สิ่งที่เฉินหลงทำในเวลาต่อมาคือ ตั้งเป้า+ลงมือทำเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านสารคดีเรื่อง Jackie Chan’s Green Heroes ลงทุนสร้างกับ National Geographic Partners LLC และ Buick โดยเฉินหลงทำงานร่วมกับ Arthur Huang
ในงานเปิดตัวหนังสารคดีเรื่อง Jackie Chan’s Green Heroes เมื่อ 21 เมษายน ที่ผ่านมาในโรงภาพยนตร์ Palace Cinema ในเมือง Raffles , Changning, Shanghai นั้น เรื่องนี้ได้นำเรื่องราวของผู้บุกเบิกที่มีความยั่งยืนนำเสนอ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และให้ความรู้กับสาธารณชน เป็นเรื่องที่ 2
เป็นเวลานานหลายปี ทีเฉินหลงมีความกังวลมากกับปริมาณขยะประเภท “ขวดน้ำพลาสติก” กว่าหมื่นขวดที่ถูกทิ้งขว้างจากกองภาพยนตร์ของเขา และเขาเองพยายามหาวิธีการเพื่อกู้ขยะเหล่านั้น
แล้วก็ดูเหมือนจะเป็นพรหมลิขิต เพราะเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เฉินหลงได้เห็น Arthur Huang พูดถึง “การปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ในรายการของ National Geographic
OMG !!
ประทับใจเฉินหลงมากมาย ถึงกับถ่ายรูปชื่อของ Huang ที่ปรากฏบนทีวีและติดต่อกันจนได้มาร่วมทำงานจนถึงทุกวันนี้
Arthur Huang วิศวกรโครงสร้างจาก National Geographic Society Emerging Explorers และผู้ก่อตั้ง Miniwiz ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านการนำเทคโนโลยีรีไซเคิลมาผลิตสินค้าจากพลาสติกรีไซเคิล เช่น อุปกรณ์ชาร์จ USB สำหรับผลิต EKOCYCLE ไปจนถึงกล่อง Nike Air Max และร้าน Concept Store ในเซี่ยงไห้ที่ประกอบด้วยโครงสร้างที่ทำมาจากวัสดุเหลือใช้
การที่เฉินหลงได้รู้จักกับ Huang ในฐานะนักออกแบบ วิศวกรและสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้าเทคนิคนั้นมันช่างประจวบเหมาะมาก เพราะก่อนเริ่มหนังสารคดีนั้น เฉินหลงมอบหมายให้ Miniwiz ตกแต่งที่พักของเขาด้วยไอเท็มที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากวัสดุเหลือใช้ เช่น เก้าอี้ Pentatonic ที่ผลิตขึ้นมาจากขวดรีไซเคิลและขยะบรรจุภัณฑ์ รวมไปถึง ระบบผนังบ้านทำมาจากแผ่น CD รีไซเคิล และกระเบื้องทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลอีกด้วย
ในขณะนี้ เฉินหลงปรารถนาที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อแปลงขยะเป็นวัสดุที่มีประโยชน์สามารถใช้ได้ในพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ที่เขาเคยไปถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งความคิดนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ Huang เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน * ซึ่งถูกกระจายออกจากศูนย์กลางสู่ชุมชน และผลิตสินค้าที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง
นอกจากนี้ ความคิดดังกล่าว ยังก่อให้เกิดการพัฒนาเครื่องผลิตไฟฟ้ารีไซเคิลพลังงานแสงอาทิตย์เคลื่อนที่ชิ้นแรกของโลกที่พัฒนาโดย Miniwiz ชื่อว่า TRASHPRESSO ที่สามารถแปลงขวดพลาสติกที่ทิ้งแล้ว เป็นแผ่นกระเบื้องได้
สำหรับหนังสารคดีเรื่อง Jackie Chan’s Green สารคดีเรื่องแรกได้ถ่ายทำไปเมื่อเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ปี 2017 โดย Heroes ทางทีมงาน ประกอบด้วย เฉินหลง , Huang, Buick และ National Geographic ได้นำ TRASHPRESSO ไปยังหมู่บ้าน Zadoi ในเมืองซานเจียงหยวน ที่อยู่สูงขึ้นไปที่ระดับ 4,200 เมตรในมณฑลชิงไห่ บนที่ราบสูงทิเบต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวรวมถึงเขตอุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ 3 สายหลัก ได้แก่ แม่น้ำฮวงโห แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำโขง กำลังประสบปัญหามลภาวะจากขยะ
หลังจากที่เอาชนะความท้าทายด้านเทคนิค จากระดับความสูงและสภาพภูมิอากาศอันหนาวเหน็บแล้ว ทางทีมงานได้ร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่น NGOs และเด็กในชุมชนในการเก็บรวบรวมขยะพลาสติก ซึ่ง TRASHPRESSO จะแปลงขยะเหล่านั้นเป็นแผ่นกระเบื้องที่สามารถนำไปใช้ปูผนังและพื้นบ้านได้
“การรีไซเคิลเกรดอุตสาหกรรมทำได้ในโรงงานผลิตเท่านั้น แต่ TRASHPRESSO สามารถเอาชนะอุปสรรคด้านระยะทางและด้านพลังงานโดยแสดงให้เห็นว่า การสร้างมูลค่าให้เศษวัสดุ หรือ Upcycling นั้นเป็นไปได้ทุกที”
Huang กล่าวเสริมอีกว่า มันไม่ได้แค่แปลงขยะให้เป็นวัสดุที่เป็นประโยชน์ได้เท่านั้น แต่ยังเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลได้อีกด้วย นี่เป็นเพียงก้าวแรกของการทดลองเท่านั้น
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภาพยนตร์สารคดีนี้ จะสร้างการรับรู้และสร้างจิตสำนึกให้กับผู้บริโภคด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสังคมในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น”
เฉินหลงได้กล่าวว่า เขาอยากใช้ชื่อเสียงของเขาในการเป็นกระบอกเสียงให้ทุกคนทราบว่า ทุกคนสามารถเป็น Green Hero ได้ แค่ไม่ทิ้งขยะ
“อย่าทำดีเพียงแค่เมื่อคนอื่นบอกให้ทำ แต่จงทำดีแม้จะเป็นเพียงแค่การเก็บขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ตาม”
เขาหวังที่จะนำ TRASHPRESSO ไปยังกองถ่ายภาพยนตร์ของเขาในอนาคต เพื่อแปลงขยะพลาสติกในชุมชนเป็นวัสดุที่สามารถนำมาสร้างโรงเรียน
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Jackie Chan’s Green Heroes ร่วมด้วย Arthur Huang ออกอากาศทางช่อง National Geographic Channel โดยภาค 2 และ 3 อยู่ระหว่างถ่ายทำ
ที่มา : เรื่อง/ภาพ
เศรษฐกิจหมุนเวียน * รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ดีไซน์เนอร์เพื่อสิ่งแวดล้อม ขยายความถึง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ว่าระบบนี้คือวิธีการเดียวที่จะทำให้รักษาระบบเศรษฐกิจ และทรัพยากรไปด้วยกันต่อได้ จากเดิมในกระบวนการผลิต ทุกบริษัทจะมีของเหลือทิ้ง หรือเศษต่างๆ ซึ่งเกิดภายในโรงงาน และจะวนนำกลับมาใช้ในการผลิตอีกครั้งในโรงงาน ซึ่งถือเป็น Recycle แตกต่างจาก Circular Economy