SEED ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการได้สรุปปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญหกประการเพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ของประเทศไทยอยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลัก
รายงานล่าสุดระบุว่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ทั่วโลกราว 42% อาจประสบภาวะขาดทุนภายใน 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางสังคมของไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แผน 6 ข้อของ SEED จึงมีเป้าหมายเพื่อชี้นำผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายในอนาคตและรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน
แผนดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience) ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience) ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร (Organisational Resilience) ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience) ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience)
ผู้เริ่มต้น (Starters) ผู้พัฒนา (Movers) และผู้เป็นเลิศ (Champions) ด้านการปรับตัวในทัศนะของ SEED
SEED ต้องการกระตุ้นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ปรับตัวและตอบสนองในรูปแบบที่ต่างออกไปเพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ และเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบากที่อาจพบเจอ โดยระบุว่าองค์กรที่มีความสามารถในการปรับตัวนั้นมีอยู่ 3 ประเภท โดยมีตั้งแต่ผู้ที่อยู่รอดได้ไปจนถึงบริษัทที่เติบโตได้ดี ผู้เริ่มต้น (Starters) สามารถทำงานได้ในสภาวะปกติ แต่ประสบปัญหาข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินสดและการพึ่งพาตลาดในช่วงการแพร่ระบาด ผู้พัฒนา (Movers) ทำการปรับเปลี่ยนในหลายระดับและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบเชิงลบ ผู้เป็นเลิศ (Champions) เปลี่ยนแปลงผลงานผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน โดยอาจเปลี่ยนกระบวนการขององค์กรให้ประสบความสำเร็จในช่วงวิกฤต
ปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญ 6 ประการของ SEED
SEED ได้ทำการสัมภาษณ์องค์กรที่เกื้อกูลระบบนิเวศ โดยระบุว่า MSME บางส่วนประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากร ความสามารถ เครือข่าย และความสัมพันธ์ในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองในระดับพื้นฐานได้อย่างไรบ้าง
1.ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience): ปรับเปลี่ยนไปมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปที่ฐานพีรามิดของตลาดเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า (ตัวอย่างเช่น บริษัท Kibebe ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการออกเเบบจากเศษวัสดุได้เปลี่ยนจากการขายของเหลือใช้มาผลิตหน้ากากแทน
2.ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience)
การปรับราคาและเงื่อนไขการชำระเงินเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดที่ไม่ปกติและสภาพแวดล้อมที่ขัดสนเงินสดในภาพรวม ตัวอย่างเช่น บริษัท Mycotech ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้หนังสัตว์แบบทางเลือกได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ทางการเงินไว้หลายแบบเพื่อรักษากระแสเงินสดในสถานการณ์ที่แปรปรวน
3.ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience)
สร้างความมั่นใจในการพึ่งพาพันธมิตรทางธุรกิจและผู้เล่นรายอื่นๆ ภายในเครือข่ายของ MSME เช่น บริษัท Nelplast Eco ซึ่งเป็นบริษัทจัดการขยะ มีการฝึกอบรมพนักงานใหม่และตรวจสอบคนงานเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่ามีขยะเพียงพอ
4.ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience)
เผชิญหน้ากับความท้าทายภายในตลาดบางแห่งที่เชื่อมโยงกับแต่ละภาคส่วน แต่ละตำแหน่งที่ตั้งและภูมิศาสตร์
5.ความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience)
ให้การสนับสนุนบุคคลที่มีความเสี่ยงในระดับฐานอย่างต่อเนื่องโดยการบริจาค รวมถึงการจัดสรรผลิตภัณฑ์และบริการฟรี และเงินอุดหนุน เช่น ONergy บริษัทพลังงานที่ยังคงพัฒนาโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้บริการชุมชนเกษตรกรรมที่มีความต้องการ ขณะที่เผชิญกับปัญหารายได้หยุดชะงักอันเนื่องมาจากการปิดท่าเรือในประเทศจีนชั่วคราวและปัญหาขาดแคลนเงินทุน
6.SEED ยังเรียกร้องให้องค์กรที่สนับสนุน MSME ให้ความช่วยเหลือที่สำคัญเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวขององค์กรที่เกื้อกูลระบบนิเวศ ซึ่งรวมถึงการระบุถึงส่วนที่จำเป็นต้องมีการสนับสนุนทางการเงินและการสนับสนุนจากพันธมิตร รวมถึงการสร้างทักษะ ประเด็นที่สำคัญคือเมื่อองค์กรประเภทนี้ตกอยู่ในความเสี่ยง ผู้ที่เปราะบางและด้อยโอกาสที่สุดจะเป็นผู้ที่ประสบกับความยากลำบากมากที่สุด
SEED ยังได้ระบุผ่านรายงานการสัมภาษณ์ดังกล่าวว่าผู้กำหนดนโยบายสามารถช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของชุมชนต่างๆ และช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวขององค์กรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งรวมถึงการให้การสนับสนุนด้านการเข้าถึงทางการเงินและความช่วยเหลือยามวิกฤตที่เปิดกว้างยิ่งขึ้นแก่องค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกระบบ รวมถึงการเข้าถึงการสนับสนุนทางธุรกิจโดยการพัฒนาโครงการสำหรับองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ชนบท ประการที่สาม ควรมีการสนับสนุนระบบเตือนภัยล่วงหน้าอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้ MSME สามารถรับรู้ถึงผลกระทบและวางแผนเพื่อการฟื้นตัวล่วงหน้าได้ด้วยเช่นกัน
เกี่ยวกับ SEED – www.seed.uno
SEED ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 ในฐานะโครงการความร่วมมือระดับโลกเพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียว SEED เชื่อว่าความเป็นผู้ประกอบการคือหัวใจหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์กรให้การสนับสนุนแก่โครงการต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโตในเอเชียและแอฟริกาโดยให้การสนับสนุนทางธุรกิจและการสร้างขีดความสามารถ กิจกรรมการสร้างระบบนิเวศขององค์กรจะมุ่งเน้นไปที่นโยบาย การจัดหาเงินทุนและเครื่องมือในการทำงานร่วมกันที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิผลด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น
SEED ได้รับการก่อตั้งโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ในการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2545 ที่กรุงโจฮันเนสเบิร์ก