เบื้องหน้า “ฝายชะลอน้ำ” คือความหลากหลายทางชีวภาพ สังคมของพืชและสัตว์ป่า

การบุกรุกพื้นที่ป่าในรูปแบบต่างๆ รวมถึงทำเป็นพื้นที่ทางการเกษตรและปศุสัตว์ ส่งผลให้แหล่งน้ำที่สัตว์ป่าใช้ดำรงชีวิตหายไป ซึ่งหลังจากมีการสร้าง “ฝายชะลอน้ำ” ขึ้นมาแล้วพบการกลับมาของสัตว์ป่าและพืชพันธุ์หายาก สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ให้เกิดขึ้น

เอสซีจีผนึกชุมชนและภาครัฐ ยกระดับฝายสู่งานวิจัย สร้างรายได้,อาชีพ,แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในโครงการ“รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที” ที่กาญจนบุรี

เอสซีจี ร่วมกับชุมชนบ้านยางโทน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี พร้อมหน่วยงานภาครัฐครั้งนี้ นับเป็นการต่อยอดองค์ความรู้สู่สถานีเรียนรู้ฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริมอาชีพชุมชนให้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตที่มาจากฝาย และผลักดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มุ่งสร้างรายได้ให้ชุมชนตลอดทั้งปี