“Pure Gold-Upcycled! Upgraded ไม่ใช่เรื่องรีไซเคิลธรรมดา แต่เป็นการนำวัสดุต่าง ๆที่เป็นขยะกลับไปทำเป็นของชิ้นใหม่ที่เพิ่มมูลค่าแต่ยังคงเป็นวัสดุดั้งเดิมเอาไว้ โดยไม่มีการนำเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในการทำรีไซเคิล แต่เป็นงานศิลปะที่ศิลปินผู้รังสรรค์จะมองความงามผ่านวัสดุเหลือที่ใช้ที่ไม่มีคุณค่า” ศ.โฟลเคอร์ อัลบุส ภัณฑารักษ์ผู้ดูแลและสร้างสรรค์นิทรรศการชาวเยอรมัน กล่าว
นิทรรศการ Pure Gold-Upcycled! Upgraded จัดโดยความร่วมมือของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ( TCDC) สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัทพีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) โดยมีเป้าหมายคือเป็นแนวทางการนำขยะและเศษวัสดุมาสร้างมูลค่าใหม่
กิติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ TCDC กล่าวว่า ปัจจุบันขยะเป็นปัญหาที่ทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญ การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ ทั้งขยะมูลฝอยจากชุมชน ปริมาณขยะจากอุตสาหกรรม มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการหาแนวทางในการกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงเป็นกระแสสำคัญของโลกในปัจจุบัน
“TCDC ร่วมกับพันธมิตรจึงจัดนิทรรศการ Pure Gold-Upcycled! Upgraded!เปลี่ยนขยะเป็นทอง เพื่อแสดงเกี่ยวกับแนวทางการนำขยะและเศษวัสดุมาสร้างมูลค่าใหม่ด้วยการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ 79 ชิ้นงาน จาก 56 นักออกแบบจากทั่วโลกและ 9 นักออกแบบรับเชิญพิเศษชาวไทย”
มาเร็น นีไมเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย กล่าวว่าการจัดนิทรรศการนี้ขึ้นมาเพื่อแสดงถึงแนวทางการนำขยะและเศษวัสดุมาสร้างมูลค่าใหม่ ( Upcycling) ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม และความต้องการในการบริโภคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นิทรรศการนี้จัดแสดงครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะและหัตถกรรม Museum fur Kunst and Gewerbe เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน โดยมีเป้าหมายที่จะหมุนเวียนจัดแสดงไปยังประเทศต่าง ๆ ในระยะเวลา 10 ปี และประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางรอบโลกของนิทรรศการ และไม่ว่านิทรรศการนี้จะหมุนเวียนไปยังประเทศใดในโลก สถาบัน ifa จะเชิญนักออกแบบท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน สำหรับประเทศไทย โครงการ Pure Gold มีนักออกแบบไทย 9 คนมาร่วมสร้างสรรค์หลงานด้วย
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการนี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้จนถึง 18 พ.ค.- 22 ก.ค.2561 เวลา 10.30-21.00 น. ทุกวันอังคาร – อาทิตย์ ณ ห้องแกลอรี่ ชั้น 1 อาคารส่วนหลัง ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก โทร.02-105-7400#213
** และนี่ คือ 10 ชิ้นงานตัวอย่างของนิทรรศการโดนใจ **
Twin Backpack กระเป๋าเป้สะพายหลัง 3 ใบนี้ ทำจากถุงพลาสติกรวมกัน 30 ถุง
ที่เก็บมาจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อกัน ผู้ใช้สามารถรับรู้เรื่องราวความเป็น
มาและร่องรอยการหลอม พลาสติกจากหน้าตาของเป้ได้
อีกทั้งถุงพลาสติกที่มีตราสินค้าหรือ เครื่องหมายการค้าต่างๆ
ซึ่งนักออกแบบได้รวบรวมมายังแสดงถึงวัฒนธรรมการใช้ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านในท้องถิ่น
