เจาะ Sustainable Development for Goal ของไมโครซอฟท์ท่ามกลางการขับเคลื่อนสู่วิถีใหม่

“วันนี้ sustainability ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกแล้ว แต่เป็นหัวข้อที่ทุกองค์กรกำลังพูดถึง เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมมีโอกาสได้คุยกับผู้บริหารระดับสูงของ PTTOR เราแชร์mission และ vision กัน ซึ่งน่าสนใจมาก ตอนนี้เขาจะโฟกัสที่ 3 P คือ People , Profit และPlanet ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลาย ๆ องค์กรที่ไม่ได้สนใจเฉพาะเรื่องของธุรกิจของตัวเองอีกต่อไปแล้ว แต่จะ support โลกใบนี้ให้สามารถเดินต่อไปด้วยกันได้อย่างไร” ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กล่าวไว้ในช่วงเปิดเวทีพูคุยกับสื่อมวลชนทางออนไลน์.

การบริหารธุรกิจท่ามกลางวิกฤติของโรคระบาดครั้งใหญ่ของศตวรรษนี้กลายเป็นโจทย์ยากสำหรับผู้นำองค์กรทุกคน แต่ท่ามกลางวิกฤติกลับสร้างโอกาสให้สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้มากขึ้น

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้เปิดเวทีออนไลน์เพื่อพูดคุยกับสื่อมวลชนถึงการปรับตัวท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งปีนี้จะเป็น “ปีแห่งการเดินทาง Year of Powerment ” สำหรับไมโครซอฟท์ไทย ที่เน้นสร้างความร่วมมือกับทุกพันธมิตรธุรกิจ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตอบโจทย์สังคมมากขึ้น

การเดินทางของไมโครซอฟต์จากนี้จะปรับตัวสร้างมาตรฐานใหม่ เพื่อเข้าสู่ 8 วิถีใหม่กับ Micresoft Innovation ที่จะขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรม จากมุมมองของไมโครซอฟท์ในด้านองค์กรธุรกิจ และหนึ่งในนั้นคือเรื่อง Sustainable Development for Goal เพื่อบรรลุเป้าหมายในด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน โดยธนวัฒน์ได้กล่าวในมุมของ ” ความยั่งยืน” ไว้อย่างน่าสนใจว่า

Q : ในเรื่องเป้าหมายของ Sustainable นั้น ไมโครซอฟท์ ได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว

A : เมื่อปี 2020 เราประกาศ 4 พันธสัญญาด้าน sustainability สำหรับทศวรรษหน้า ไว้ว่า ในปี Carbon Negative ปี 2030 zero carbon ปี 2030 zero carbon 2050 และ Built the Planetary Computer   ซึ่งหลังจากที่ประกาศไป 2 แล้วที่ผ่านมา เรานำสิ่งที่เราเรียนรู้จากการเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเป็น Bussiness Model เพื่อไปจัดการกับ Carbon Negative ขนาดไหนได้บ้าง การที่เรานำอากาศที่ดีเข้าไปทดแทนต้องทำอย่างไรบ้าง

สิ่งเหล่านี้ไมโครซอฟทดลองทำเอง และนำความรู้เหล่านี้มาทำเป็น Microsoft Cloud for Sustainability ให้กับลูกค้า เพราะในส่วนนี้กลายป็น service หรือมี model ที่ไมโครซอฟท์ได้ผ่านการทดลองใช้มาแล้ว สามารถนำมาแชร์กับลูกค้า ดังนั้นลูกค้าไม่ต้องมาเริ่มต้นทำใหม่ แต่สามารถนำโมเดลนี้ไปปรับใช้เพิ่มเติมกับการบริหารจัดการขององค์กรได้ทุกธุรกิจ อาทิ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจรถยนต์ ธุรกิจด้านการผลิต ธุรกิจการเงินและไฟแนนซ์ ฯลฯ.เป็นเรื่องใหม่ของแพลนปีนี้ที่เราจะนำมาให้บริการ

วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศเรื่อง AI for Earth มีกว่า 700 องค์กรที่จะเข้ามาสนับสนุน จาก 100 ประเทศ ซึ่งรวมถึงคณะวิศวกรรมจุฬา AI for Earth คือการนำคลาวด์และ AI มาเติมเต็มศักยภาพการทำงานให้ทีมวิจัยและผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อปกป้องโลกของเรา โดย Sensor for All เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของงานวิจัยและพัฒนาที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงกับทั้งสิ่งแวดล้อมและชีวิตประจำวัน
โดยระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์จะเข้ามาช่วยขยายความสามารถของโครงการ Sensor for All ในหลายๆ ด้าน นอกเหนือจากการรายงานการวัดค่า AQI PM 2.5 และ PM 10 แบบเรียลไทม์แล้ว เรากำลังคิดค้นวิธีที่แม่นยำมากขึ้นในการประเมินระดับมล ภาวะทางอากาศที่ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันแต่ละรายได้สัมผัสจริง และเรายังจะใช้ความสามารถของ AI ในการคาดการณ์ระดับมลพิษทางอากาศล่วงหน้า เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเตรียมตัวและป้องกันตนเองได้ดีขึ้น

