ประเทศกูมี…การซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตแล้ว

นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นทางการ ซึ่งมี “อบก.” เป็นคนกลาง กลุ่มน้ำตาลมิตรผลเป็นผู้ขาย โดยมี 7 องค์กรเอกชนที่ซื้อโดยสมัครใจด้วยมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท


องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กลุ่มมิตรผล จัด “พิธีลงนามการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประจำปี พ.ศ. 2561” เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ภายใต้โครงการ “ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย” ( Thailand Voluntary Emission Reduction Program:T-VER )

 

ตัวแทน 8 องค์กรที่เข้าร่วมงานพิธีลงนามการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

 

ซึ่งถือเป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยด้วยมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท หรือคิดเป็นคาร์บอนเครดิต 2 แสนตัน ราคาเฉลี่ยตันละ 20 – 200 บาท(ขึ้นอยู่กับปริมาณการซื้อมากหรือน้อย) โดยธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ จำนวน 1 แสนตัน ส่วนรายย่อยอีก 6 บริษัทคือ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) , โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพฯ , บริษัท สแครทช์ เฟิร์ส จำกัด ( Wonderfruit) ,ธนาคารแห่งประเทศไทย , สภาอุตสาหหกรรมแห่งประเทศไทย , โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,ศูนย์เชี่ยวชาญทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ “อบก.” กล่าวว่า “โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ( Thailand Voluntary Emission Reduction Program:T-VER )มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนันสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยโดยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลด/ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ T-VER ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้ “

 

ประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

 

ข้อมูลจากอบก.ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในโครงการ T-VER รวมทั้งสิ้นกว่า 2 แสนตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า จาก 5 ประเภทโครงการ ได้แก่ ชีวภาพ ชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และการนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่

 

ซึ่งนอกจากเป็นการใช้วัตถุดิบด้านพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้พัฒนาโครงการ อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการขยายตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจภายในประเทศ โดยปัจจุบันมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 6.2 ล้านบาท โดยกลุ่มมิตรผลเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่นำร่องและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

 

ประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจพลังงาน กลุ่มมิตรผล

 

ด้าน ประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจพลังงาน กลุ่มมิตรผล ในฐานะผู้ผลิตได้กล่าวถึงการซื้อขายในครั้งนี้ว่า
“มูลค่าการซื้อขายครั้งนี้ประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งผมคิดว่ามูลค่าไม่สำคัญแต่สิ่งที่สำคัญคือวันนี้เราได้พิสูจน์แล้วว่า แม้ว่าคนที่ไม่สามารถจะลดก๊าซเรือนกระจกได้ แต่มีความตระหนักแล้วเข้ามาร่วมในกิจกรรมนี้ทำให้สามารถเปิดเวทีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นผลสำเร็จ “

ประวิท กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันกลุ่มมิตรผลมีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ด้รับการรับรอง รวม 489,217 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า มีผู้ซื้อคาร์บอนเครดิต เพื่อทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 26 องค์กร มีการขายคาร์บอนเคดิตไปแล้วกว่า 190,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า หรือคิดเป็น 90% ของตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยตามมาตรฐาน T-VER

 

จากซ้าย ประวิทย์ ประกฤตศรี กลุ่มมิตรผล ,ประเสริฐสุข จามรมาน ผอ.อบก.และ ปรีดี ดาวฉาย จากธนาคาร กสิกรไทย

 

ส่วนเรื่องการขายคาร์บอนเครดิตออกนอกประเทศนั้น ผอ.ประเสริฐสุข กล่าวว่าขณะนี้ยังอยู่ในขั้นเจรจา โดยมีผู้ซื้อแสดงเจตนารมย์เข้ามาคือ สวิสเซอร์แลนด์ นิวซีแงนด์ และเยอรมัน แต่ประเทศไทยยังไม่ตัดสินใจว่าจะขายเมื่อไหร่ เพราะต้องรอกติกาโลกให้เริ่มเปิดให้มีกาซื้อก่อนเสียก่อน

 

“ ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องสำคัญมาก ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฏหมายบังคับว่าใครบ้างที่ต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งขณะนี้กระทรวงทรัพยากรฯกำลังดูร่วมอยู่กับหลาย ๆ กระทรวง คาดว่าปี 2563 พรบ.ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งพรบ.ฉบับนี้มีการพูดถึงการสร้างกลไกให้เป็นแรงจูงใจ หลากหลายรูปแบบเช่น ภาษีคาร์บอน หรือกำหนดเพดานในการปล่อย รวมทั้งเรื่องของการรายงานข้อมูล ซึ่งตรงนี้คงเน้นไปที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อน” ประสบสุข กล่าวสรุป

Stay Connected
Latest News