ปัจจุบัน Ljubljana กลายเป็นเมืองปลอดขยะเมืองแรกในสหภาพยุโรปที่ประสบความสำเร็จด้านการจัดการขยะอย่างครบวงจร

10 ไอเดียรักษ์โลก-ลดขยะพลาสติก เริ่มต้นง่ายๆ ได้ที่ตัวเรา

“ขยะพลาสติก” หนึ่งในวิกฤตระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและเสี่ยงขึ้นทุกขณะ จากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2561 โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่าปีที่ผ่านมาประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 ของโลก ที่ปล่อยขยะออกสู่ท้องทะเล

รัฐบาลเดนมาร์กให้รางวัลล้ำค่าแก่ช้าง 4 เชือกในวัยเกษียณ

การแสดงละครสัตว์ (Circus) นับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกที่ตั้งตารอดูการแสดงของสัตว์ป่าดุร้ายที่มีพฤติกรรมเชื่องและเชื่อฟังอย่างผิดธรรมชาติ แต่ในอีกมุมหนึ่งการแสดงละครสัตว์ก็คือการนำสัตว์มาทารุณกรรมเพราะสิ่งที่มันแสดงออกมาไม่ใช่ตัวตนของมันโดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงได้ออกมาต่อต้านการแสดงละครสัตว์เช่นเดียวกับรัฐบาลเดนมาร์กที่กำลังออกกฎหมายสั่งห้ามการนำสัตว์ป่ามาแสดงในคณะละครสัตว์ภายในปีนี้

เวิร์คมาก!!!อิชิตันแปลงขวด PET เป็นคอลเลคชั่นสัตว์ที่เจอผลประทบจากขยะทะเล

Moby Whale เป็นที่เก็บถุงพลาสติกสำหรับใช้ซ้ำรูปปลาวาฬ คือหนึ่งหลายในผลิตภัณฑ์ในโครงการ Ichitan Green Factory Zero Waste ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากข่าวปลาวาฬตายเพราะกินขยะพลาสติก สะท้อนถึงปัญหาขยะพลาสติกที่คุกคามชีวิตสัตว์ทะเล สำหรับเจ้าปลาวาฬ Moby ตัวสีน้ำเงินสวยนี้ผลิตจากขวด PET ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการผลิตจำนวน 28 ขวด ออกมาเป็นของใช้ในบ้านที่ช่วยสื่อสารให้เราตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดเป็นขยะพลาสติกที่ไปสร้างผลกระทบให้กับสัตว์ทะเลอีก

“ฮีโร่หนูยักษ์”กับภาระกิจกู้กับระเบิดช่วยชีวิตชาวเสียมเรียบกว่า 5 พันคน

เมื่อพูดถึงเสียมเรียบ หลายคนคงจะนึกถึงความสวยงามของนครวัดนครธมที่ตั้งตระหง่านอยู่คู่เมืองมาเป็นเวลาช้านาน แต่หลายคนคงนึกไม่ถึงเช่นกันว่าที่เสียมเรียบเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เต็มไปด้วยกับระเบิดประมาณ 4-6 ล้านลูกที่ยังคงถูกฝังลงดินกินพื้นที่ประมาณ 900 ตารางกิโลเมตรในช่วงสงครามเขมรแดงและพร้อมที่จะปะทุได้ทุกเมื่อ ด้วยเหตุนี้ APOPO หรือ หน่วยกำลังพิเศษที่มีฮีโร่ตัวจิ๋วอย่าง “หนูยักษ์” ได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือเก็บกู้วัตถุระเบิดในพื้นที่ดังกล่าว

เมื่อถนนสายพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

เมื่อปี 2016 ฝรั่งเศสได้ผุดไอเดียสร้างถนนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสายแรกของโลกในโครงการ Wattway โดยมีแนวความคิดว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากถนนที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องลงทุนทำโครงสร้างใหม่ขึ้นมา ในวันเปิดถนนสายนี้ ซาโกลีน รัวยาล รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมฯได้เดินย่ำบนถนนสายนี้อย่างภาคภูมิใจ

ปตท. รุดจับมือ GPSC สร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต “ธุรกิจแบตเตอรี่ ESS” ขับเคลื่อนประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ “ พลังงานหมุนเวียน” กลายเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่หวังพึ่งพาเมื่อหมดยุคฟอสซิลในอนาคตอันใกล้ แม้สายลม แสงแดดและน้ำจะเป็นพลังงานสะอาดที่ทุกคนคาดหวังให้มาแทนที่ เนื่องจากต้นทุนที่ถูก แต่จุดอ่อนสำคัญคือ “ความไม่เสถียร” หรือการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถตอบโจทย์เพื่อใช้เป็นทางออกของการผลิตไฟฟ้าให้โลกปัจจุบันให้สามารถก้าวพ้นปัญหาด้านพลังงานไปได้

โทลล์เวย์สอนน้อง…รู้ทันอัคคีภัย

นอกจากให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยบนท้องถนนแล้ว ดอนเมืองโทล์เวย์ยังให้ความสำคัญของความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความปลอดภัยจากอัคคีภัย ที่ในปัจจุบันสถิติการเกิดอัคคีภัยในอาคาร บ้านเรือนมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก และเหตุการณ์แต่ละครั้งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและบางครั้งก็รุนแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิต

“เด็กพิเศษ”บ้านครูบุญชู เรียนรู้ “ศาสตร์พระราชา”พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

“สิ่งที่ทำให้ครูตัดสินใจทุ่มเทแรงกายแรงใจช่วยเหลือเด็กพิเศษกลุ่มนี้ก็คือ ครูมองเห็นความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวของพวกเขา หากเรามีวิธีการสอนด้วยความเข้าใจและมอบโอกาสที่พวกเขาสมควรได้รับ พวกเขาก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ซึ่งครูเชื่อว่า ‘ศาสตร์พระราชา’ คือสิ่งที่ดึงศักยภาพของเขาออกมาได้อย่างเต็มที่ เพราะนี่คือแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงที่จะทำให้พวกเขาสามารถ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคตข้างหน้า”