บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด ร่วมกับ BRANDi Institute of Systematic Transformation (BiOST) จัดงาน FUTURE-READY 2025 ภายใต้ธีม Ready for the Unknown Horizon รวบรวมผู้นำระดับสูงจากทุกภาคส่วนมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน
พร้อมบรรยายและเสวนาจากผู้นำองค์กรระดับประเทศ และที่ปรึกษาด้าน Intelligence Management ของแบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ สะท้อนให้เห็นความสำคัญในการก้าวเข้าสู่ Unknown Horizon ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความได้เปรียบในโลกธุรกิจ แนวคิดดังกล่าวถูกออกแบบให้ครอบคลุม 3 มิติหลัก ซึ่งเปรียบเสมือน 3 ระดับของการปรับตัวเพื่อสร้างความยั่งยืน ได้แก่
1. Macro-level : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแบบไร้พรมแดน ผ่านการบรรยายหัวข้อ FUTURE-READY Economy โดย คุณปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด และเสวนาในหัวข้อ New Global Horizon: Thriving in an Unknows Horizon โดย คุณปรเมธี วิมลศิริ ประธาน Macro-Socioeconomic Agenda คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) คุณสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานมูลินิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารในพระสังฆราชูปถัมภ์ และนายกสภามหาวิทยาลัย CMKL คุณจิรวุฒิ กนกอรรจน์ (Discussion Catalyst) ผู้อำนวยการ Geoeconomics Agenda, BRANDi Institute of Systematic Transformation (BiOST)
2. Market-level : การสร้างสมดุลระหว่างผู้คน กำไร และตลาดที่ยั่งยืน ผ่านการบรรยายหัวข้อ FUtURE-READY Ecosystem โดย คุณศศรินทร์ บวรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ปรึกษา บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด และเสวนา Redefining Rule of Competition โดย คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณพิสุทธิ์ เพียรมนกุล ผู้อำนวยการ Climate Economy Agenda BRANDi Institute of Systematic Transformation (BiOST) คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) คุณมนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล (Discussion Catalyst) ที่ปรึกษาอาวุโส ส่วนงานบริหารด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด
3. Micro-level : การปรับตัวขององค์กรและบุคคลในระดับจุลภาค ที่บรรยายในหัวข้อ FUTURE-READY Engine โดยคุณสินธ์โต วาณิชย์กิตติ์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้าน New Business Management บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด และผู้อำนวยการ Future-ready SME Agenda BRANDi Institute of Systematic Transformation (BiOST) และการเสวนาในหัวข้อ From Conventional to FUTURE-READYโดย คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเบส-เทคโนโลยี กรุ๊ป คุณดนันท์ สุภัทรพันธ์ุ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ คุณสินธ์โต วาณิชย์กิตติ์ (Discussion Catalyst)
โฟกัส Core-level รับมือโลกยุค 4ต
คุณปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด เน้นย้ำเรื่อง Global Headlines หรือปัญหาระดับโลกที่มิอาจแก้ได้ชั่วข้ามคืน ที่ทุกภาคส่วนควรตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือ โดยสรุปสถานการณ์ที่โลกต้องเผชิญในยุคปัจจุบันออกมาเป็นประเด็น 4ต ดังนี้
1. ตื่นตูม (Panic) : จากการเปลี่ยนแปลงของการเมืองโลกระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน รวมถึงนโยบายทรัมป์ 2.0 เมื่อคนคนหนึ่งมีอำนาจจนส่งผลกระทบไปสู่คนทั้งโลกได้ และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เช่น เทคโนโลยีจากจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในภาพใหญ่ของทั้งโลกได้
2. แตกแยก (Fragmentation) : ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่มีความขัดแย้งระหว่างประเทศ (Interstate Conflict) มากที่สุด ที่นำไปสู่สงครามซึ่งนับว่าเป็นจำนวนมากที่สุดในรอบ 79 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489
3. ตีบตัน (Stagnation) : ข้อจำกัดและความท้าทายในการสร้างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในทุกภาคอุตสาหกรรม และถือเป็นเรื่องที่มีการพูดคุยมากที่สุดใน World Economic Forum Annual Meeting 2025 ที่ Davos
4. ตกต่ำ (Degradation) : โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมและปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกจากการกระทำของมนุษย์ ที่อาจนำไปสู่การเพิ่มของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอีก 1.8 องศาเซลเซียส ขณะที่การแก้ไขปัญหายังเป็นความท้าทาย เพราะไม่สามารถแก้ไขได้ในคืนเดียว แต่ คนที่จับจังหวะได้ถูกต้องคือคนที่มองเห็นภัยคุกคามเป็นโอกาส
“ความเสี่ยงโลกจากทั้ง 4ต ไม่ว่าจะเป็น ตื่นตูม แตกแยก ตีบตัน และตกต่ำ สามารถรับมือได้ด้วยการสร้างอนาคตไปถึงระดับแก่นองค์กร หรือ Core-level ผ่าน Discover the Core หรือการค้นหาจุดแข็ง การช่วยองค์กร หน่วยงานและประเทศหา Core Competency ที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง, Empower the Core การเผชิญหน้ากับความท้าทาย และความเสี่ยง และ Grow from the Core หรือการใช้สิ่งที่เรามีอยู่ให้เป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือ Competitive Advantage”
