เปิดแนวคิด 3 มูลนิธิชั้นนำของโลก “ต้นแบบ” เน้นการลงทุนแนว ESG สร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันที่ยั่งยืน

3 มูลนิธิชั้นนำของโลกที่ถือเป็น “ต้นแบบ” ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันที่ยั่งยืน เพิ่มศักยภาพบริหารจัดการองค์กรสาธารณกุศลโดยเน้นกระบวนการตัดสินใจลงทุนในทุกขั้นตอนจะต้องคำนึงถึงหลัก ESG คือผลกระทบเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม และการจัดการที่ดีเป็นที่ตั้ง เพื่อสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต

Helbiz ส่งE-Scooter สีชมพูมุ้งมิ้งส่งอาหาร เน้นGreen Vision ครัวยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การทำธุรกิจร้านอาหารในยุคที่เชื้อโควิด-19 กำลังระบาดอย่างหนักไปทั่วทุกมุมเมืองนับเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก หลายร้านต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถต้านทานผลกระทบจากเชื้อมรณะนี้ได้ ในขณะที่อีกหลายร้านก็ต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ โดยหลายร้านเริ่มทำในลักษณะ Ghost Kitchen หรือ ร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน เพื่อลดต้นทุนด้านต่างๆ

BEE LAND ต้นแบบขยายเครือข่าย “รักษ์ผึ้ง” เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

บนพื้นที่ 20 ไร่ ของมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ สร้างเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องผึ้งและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ BEE LAND ผึ้ง-เกษตรกรเลี้ยงผึ้ง-เกษตรกรปลูกลำไย คือความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นห่วงโซ่ที่ต้องพึ่งพากันและกัน ส่วนเครือข่าย”รักษ์ผึ้ง” คือข้อต่อของห่วงโซ่ที่จะสร้างความยั่งยืนของวงจรผึ้ง

ซีพีเอฟ ยึดหลักการเกษตรยั่งยืน สนับสนุนเกษตรกรปลูกข้าวโพดปลอดการเผา

ซีพีเอฟ ส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ ขยายเครือข่ายเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูกาลปลูกปี 2564 หวังลดการเผาให้เป็นศูนย์ ชูเทศบาลตำบลบัลลังค์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา และ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี นำร่องเป็นชุมชนลดการเผาหลังเก็บเกี่ยวเป็นศูนย์ ตอบเป้าหมายการรับซื้อข้าวโพดยั่งยืนของซีพีเอฟ ยึดตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี พัฒนาห่วงโซ่การผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ถอดรหัสกู้วิกฤติโควิด-19 ของ “กองทุนมิตรผล-บ้านปูฯ” ด้วยแนวคิด รวดเร็ว-คล่องตัว-ทั่วถึง

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาเป็นเวลาปีกว่านั้น กลุ่มมิตรผลและบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดตั้ง“กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19” ด้วยจำนวนเงิน 500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 แก่โรงพยาบาล หน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ หน่วยงานราชการทั่วประเทศ

IKEA เปิดแคมเปญ Repurpose คืนชีวิตให้กับเฟอร์นิเจอร์เก่าที่ถูกทิ้ง

IKEA นับเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ยังคงผลักดันแคมเปญปังๆด้านสิ่งแวดล้อมให้เราได้เห็นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด IKEA ได้ออกแคมเปญ The IKEA Trash Collection เพื่อสร้างการตระหนักรู้ว่ามีเฟอร์นิเจอร์เก่าถูกทิ้งเป็นขยะเป็นจำนวนนับล้านในแต่ละปี ซึ่งพบได้ทั้งในหลุมฝังกลบ ตามชายหาด และถนนหนทาง

Bottega Veneta ส่งบู๊ทยางย่อยสลายได้ขึ้นแคทวอล์ก ตอบโจทย์สายแฟชั่นรักษ์โลก

ปฏิเสธไม่ได้วาอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่สร้างมลพิษและผลิตขยะจำนวนมหาศาลในแต่ละปี แม้ว่าสินค้าแฟชั่นมีรูปลักษณ์ที่สวยงามเพียงใด เมื่อหมดเทรนด์หรือหมดอายุการใช้งานก็จะถูกโยนทิ้งลงถัง ทำให้หลายแบรนด์พยายามพัฒนาสินค้าของแบรนด์ที่นอกจากจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

SCG เดินหน้าพิทักษ์ทะเลแบบบูรณาการจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อวิถีมนุษย์ที่ยั่งยืน

เอสซีจี ขานรับวันทะเลโลกปี 2564 จากคำขวัญ “การรักษามหาสมุทร เพื่อวิถีมนุษย์ที่ยั่งยืน” สู่การปฏิบัติที่เน้นการบูรณาการจากต้นทางถึงปลายทาง นั่นคือ เริ่มจากการจัดการขยะบนบกให้ถูกต้องตามวิถีชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ – ป้องกันขยะหลุดรอดลงทะเลด้วยนวัตกรรมทุ่นกักขยะลอยน้ำ – เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพด้วยนวัตกรรมบ้านปลา

นวัตกรรุ่นใหม่ ไอเดียเจ๋ง ชนะเลิศ รีไซเคิลขยะแผงโซลาร์เซลล์ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

“ไอเดีย คือ เราไม่จำเป็นต้องขุดเหมืองมาทำแบตเตอรี่ เราแค่นำขยะแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลสำหรับผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพื่อใช้งานต่อได้ ก็นับเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ไม่เพียงแค่ขยะเหลือศูนย์หรือ Zero Waste เท่านั้น แต่ต้องเป็นขยะที่วนกลับมาอยู่ในวงจรเศรษฐกิจต่อได้” ยุทธนากร คณะพันธ์ หัวหน้าทีม RECYSO ผู้ชนะเลิศในโครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน บอกเล่าถึงแนวคิดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนของทีม