จับมือ WWFประเทศไทย เปิดศูนย์การเรียนรู้ “โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ”แห่งแรกในพระนครศรีอยุธยา ณ โรงเรียนสาคลีวิทยา เพื่อปลูกจิตสำนึกนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรื่องของการอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรน้ำบริเวณชุมชนอย่างยั่งยืน
เนสท์เล่เพียวไลฟ์ โฟกัสการทำงานเรื่อง “น้ำ” ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากฐานการผลิตน้ำดื่มในประเทศไทยอยู่ที่นี่ และเป็นไปตาม “พันธสัญญา” ต่อเจตนารมณ์ของเนสท์เล่ ทั่วโลกในการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิต เสริมสร้างสุขภาพดีสู่อนาคต โดย “น้ำ” เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ทั้งในการอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการรักษาแหล่งน้ำให้สะอาดเพื่อให้ลูกหลานมีใช้ในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในฐานะน้ำดื่มคุณภาพที่ใส่ใจดูแลแหล่งน้ำเพื่ออนาคตอันสดใส
ก่อนที่จะเปิด “ศูนย์การเรียนรู้เยาวชนพิทักษ์สายน้ำ” ได้นั้น เนสท์เล่เพียวไลฟ์ ร่วมมือกับ WWFประเทศไทย เริ่มดำเนินโครงการ “เยาวชนพิทักษ์สายน้ำ” เมื่อปี 2558 เชิญชวนให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งน้ำรอบๆ โรงเรียนแก่นักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งตามเกณฑ์โครงการภายใน 5 ปีโรงเรียที่เข้าร่วมจะต้อง “รักษาแหล่งน้ำใกล้เคียงโรงเรียนให้สะอาดเพื่อให้ลูกหลานมีใช้ในอนาคต”
โรงเรียนสาคลีวิทยา ร่วมเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้ ในการบริหารจัดการคูน้ำรอบโรงเรียน โดยครูทุกระดับร่วมมือ เช่นเดียวกับนักเรียน ม.1-ม.6 ที่จะต้องเปลี่ยนกันดูแลเรื่องนี้ในแต่ละเทอม เสมือนการส่งมอบงานจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องทำให้นักเรียนซึมซับ เห็นการบวนการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ อีกทั้งมีความร่วมมือของสมาคมศิษย์เก่า มาช่วยลอกคูให้น้ำสะอาดมากขึ้น จากเดิมที่เป็นน้ำใช้ไม่ได้ มีขยะ ผักตบชวาเต็มคูน้ำ
โรงเรียนใช้เวลา 4 ปีก็ถึงเป้าหมายที่ทางเนสท์เล่ตั้งไว้ ซึ่งปัจจัยความสำเร็จมาจาก นักเรียน ผู้บริหารคณะครู ชุมชน เนสท์เล่ และ WWF ซึ่งในปีแรกที่ลงมือทำ จะต้องสร้างความเข้มแข็งในโรงเรียนสร้างความเข้าใจที่มีเป้าหมายร่วมกัน เรียนรู้ความสำคัญของน้ำ ขึ้นปี 2 ก็มีโรงเรียนบัดดี้เข้ามาจับคู่ ในการทำงานเรื่องนี้ ซึ่งมีทั้งหมด 16 โรงเรียน จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการดูแล สร้างรายได้จากน้ำที่สะอาด ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นในโรงเรียนสาคลีวิทยา ส่งผลให้เกิด “ศูนย์การเรียนรู้เยาวชนพิทักษ์สายน้ำ” ปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
“การเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯที่นี่ มีข้อดีคือ โรงงานของเราอยู่ในพื้นที่นี้ เวลามีปัญหาอะไร พนักงานของเราจะเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันวกันพนักงานเราเองก็จะแวะเวียนมาให้องค์ความรู้เรื่องน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความสำคัญในการเปิดศูนย์ ไม่ใช่เพียงโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นการขยายองค์ความรู้เรื่องน้ำไปยังชุมชน สังคมที่เข้ามาศึกษาทีศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้”
ลูก้า คิโอด้า ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจน้ำดื่ม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ขยายความว่า สิ่งนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เนสท์เล่ มีเจตนารมณ์ในการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิต เสริมสร้างสุขภาพดีสู่อนาคต หรือ Nestlé Purpose of Enhancing quality of life and contributing to a healthier future
เยาวลักษณ์ เธียรเชาว์ ผู้อำนวยการ WWF-ประเทศไทย กล่าวถึงศูนย์การเรียนรู้ “โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ”ณ โรงเรียนสาคลีวิทยา ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนคลองขนมจีนจึงได้รวบรวมเรื่องราวของโครงการทั้งหมด 4 สถานีตั้งแต่เรื่องแหล่งกำเนิดของน้ำ วิธีการดูแลแหล่งน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ ไปจนถึงสถานีพิเศษที่แสดงผลงานความสำเร็จของเด็กๆ จากโครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ ซึ่งได้น้องๆที่เป็นแกนนำพิทักษ์น้ำจากโครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำมาแนะนำ
เริ่มจาก สถานีที่ 1“น้ำจืดอยู่หนใด”เป็นสถานีที่ให้ความรู้เรื่องของต้นกำเนิดของแหล่งน้ำจืดซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าน้ำที่นำมาใช้อุปโภค และบริโภคมีน้อยกว่า 1% เท่านั้นเพราะฉะนั้นจึงควรเริ่มอนุรักษ์น้ำตั้งแต่วันนี้เพื่อให้คนรุ่นหลังมีน้ำสะอาดไว้ใช้อย่างเพียงพอ
ต่อด้วยสถานีที่ 2 “อดีต ปัจจุบัน คลองขนมจีนสายน้ำแห่งชีวิต”เป็นการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของคลองขนมจีน จากอดีตที่น้ำเป็นเหมือนชีวิตของชุมชนขนมจีนทั้งเรื่องการกิน ใช้ และสัญจรของประชากรทั้งสิ้น 66,700 คนจาก 6 ตำบล ซึ่งมีจำนวนบ้านเรือนกว่า 24,606 ครัวเรือน แต่เมื่อวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไปก็อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำได้คนเราจึงควรตระหนักถึงการดูแลใส่ใจแหล่งน้ำ หลังจากเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปของสายน้ำ
ต่อมาสถานีที่ 3 “โซ่อาหาร และสายใย” ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำที่มีคุณภาพ เพราะความอุดมสมบูรณ์ของสายน้ำทำให้มีความหลากหลายของสายพันธุ์ที่ต้องพึ่งพากันและกัน หากน้ำเน่าเสีย หรือสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ไหนหายไป ก็ทำให้สายพันธุ์อื่นได้รับผลกระทบเช่นกันจากความรู้ 3 สถานี
สถานีที่ 4“โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ” ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักถึงหน้าที่ของการดูแลสายน้ำเพื่อปลูกจิตสำนึกของเยาวชนและคนทั่วไปให้หันมาอนุรักษ์น้ำอย่างยั่งยืน
สถานีพิเศษซึ่งเป็นโครงงานต่อยอดจากโครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ และได้นำไปปฏิบัติจริง ได้แก่ ผลงาน “กังหันสวย กรองน้ำใส” จากโรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) และ “เครื่องตีน้ำ” โรงเรียนท่าเรือนิตยานุกูลมาแสดง
สุดท้าย ภายในโรงเรียนสาคลีวิทยา ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ “โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ”ก็มีผลงานที่โดดเด่นทั้งการเปลี่ยนคุณภาพแหล่งน้ำรอบโรงเรียนจากน้ำเสียเป็นน้ำใส โดยใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือน จนต่อยอดไปเป็นโรงเรียนต้นแบบให้กับโรงเรียนอีกหลากแห่งในพื้นที่ รวมถึงชุมชนรอบข้าง โดยได้พัฒนาพื้นที่โรงเรียนกว่า 33 ไร่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5 จุด ประกอบด้วยกระชังปลาและกระชังกุ้งฝอย กระชังหอยขม โรงเพาะเห็ด บ่อสายบัวและบ่อแพผักจนสามารถนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารให้เด็กนักเรียนทั้งโรงเรียนได้รับประทานเป็นอาหารกลางวัน รวมถึงนำไปขายสร้างรายได้ให้กับโรงเรียน
โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ เริ่มจากเด็กและเยาวชน ซึ่งจะเติบโตไปพร้อมกับอนาคตที่มีโอกาสดีๆ พร้อมดื่มน้ำคุณภาพที่เติมความสดชื่นให้กับร่างกายของเด็กๆ