แบรนดิ แนะเอกชนขับเคลื่อน Future of Growth ย้ำ ‘แอคชั่น ต้องสร้าง อิมแพ็ค’ เพื่อบรรลุความยั่งยืนได้ตามเป้าหมาย

ปีที่ผ่านมา โลกเผชิญความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งไม่ใช่เพียง​ในมิติของเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงวิกฤตโรคระบาด และวิกฤตสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้เราทุกคนได้ตระหนักว่า อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้

แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้คือ การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต (Future-ready) โดยไม่ได้จำกัดแค่เรื่องของคนทำธุรกิจเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดวิกฤตแล้ว ผลกระทบย่อมส่งถึงทุกภาคส่วน ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการณ์ที่​ต้องเผชิญในอนาคต

คุณปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด ​​สรุปสาระสำคัญจากการ​แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบทบาทของภาคธุรกิจในอนาคต ที่ได้เข้าร่วมเสวนาในเวทีสำคัญระดับโลก เช่น สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ซึ่งเป็นพื้นที่รวมผู้นำและนักคิดจากทั่วโลก รวมถึงเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum) รวมถึงการประชุมสุดยอดแห่งอนาคต (Summit of the Future) ขององค์การสหประชาชาติ โดยได้เน้นย้ำว่า การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือที่แน่นแฟ้นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนที่ต้องมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระดับนโยบาย เพื่อสามารถขับเคลื่อนทั้ง Action และสร้าง Impact ไปได้พร้อมกัน รวมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ควรแยกออกจากการพัฒนาสังคมและการดูแลสิ่งแวดล้อม 

ทั้งนี้ ​ได้รวบรวมข้อคิดสำคัญจากเวทีสำคัญใหญ่ ๆ ระดับในโลกปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ปี 2025 อย่าง Future-ready และร่วมสร้าง Future of Growth ผ่าน 3 ประเด็นหลัก ที่จะช่วยก้าวข้ามความท้าทาย และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน ประกอบด้วย

1. อนาคตเศรษฐกิจ – AMGFC 24, World Economic Forum

จากเวที​ Annual Meeting of the Global Future Councils 2024 (AMGFC 24) ซึ่งรวมตัวผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 คน จาก 30 สภาเฉพาะทาง (Thematic Councils) เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและกำหนดแนวทางการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงระดับโลก ผ่านการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ (Emerging Trends) และสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น (Scenarios) ที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยภาพรวมอนาคต (Future Landscape) จากการประชุมแสดงให้เห็นว่า​ โลกกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ยุคที่ความท้าทายทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด และความจำเป็นในการสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม การเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจดิจิทัล พลังงานสะอาด และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการขับเคลื่อนโลกในอนาคต ระบบเศรษฐกิจจึงต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่โมเดลที่สมดุลยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกมิติของการเติบโต

2.อนาคตคุณภาพชีวิต – UNGA 79, United Nations

การประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 79 (UNGA 79) ​ถือเป็น Milestone สำคัญที่ตอกย้ำบทบาทของแบรนดิในฐานะผู้ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เวทีนี้ได้หยิบยกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ Peace and Security Issues มุ่งเน้นความสำคัญของการควบคุมความขัดแย้งที่เกิดจากภูมิรัฐศาสตร์ ที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของสังคม แต่ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ การปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามโดยไม่สามารถจัดการได้ จะก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงมหาศาล ทั้งในแง่ทรัพยากรที่สูญเสียและโอกาสที่พลาดไป  จึงใช้โอกาสจากเวทีนี้เป็นพื้นที่สำคัญในการเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกรอบการทำงานเพื่อจัดการปัญหาความขัดแย้งอย่างยั่งยืน เน้นสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เนื่องจากการสร้างอนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากปราศจากการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เป็นรากฐานของความไม่มั่นคง

3. อนาคตสิ่งแวดล้อม – COP 29, United Nations Framework Convention on Climate Change

อีกหนึ่งเวทีในการประชุม COP 29 ซึ่งปีนี้มุ่งเน้นไปที่ การสนับสนุนเงินทุนสำหรับการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา โดยหนึ่งในหัวข้อสำคัญของการประชุมคือการหาข้อสรุปสำหรับกระบวนการ NCQG (New Collective Quantified Goal on Climate Finance) เพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ เร่งดำเนินการตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) สำหรับประเทศไทย​มีแผนปรับปรุงเป้าหมาย​ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (NDC: Nationally Determined Contributions) ซึ่งกำหนดจะประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2025 ​​ แผนดังกล่าวไม่เพียงสะท้อน​ความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศระดับโลก แต่ยังเป็นตัวอย่างของความรับผิดชอบ (Accountability) และความโปร่งใส (Transparency) ซึ่งเป็นรากฐานที่ช่วยให้เป้าหมายเชิงนโยบายสามารถแปลงสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สามารถแยกออกจากการเติบโตของสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ขณะที่ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เนื่องจากเหลือเวลาอีกเพียง 5 ปี ในการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบ SDGs 2030 จึงจำเป็นต้องมีการสร้างแรงจูงใจ (Incentivize) เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น​​ พร้อม​นำศักยภาพหรือทรัพยากรทางการเงินที่มีอยู่มาสนับสนุนการพัฒนา ไม่จะว่าจะเป็น​นโยบายที่เอื้ออำนวย การให้สิทธิประโยชน์ หรือการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน และกุญแจสำคัญที่สุดในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้นั้น คือ การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) ที่จะเป็นกลไกในการผลักดันให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเกิดขึ้นจริง และนำไปสู่ Future of Growth ที่ครอบคลุมและยั่งยืนสำหรับทุกคน”​ คุณปิยะชาติ กล่าวทิ้งท้าย 

Stay Connected
Latest News