ปีนี้เอสซีจี คว้าไปแล้ว 3 รางวัล ตอกย้ำต้นแบบด้านความยั่งยืน

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศผลมอบรางวัล SET Sustainability Awards 2018 ให้กับบริษัทจดทะเบียน ที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ซึ่งปีนี้ เอสซีจี ขึ้นรับถึง 2 รางวัล รวมถึงรางวัลใหญ่คือได้รับการประเมินให้อยู่ใน DJSI ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์

 

 

โดย ยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง และ นำพล ลิ้มประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาอย่างยั่งยืน ขึ้นรับรางวัล “SET Sustainability Awards 2018” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยได้รับรางวัล 2 ประเภท ได้แก่ รางวัลเกียรติยศบริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืน ซึ่งมอบให้กับบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับรางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืนยอดเยี่ยมติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และรางวัลหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment) ซึ่งมอบให้กับบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับธุรกิจในตลาดทุนไทย

 

2 รางวับที่เอสซีจีได้รับในปีนี้ คือรางวัลเกียรติยศบริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) และรางวัลหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment)

 

และก่อนหน้านั้น เอสซีจี ก็ได้รับการประเมินให้อยู่ใน DJSI ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับโลก ในสาขาอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Materials) ตั้งแต่ปี 2547 ยาวนานต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 พร้อมมุ่งดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด Circular Economy เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

ชลณัฐ ญาณารณพ ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวถึงรางวัลนี้ว่า “ผลการประเมินจากดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ (DJSI) ในปี 2561 ทำให้เอสซีจีเป็นสมาชิก DJSI ที่เป็นแบบอย่างองค์กรยั่งยืน ในสาขาอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ต่อเนื่องยาวนานถึง 15 ปี ซึ่งเอสซีจีเป็นองค์กรแรกในอาเซียนที่ได้รับการประเมินให้เป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2547 นับเป็นความภาคภูมิใจของพนักงานเอสซีจีทุกคนที่ได้ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เชื่อมั่นว่า การดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างความเป็นเลิศในทุกๆ มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ตลอดจนความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินงานของเอสซีจี เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เอสซีจีประสบความสำเร็จ

 

 

นอกจากนี้ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เอสซีจีได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้เพื่อยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทำให้เอสซีจีตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยกลยุทธ์การลดใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิต

 

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อทดแทนสินค้าหรือวัตถุดิบชนิดเดิม และการเพิ่มความสามารถในการหมุนเวียนสินค้าที่ใช้งาน
แล้วกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยลดผลกระทบและสร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
อย่างไรก็ตาม การจะทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เอสซีจี ในฐานะภาคธุรกิจจึงได้ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสังคม เพื่อสร้างความร่วมมือและแบ่งปันความรู้ อันจะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ตลอดจนชุมชนได้อย่างแท้จริง”

Stay Connected
Latest News