“นี่คือเรื่องที่เราต้องการเข้าไปช่วยเรื่อง sustainability “

Q : ไมโครซอฟ มีส่วนเข้าไปช่วยรัฐในเรื่องโควิดอย่างไรบ้าง

A : เรื่องโควิดถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของเราในตอนนี้ ซึ่งมีทั้งภาครัฐ ไมโครซอฟท์ และสตาร์ทอัพไปเข้าไปช่วยแก้ปัญหาวิด-19 เท่าที่ผมจำได้ ตอนโควิดเริ่มระบาดใหม่ ๆ เราให้ทุกคนใช้ Microsoft E1 Trial ฟรี 6 เดือน เพราะเรารู้ว่าทุกคนต้องทำงานไม่ว่าจะwork from home หรือทุกสถานที่เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้

ที่ผ่านมาเราร่วมมือกับกระทรวงศึกษาเพื่อนำ Microsoft Teams นำไปใช้ในการศึกษาออนไลน์เพื่อให้สามารถเข้าถึงนักเรียนที่เรียนตามบ้านได้ถึง 6 ล้านคน นอกจากนี้เรายังนำ Microsoft Cloud เข้าไป support ในหลายหน่วยงานมาก ล่าสุด ไมโครซอฟท์ จับมือกับสภากาชาดไทย นำ Microsoft Surface Device ไปช่วยโรงพยาบาลจุฬา เนื่องจากวันนั้นมีคนเข้ามาลงทะเบียนเรื่องโควิดจำนวนมาก จำเป็นต้องทำงานให้เร็วที่สุด เราจึงต้องนำ Microsoft Surface Device บริจาคให้สภากาชาดไทย

หรือเรานำChat Board ไปช่วยสนับสนุน Call Center เองจากทุกวันนี้มีสายเข้ามาจำนวนมาก ซึ่ง Call Center รับสายไม่ทัน และคำถามที่ถามเข้ามาก็คล้าย ๆ กัน เราสามารถนำ Chat Board เข้าไปช่วยได้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดการอยู่ ภายใน 2 สัปดาห์ก็น่าจะใช้งานได้

อีกเรื่องคือเราพาร์ทเนอร์กับสตาร์ทอัพ ซึ่งเยอะมาก เช่น Hack Vac เป็นกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่นำโนว์ฮาวด์ของ MIT ที่ซัพพอร์ทในเรื่องโลจิสติกนำมาของบริหารจัดการสถานที่ฉีดโควิดให้มีศักยภาพและโฟล์วได้ไม่ติดขัด Hack Vac เริ่มจากนำเครื่องมือเทคโนโลยี่ไปซัพพอร์ทที่โคราช จากนั้นเรานำโซลูชั่นของ Hack Vac มาซัพพอร์ทที่สถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นสถานที่ใหญ่มาก

วิธีการบริหารจัดการที่บางซื่อ เช่น คนที่เข้ามาใช้บริการมักจะไปออกัน GATE 1 ขณะที่บาง GATE ไม่มีคนเลย เรานำเทคโนโลยี่นี้เข้าไป ดูว่าส่วนไหนมีคนมากหรือน้อย ถ้าตรงไหนคนมากโปรแกรมก็จะเตือนเข้ามา เพื่อให้ส่วนกลางสามารถกระจายtraffic ออกจากจุดที่หนาแน่น ไปอยู่ในจุดที่คนน้อย ข้อดีที่เกิดขึ้นคือ 1 ปลอดภัยกับการติดเชื้อโควิด 1 เกิดความรวดเร็ว เพราะฉะนั้น เมื่อเข้ามาในศูนย์บางซื่อแพลตฟอร์มนี้เป็นสตาร์ทอัพของไทยทำขึ้นมา โดยให้ไมโครซอฟท์เข้าไปซัพพอร์ท

ทั้งหมดนี้คือกิจกรรม CSR ของไมโครซอฟท์ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ เราเข้าไปเพื่อนำคอนเท้นต์ที่เป็นเรื่องของดิจิตอลที่เรามี วันนี้เรายินดีมากที่จะเข้าไปช่วยวิกฤติโควิดครั้งนี้ก้าวข้ามผ่านไปได้ทุกคน

Q : ไมโครซฟท์ดูแลพนักงานอย่างไรในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
A : เราเตรียม antigen tast kit สำหรับพนักงานตรวจวัดเชื้อโควิด-19 เราเตรียมถังออกซิเจนไว้สำหรับพนักงานที่ติดโควิด และเรายังร่วมมือกับโรงพยาบาลเพื่อนำวัคซีนมาให้พนักงานและครอบครัวของพนักงานได้ฉีดเพื่อป้องกันโควิด-19 นอกจากความช่วยเหลือเหล่านี้แล้ว เราพยายามบอกพนักงานว่าช่วงนี้เป็นช่วงยากลำบากของชีวิต เราต้องเข้าไปใกล้ชิดลูกค้าให้มากที่สุดและพยายามเข้าช่วยเหลือลูกค้าให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน นี่คือภาระหน้าที่สำคัญของพวกเราที่จะต้องเสนอตัวเข้าไปช่วยดูแลลูกค้าทั้งรายเล็กหรือรายใหญ่ รวมถึงภาครัฐด้วย

ทั้งหมดนี้คือบทสนทนาบนออนลน์กับมุมมองของธนวัฒน์ หัวเรือใหญ่ไมโครซอฟท์ที่ยอมรับว่าการทำธุรกิจในยุคนี้ต้องไปพร้อม ๆ กับความรับผิดชอบต่อสังคมและโลกใบนี้ด้วย

 

Stay Connected
Latest News