GC X SANSIRI ประกาศมุ่งสู่ Net Zero พัฒนานวัตกรรม สร้างสมดุลทั้ง ‘ธุรกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม’

เมื่อ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นแกนหลักและเป้าหมายสำคัญของ​ทุกธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อรักษาความแข็งแกร่งระยะยาว ท่ามกลางความเสี่ยงและความไม่แน่นอนจากปัจจัยรอบด้าน ทั้งบริบทของโลกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ความขัดแย้งและการแข่งขันที่รุนแรง รวมทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี

จุฬาฯ เข้ม ขยายผลเลิกแจก​พลาสติกใช้แล้วทิ้ง ทุกร้านค้าทั่วมหาวิทยาลัย รวมร้านสะดวกซื้อ ศูนย์หนังสือ ซุ้มอาหาร ไปจนถึงตลาดนัด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย ผ่านประกาศฉบับใหม่ที่ออกมาช่วงปลายปี 2566 สำหรับสร้างมาตรการขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป

ทำจริง “อีฟ โรเช” ดึง 3 ตัวตึงสาย ECO ชวนสร้างพฤติกรรมเชิงบวก ร่วมเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน

อีฟ โรเช (Yves Rocher) แบรนด์ความงามอันดับ 1 ประเทศฝรั่งเศส และมี DNA ในการขับเคลื่อนธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืนมาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 64 ปีที่แล้ว ในฐานะต้นแบบผลิตภัณฑ์ความงามผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์​

ไอ.พี. วัน  จับมือ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ขยายตู้ Hygiene Refill Station เล็งขยายครบหัวเมืองใหญ่ ตั้งเป้ายอดเติมน้ำยา 200 ล้าน มล. ช่วยลดขยะ 4.5 แสนชิ้น

กว่า 2 ปี กับความสำเร็จของ “Hygiene Refill Station – ตู้รีฟิลผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มไฮยีน”  โปรเจคยักษ์ใหญ่รักษ์โลก ลดปัญหาขยะพลาสติกจากแบรนด์ “ไฮยีน”

‘ขวดพลาสติก = อิฐก่อสร้าง’ บราเดอร์ เปลี่ยนขยะเป็น Ecobricks สร้างอาคารอเนกประสงค์ให้โรงเรียน ช่วยเหลือเด็กขาดโอกาส

“พลาสอิฐ” หรือ “อีโค่บริกส์” (Ecobricks)  คือ การนำพลาสติกชิ้นเล็กๆ อาทิ ซองพลาสติก ถุงขนม หลอด เปลือกลูกอม ฯลฯ หรือกลุ่มขยะกำพร้าที่ไม่นิยมนำไปรีไซเคิล​มาบรรจุลงในขวดพลาสติกจนแน่น และทากาวให้ขวดติดกันเป็นบล็อก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุก่อสร้างแทนก้อนอิฐ

Superworms จอมเขมือบ​ อีกหนึ่งความหวังสำหรับการลดขยะพลาสติกและแวดวงรีไซเคิล

สร้างเสียงฮือฮาในวงการวิทยาศาสตร์ได้อีกครั้ง เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ได้ค้นพบว่า หนอนโซโฟบัส โมริโอ (Zophobas morio) หรือที่คุ้นเคยกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Superworm ซึ่งเป็นตัวอ่อนของด้วง สามารถมีชีวิตรอดได้จากการกินพลาสติกชนิดพอลีสไตรีน 

เส้นทาง Plasticity แบรนด์ Eco จากญี่ปุ่น ที่ตั้งใจจะหายไปในอีก 10 ปี ตั้งแต่เริ่มต้นสร้างธุรกิจ

คนสร้างแบรนด์ส่วนใหญ่มักจะมองอนาคตที่เติบโตของแบรนด์ไว้ในระยะยาว ขณะที่ Saito Aki  (ไซโต อากิ) ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Plasticity​ สินค้า ECO จากญี่ปุ่น กลับตั้งปณิธานไว้ตั้งแต่ปี 2019 ที่ริเริ่มธุรกิจว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า แบรนด์ของตัวเองอาจจะต้องหายไปแล้ว เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำสินค้า อย่างพลาสติกจากร่มไวนิล น่าจะเหลือน้อยลง หรือหมดไปแล้วนั่นเอง

แนวคิด 3R+Renewable กับพฤติกรรม “การบริโภคที่ยึดโยงจริยธรรม”​ ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในญี่ปุ่น

ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ​กระทรวงสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายให้บรรดาร้านขายปลีก และร้านอาหารในญี่ปุ่น ลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 12 ชนิด เช่น ช้อน หลอด มีด หวี แปรงสีฟัน หมวกอาบน้ำ และไม้แขวนเสื้อ เพื่อลดขยะพลาสติกในทะเล โดยมีข้อมูลว่าช่วงปี 2010 ขยะพลาสติกมากกว่า 8 ล้านตัน ได้ไหลลงสู่มหาสมุทรทั่วโลก และคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 พลาสติกในมหาสมุทรจะมีน้ำหนักมากกว่าปลาทั้งมหาสมุทรรวมกันเสียอีก

เต่าเหยียบโลก รักษ์โลกด้วย เปิดตัว “เต่ารีฟิล”​ ปรับแพกเกจ​ตอบโจทย์ใช้ซ้ำ ลดใช้พลาสติกลง​ 80%

ถือเป็น Big Move คร้ังใหม่ ในรอบเกือบ 10 ปี สำหรับแบรนด์คนไทยอย่าง “เต่าเหยียบโลก” กับการปรับแพกเกจใหม่ ให้มีความทันสมัย และตอบโจทย์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่มากขึ้น รวมทั้งยังได้ใจผู้บริโภคกลุ่ม Eco-friendly ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะตอนนี้เต่าเหยียบโลกได้เพิ่มแพกเกจแบบรีฟิลออกมาจำหน่ายแล้ว ซึ่งลดปริมาณการใช้พลาสติกในการผลิตลงได้ถึง 80% พร้อมทั้งเปลี่ยนแพกเกจแบบขวดมาเป็นขวดแบบปั๊มลายนูน​ ที่​สามารถเติมแป้งได้ เหมาะสำหรับการนำแพกเกจกลับไปใช้ซ้ำแทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะ

เนสท์เล่ เตรียมเปิดตัว ‘หลอดกระดาษเวอร์ชั่นใหม่’ ดูดง่ายขึ้น แข็งแรงกว่าเดิม ทั้งดีต่อโลก และสะดวกกับผู้ใช้งาน

ในฐานะบริษัทผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ของโลก ที่แต่ละวันมีลูกค้าจากทั่วโลกมาซื้อสินค้าไม่ต่ำกว่าพันล้านคน  ทำให้เนสท์เล่ตระหนักได้ถึงความสำคัญในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยดูแลและฟื้นฟูโลก ​จึงได้ประกาศ Global Mission ด้วยการกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050  หรือภายใน พ.ศ. 2593