ปริมาณถ้วยกาแฟใช้แล้วทิ้งต่อปีในเกาหลีทะลุ 1 พันล้านชิ้นครั้งแรก เตรียมใช้ระบบมัดจำหวังเพิ่มยอดเก็บกลับ

ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่ปริมาณขยะจากถ้วยกาแฟแบบใช้แล้วทิ้งมีปริมาณทะลุเกินกว่า 1 พันล้านชิ้นเป็นครั้งแรก ข้อมูลจากกระทรวงส่ิงแวดล้อมของเกาหลี ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา มีปริมาณถ้วยกาแฟพลาสติกและกระดาษแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง จากคาเฟ่ 14 แห่ง และเชนร้านอาหารยอดนิยม 4 แห่ง อยู่ที่ 4.34 พันล้านช้ิน

โรดแม็พเลิกใช้ Single-use plastic หลุดเป้า แนะเพิ่มซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า ทุกชุมชนเหมือนที่ทำการไปรษณีย์​

ปัจจุบันขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งประเทศไทยวาง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573  เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกทั้งทางบกและทะเลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเป้าหมายสูงสุด คือ “ขยะ” ต้องไม่ใช่ “ขยะ” เพื่อป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกเล็ดลอดสู่ธรรมชาติ โดยเน้นจัดการจากต้นทาง สร้างมูลค่าในห่วงโซ่การจัดการพลาสติก และประชาชนต้องให้ความร่วมมือเริ่มต้นที่ใช้ให้น้อยที่สุด ทิ้งให้ถูกที่ กำจัดอย่างถูกวิธี คัดแยก และนำไปใช้ประโยชน์ในได้มากที่สุดเพื่อให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน

ซีพีเอฟ ประกาศยกเลิกบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่กระทบสิ่งแวดล้อมภายในปี 2568

ซีพีเอฟ ตั้งเป้า บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดจะต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) ใช้ใหม่ (Recyclable) ผลิตเป็นสินค้าใหม่ได้ (Upcyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable) ประกาศยกเลิกการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็นภายในปี 2568 สำหรับกิจการในประเทศไทย และปี 2573 สำหรับกิจการในต่างประเทศ

“Nude” Shopping เทรนด์ใหม่กำลังมา

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าการเปลื้องผ้าไปชอปปิงจะเป็นเทรนด์ใหม่ของศตวรรษนี้ แต่คำว่า Nude หมายความถึงการไม่ห่อหุ้มผักผลไม้ด้วยพลาสติกต่างหาก

“ซีพีเอฟ” ประกาศ!! อีก 6 ปี-เลิกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม

“ซีพีเอฟ” ดันนโยบาย “ บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน” กำหนดให้ทุกกลุ่มธุรกิจในไทยหันมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากวัสดุ “นำกลับมาใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่ และย่อยสลายได้” ครอบคลุมกิจการทั้งในและต่างประเทศ สนับสนุนการลดพลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

อีก 9 ปี : เมื่อเราไปเที่ยวอังกฤษ จะไม่มีพลาสติกให้ใช้ !

ภาคธุรกิจร่วมลงนาม ข้อตกลงแก้ปัญหามลพิษพลาสติกให้หมดไป! เป็นการร่วมมือภาคธุรกิจ NGOs และองค์กรภาครัฐ ผลักดันเพื่อแก้ปัญหามลภาวะพลาสติกที่เพิ่มขึ้น ตามการรายงานของ CIWM