ถามใจนายจ้างจะเลือกจ้าง “มนุษย์” หรือ “AI” เอางัยดีหว่า?

ในยุคหน้าหุ่นยนตร์และระบบอัตโนมัติจะเข้ามาแย่งงานจากมนุษย์จริงหรือไม่ แมนพาวเวอร์กรุ๊ปเผยผลวิจัยจากการสอบถามนายจ้าง19,000 รายใน 44 ประเทศ พบความจริงและทางออกของการปฏิวัติทักษะ4.0ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

จากงานวิจัยของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ด้วยการสอบถามนายจ้าง 19,000 ราย ใน 44 ประเทศเกี่ยวกับผลกระทบของระบบอัตโนมัติที่มีต่อการเติบโตของงานในองค์กรของพวกเข้าในอีก 2 ปีข้างหน้า และตำแหน่งหน้าที่ที่นายจ้างวางแผนจะเพิ่มจำนวนพนักงานมากที่สุดและประเภทของทักษะที่พวกเขากำลังมองหา รวมทั้งกลยุทธ์การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูงที่นายจ้างจะใช้เพื่อมองหาแรงงานที่เหมาะสมกับองค์กรในอนาคต

ผลสรุปของงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า นายจ้าง 87 % วางแผนที่จะเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งจำนวนบุคลากร ซึ่งเป็นผลมาจากการนำระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นระยะเวลา 3 ปีต่อเนื่องกัน แทนที่จะลดการจ้างงาน นอกจากนี้ องค์กรต่างๆ ยังมีการลงทุนในระบบดิจิทัล โยกย้ายงานให้หุ่นยนต์เพื่อสร้างงานใหม่ ในขณะเดียวกัน เหล่าบรรดาบริษัทได้เพิ่มพูนทักษะของบุคลากรเพื่อให้แรงงานมนุษย์สามารถปฏิบัติหน้าที่ใหม่เป็นการเสริมเพิ่มเติมจากงานที่ใช้เครื่องจักรดำเนินการ ส่งผลให้การปฏิวัติทักษะเป็นกระแสที่มาแรงในขณะนี้

 

อย่างไรก็ตาม ระบบอัตโนมัติกำลังสร้างงานและแนวโน้มจะยังคงเป็นเช่นนั้น ทางด้านนายจ้างจำนวนมากขึ้นมีการคาดการณ์ใน 3 ปีหลังจากนี้ว่าจะมีการเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งจำนวนแรงงานที่เป็นผลจากระบบอัตโนมัติจาก 83 % เป็น 87 % ขณะเดียวกันสัดส่วนของบริษัทที่น่าจะลดจำนวนงานลงจาก 12 %เป็น 9 %

นอกจากนี้ องค์กรที่ใช้ระบบอัตโนมัติมากที่สุดกลับจ้างงานมากที่สุดอีกด้วย โดยผลวิจัยระบุว่า บริษัทหรือองค์กรที่เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลมีอัตราการเติบโตทำให้เกิดงานใหม่ๆ มากขึ้นด้วย ทั้งนี้องค์กรที่ใช้ระบบอัติโนมัติในการทำงานและเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล เปิดเผยว่ามีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าจะมีการเพิ่มจำนวนพนักงานถึง 24 % ของบริษัทเหล่านั้น อีกทั้งยังคาดว่าจะมีตำแหน่งงานมากขึ้นใน 2 ปีข้างหน้า และมีเพียง 12 % ขององค์กรที่ใช้ระบบอัตโนมัติเท่านั้นที่กล่าวว่าจะลดจำนวนพนักงานในขณะที่อีก 3 % ไม่แน่ใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

ผลวิจัยยังระบุอีกว่ามี 41 % ของบริษัทที่จะใช้ระบบอัตโนมัติในการทำงานในอีก 2 ปีข้างหน้านั้น 24 % จะสร้างงานใหม่ ส่วนอีก 6 % เป็นบริษัทที่ไม่มีแผนจะใช้ระบบอัตโนมัติ

และจากกระแสของการพัฒนาทักษะแรงงาน โดยบริษัทกำลังจะกลายเป็นผู้สร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูงเพื่อเสริมศักยภาพและขีดความสามารถให้กับธุรกิจ โดยผลจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถสูงมากที่สุดในรอบ 12 ปี และทักษะใหม่ๆ ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่ทักษะเก่าค่อยๆ หายไป

ทั้งนั้ บริษัทจำนวนมากกำลังวางแผนที่จะพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษมากกว่าที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นภายในปี 2563 โดยบริษัทมีกำลังตระหนักว่าตนไม่สามารถฝากความหวังไว้ที่การหาบุคลากรที่มีทักษะความสามารถพร้อมอยู่แล้วได้อีกต่อไป และประมาณ 84 % ขององค์กรคาดว่าจะพัฒนาทักษะความสามารถพิเศษของบุคลากรของตนได้ภายในปี 2563

 

โจนัส ไพรซิ่ง ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารแมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวสรุปถึงผลการวิจัยครั้งนี้ว่า
“การให้ความสนใจกับเรื่องที่ว่าหุ่นยนต์จะมาแย่งงานของเราเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของเราจากปัญหาที่แท้จริง แน่นอนว่ามีการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น แต่มนุษย์ก็ยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเช่นกัน ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา งานวิจัยของแมนพาวเวอร์กรุ๊ปแสดงให้เห็นว่านายจ้างส่วนใหญ่วางแผนที่จะเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งจำนวนพนักงาน จากผลการพัฒนาระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก โดยเรามีความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่ต้องหาคำตอบให้ได้ว่ามนุษย์จะทำงานร่วมกับเครื่องจักรได้อย่างไร”

งานวิจัยชี้แนะว่ามนุษย์ทำงานจะอยู่รอดในยุคหน้าที่ต้องแข่งขันกับหุ่นยนตร์จะต้องปรับตัว  ด้านทักษะซึ่งถือเป็นใบเบิกทางไปสู่การเติบโต ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญเรื่องความสามารถในการเรียนรู้ของบุคลากร รวมถึงการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่คนที่ต้องการพัฒนาทักษะของตนเท่านั้น เพราะการเรียนรู้จะทำอย่างในอดีตไม่ได้อีกแล้ว เพราะคนต้องเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติและพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร เรายังเรียนรู้ที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถคว้าโอกาสในกรณีที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลอด

“นี่ไม่ใช่การเลือกระหว่างมนุษย์หรือเครื่องจักร ผมเชื่อว่าองค์กรและบุคคลสามารถเป็นมิตรกับเครื่องจักรและร่วมมือกันสร้างสังคมที่เข้มแข็งและดีขึ้นกว่าเดิม” นายโจนัส ไพรซิ่ง กล่าวสรุป

ทั้งนี้ จากผลวิจัยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่องค์กรได้นำมาใช้เพื่อให้การขับเคลื่อนธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเสริมแกร่งในด้านขีดความสามารถในการแข่งขันได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทของบุคลากร ซึ่งเป็นแรงงานสำคัญที่จะต้องมีการพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของบุคลากร เพื่อทำงานและควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติ-หุ่นยนต์ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ถึงเวลา…ที่ทุกองค์กรจะตื่นตัวรับมือโลกดิจิตัลสู่การปฏิวัติทักษะ4.0 อันจะทำให้มนุษย์ชนะหุ่นยนต์ เพราะอย่างไรก็ตาม มนุษย์จะยังเป็นที่ต่อการขององค์กร และหุ่นยนต์ก็ต้องการมนุษย์เช่นกัน!!!

Stay Connected
Latest News