คุณปิยะชาติ กล่าวต่อว่า เมื่อตระหนักถึงปัญหา และมีวิธีการรับมือแล้ว สิ่งที่ขาดไปไม่ได้คือการลงมือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง ผ่านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านในหลากหลายมิติ โดยมี 7 การเปลี่ยนผ่าน (7 Transitions) ที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องคำนึง เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ให้ไปถึงในระดับ Global ผ่าน BRANDi Global Outward 2025 โดยมีรายละเอียดในแต่ละมิติ ดังต่อไปนี้
– Geopolitics Transition
การมีความเข้าใจขั้วอำนาจหลักของโลก และพยายามสร้างพันธมิตรหรือสร้างความเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนสู่ยุคไตรโลกาภิวัฒน์ Tri-Globalization โดยมี 3 ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และ สหภาพยุโรป (US/China/EU) การพาตัวเองและ Position ไปอยู่ในจุดที่เหมาะสมกับบริบทของภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อสามารถปกป้องและหาโอกาสในการเติบโตที่ยั่งยืน
– Economic Transition
การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจแบบ High Value Chain Driven ซึ่งพัฒนาการมาจากระบบการผลิตสินค้าหรือบริการตามความพึงพอใจของผู้บริโภคในยุคอดีต สู่การโฟกัสความสามาถในการทำกำไรและขยายการเติบโต แต่จากนี้ไปประเทศต่างๆ จำเป็นต้องใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการค้า เพื่อสร้างความมั่นคงในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อสามารถผลิตได้ในต้นทุนถูกแต่คุณภาพดี
– Societal Transition
All Gens Earner – เมื่อทักษะการทำงานของคนไม่ตรงกับความต้องการของตลาด อาจทำให้ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น เพราะต้องแบกรับกับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ ดังนั้น ประเทศต้องการ New Economic Model ที่ช่วยให้เด็กและผู้สูงอายุได้เรียนรู้ทักษะใหม่เพื่อต่อยอดสู่ความสามารถในการสร้างรายได้
– Technological Transition
การเปลี่ยนผ่านทางด้านเทคโนโลยี มากกว่าแค่นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต (Growth Perspective) หรือการใช้เพื่อเชื่อมโยงและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต (Productivity) แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติมจากนี้และอนาคต ตามการเติบโตของ AI ทที่มาพร้อมกับหลายๆ ความเสี่ยง คือ การเพิ่ม Opportunity Perspective เพื่อนำ AI ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการนำไป Empower คน เพื่อสามารถนำ AI ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสังคม (People) และ สิ่งแวดล้อม (Planet)
– Environmental Transition
การเปลี่ยนผ่านในมิติสิ่งแวดล้อมจากที่โฟกัส Decarbonization เพื่อบรรลุ Net Zero โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายเบื้องต้นที่เป็น High Emissions โดยมีการประเมินเม็ดเงินขับเคลื่อนจนถึงปี 2050 กว่า 13.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือดำเนินการก็ยังไปกระทบและก่อกวนธรรมชาติและระบบนิเวศ ทำให้ต้องหันมาให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย โดยเฉพาะการวางกลไกการตลาดบนพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อโลกหรือ Planet Positive Action ที่เน้นการใช้พลังงานสะอาด หรือความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ กระบวนการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง Green Ocean Strategy ไม่ว่าจะเป็น Green Production/Logistics/Trading/Organization
– Human Capital Transition
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ตอบโจทย์อนาคต ผ่านการมีทักษะความรู้ท้ังแนวกว้างและลึกแบบเดิมๆ ท้ัง I Shape หรือ M Shape อาจไม่พออีกต่อไป ต้องยกระดับมาสู่ Co-pilot Capacity หรือการเสริมสร้างให้เกิดความรวมมือกันระหว่างมนุษย์และ AI (Collaborativeness) เพื่อสร้างเป้าหมายร่วมกัน (Common Goals)
– New World Order Transition
ความร่วมมือในการขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ของภาครัฐและเอกชนต้องมีความเข้มข้นและบูรณาการมากยิ่งขึ้น มากกว่าแค่การเข้ามาร่วมลงทุน หรือกำกับดูแล แต่ต้องมีความเป็น Harmonious Public-Private Partners ภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างแท้จริงระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อที่จะนำจุดแข็งของทุกภาคส่วนมาต่อยอดและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้อย่างแท้จริง
“ท้ายที่สุด “ต้นไม้ไม่สามารถเติบโตได้ในดินที่ไม่ดี” องค์กรก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโต โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมีบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากตลาดโลก ดังนั้น องค์กรไทยต้องค้นหา Global Solutions ที่สามารถปรับใช้ให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นได้ เราต้องตั้งคำถามสำคัญกับตัวเองก่อนว่า “เราเก่งอะไร และควรเดินไปในทิศทางใดเพื่อสร้างความยั่งยืนบนเวทีโลก” โดยต้องคำนึงถึงสมดุลของ คน (People), โลก (Planet) และ ผลกำไร (Profit) เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง” คุณปิยะชาติ กล่าวทิ้งท้าย