Knit-Knacks ถังซักผ้าเก่า ๆ ที่ถูกทิ้งเป็นขยะ แต่ศิลปินชาวเลบานอน
มองเห็นคุณค่าจึงรังสรรค์ออกมาเป็นชุดเก่าอี้สตูลเตี้ย ๆ เพิ่มความงามอีกนิดด้วย
งานปักลวดลายเลขาคณิตที่เต็มไปด้วยสีสันตามขนบอาหรับและอิสลาม
ซึ่งมีกปรากฏให้เห็นตามอาคารบ้านเรือนและศิลปวัตถุท้องถิ่น
Mulher-Woman นักออกแบบเปลี่ยนเครื่องทำน้ำอุ่นที่ทิ้งแล้ว
ให้กลายมาเป็นชั้นวางไวน์ ที่มาพร้อมกับภาพวาดอิลลัสเตรชั่น
ที่สะท้องภาพสังคมที่ศิลปินสังเกตุจากสิ่งรอบตัว
Digestion n°1 เห็นถุงประเภทนี้แล้วนึกถึง”ถุงกระสอบหรือถุงสายรุ้ง”
ที่ขายกันเกร่อแถวสำเพ็งบ้านเรา ซึ่งก่อนหน้านี้ดีไซเนอร์นำถุงแบบนี้ไปออกแบบเป็น
กระเป๋าคอลเลคชั่น BALENCIAGA FALL WINTER 2016 SHOW
ผลงานชิ้นนี้เป็นของศิลปินชาวฝรั่งเศส ที่เย็บกระเป๋าพลาสติกเป็นทรงคิวบิกสี่เหลี่ยม
ติดซิปรูด มีสองหูหิ้ว พื้นขาว ลายสานสีฟ้า และลายสีแดง-ขาว
แบบเดียวกันที่ถูกใช้ทั่วโลก หาซื้อที่ไหนก็ได้ ราคาแค่ 1-3 ยูโร
กระเป่านี้ถูกออกแบบให้เป็นโซฟา ซึ่งบริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่ประเทศอิตาลีได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปจำหน่ายแล้ว
Large Donut Rug พรมพลาสติกผืนนี้ทำจาก ถุงพลาสติกหลากสีสัน
นำมาทำให้เป็นวงกลมทรงโดนัทจำนวน201 อัน โดยใช้แผ่นกระดาษแข็งเจาะรูตรงกลาง
แบบแผ่นดิสก์ เป็นแม่แบบ ชิ้นอ้วนๆขนาดเท่ากันหมด
เมื่อนำทุกชิ้นร้อยเข้าด้วยกัน สลับสีสัน แดง น้ าเงิน เขียว เหลือง จะได้ผืนพรมนุ่ม
สบายเท้า ที่โชว์ลวดลายเรขาคณิตจนอาจได้ กลิ่นอายตะวันออก
และถ้าหากฉีกขาดหลุดลุ่ยขึ้นมาเมื่อใด ก็สามารถซ่อมแซมได้
Flip Flop ใครเคยทำรองเท้าฟองน้ำหายตามชายหาดบ้าง???
บางทีรองเท้าที่หายอาจจะมาเป็หนึ่งในวัสดุที่นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ชิ้นน้อยนี้ก็ได้
ศิลปินเก็บรวบรวมรองเท้าฟองน้ำที่ ถอดทิ้งไว้ตามชายหาดแล้วถูกน้ำพัดมาติดฝั่ง กลายมาเป็นขยะ
โดยนำไปแปะเข้าด้วยกัน แล้วเจียให้เป็นรูปทรงแปลกใหม่
เช่น โคมไฟ ตะกร้า รวมถึงเก้าอี้ตัวน้อยนี้ด้วย
Horse Hair Collection จากเนื้อผ้าที่นำไปทำสายเข็มขัดนิรภัย safety belt
ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการผลิตเพราะสีเพื้ยน จำนวน 1 ตัน
นำมาแปรรูปเป็นวัสดุตกแต่งผนังที่ทนการลามของไฟ ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยคนไทย
ซึ่งปัจจุบันนำไปตกแต่งห้องในโรงแรมแอสตัน
Paan ผลงานของศิลปินไทย ที่มองเห็นความสวยงามของ
เศษเหล็กอุตสาหกรรมที่เหลือทิ้ง นำมาพัฒนาต่อยอด ด้วยเทคนิคการเชื่อมต่อ
ด้วยมือกลายมาเป็นรูปทรงสวยงามทันสมัย เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
เช่น โต๊ะ โคมไฟ ซึ่งปัจจุบันมีออร์เดอร์เข้ามาเป็นจำนวนมาก
Forest Gump ใครเกิดทันยุควิดีโอเทปบ้าง???
VDO Tape หรือวัสดุเทปแม่เหล็กยาวนับหลายร้อยเมตรที่ใช้บันทึกภาพและ เสียง
เนื้อวัสดุบางเบาคล้ายม้วนสายกระดาษสีที่ใช้สำหรับ งานสร้างสรรค์
พื้นผิวเป็นสีถ่านออกประกายสีเงิน บอบบาง
แต่มั่นคงเมื่อถูกนำมาทอให้ชิดกันจนแน่นเป็นผืน แล้วความทรงจำที่เก็บบันทึกไว้
ก็กลับกลายมาเป็น ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ ผลงานเหล่านี้จะมีชื่อ
ตามชื่อภาพยนตร์ของม้วนเทป ก็เก๋ไปอีกแบบ
www/www: we want wind/we want water
ไม้คอกจุกไวน์ เมื่อนำมาบดเป็นผงละเอียดสามารถนำไปอัดลงบนแม่พิมพ์เรซิ่น
ขึ้นรูปเป็นวัตถุกลม ๆ อย่างลูกฟุตบอล ลูกบาสเก็ตบอล ลูกวอลเล่ย์บอล
เหมาะสำหรับใช้เล่นตามริมทะเล เพราะน้ำหนักเบาไม่จมน้ำ