BRANDi แชร์​ Key Takeaway จากเวที UN General Assembly ฉายทิศทางโลกยุคใหม่ ขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs 2030

สัญญาณจากการประชุม UN General Assembly ​เพื่อขับเคลื่อนโลก​ภายใต้สถานการณ์ที่เปราะบาง และต้องตัดสินใจว่าจะไปข้างหน้าต่ออย่างไรและในทิศทางใด เพื่อสามารถนำพาทั้งโลกบรรลุเป้าหมาย SDGs 2030 ร่วมกัน และ​เป็นประโยชน์ต่อการมองภาพและวางแผนอนาคต ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าว ​ถือเป็นการตัดสินใจบนความไม่ชัดเจนที่ต้องใช้ Leadership และ Commitment มหาศาล

คุณปิยะชาติ ​​อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด และประธาน BRANDi Institute of Systematic Transformation (BiOST) แชร์เรื่องราวเชิงลึกจากบุคคลที่รู้จริง ทำจริง จากเวที UN General Assembly ทั้งประเด็นของ Geopolitics and Economics รวมถึง Society and Technology และ Nature and Environment ซึ่งการแก้ปัญหาในประเด็นต่างๆ ​สอดคล้องกับ Sustainomy หรือระบบเศรษฐกิจใหม่ที่แบรนดิ​มีความเชื่อมั่นและพยายามนำเสนอ พร้อมฝาก Key Takeaway ผ่าน 3 ​มิติ ต่อไปนี้

1. Geopolitics and Economics (ด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจ)

  • โลกในปัจจุบันไม่สามารถแยกอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจได้เด็ดขาดออกจากกันอีกต่อไป ทำให้นักธุรกิจข้ามชาติจำเป็นต้องมีความสามารถควบคู่กันไปทั้งสองด้าน
  • การคว่ำบาตรและนโยบายกีดกันทางภาษีจะยังคงเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้ตอบโจทย์นโยบาย Protectionism มากขึ้น
  • ประเด็นในเรื่อง Green Transition จะเป็นประเด็นที่ยังคงสำคัญอย่างแน่นอน แต่ใครจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานสากลที่ทุกภาคส่วนยอมรับและนำไปใช้
  • แนวคิดเศรษฐกิจใหม่ในปัจจุบันมีจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มักขาด Scale-Ability จึงทำให้เกิด
    Soft-Landing
  • ปัญหาใหญ่ของโลก คือ โครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้น Outdated ไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
    ทำอะไรแทบไม่ได้
  • ปัญหาหนี้จัดเป็นปัญหาที่ใหญ่และรุนแรงที่สุดทั้งในส่วนของ Size และ Impact ซึ่งไม่มีทางหนี มีแค่การ Prolong
  • ทวีปยุโรปยังคงเป็นทวีปที่มีความ Resilience มาก แม้ว่าจะเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตาม เช่น
    สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยุโรปก็สามารถกลับมายืนหยัดได้เสมอ
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ จะมีความสุดขั้วมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าใครจะได้รับตำแหน่งก็ตาม
  • สงครามในหลายภูมิภาคจะยังดำเนินต่อไปแบบไม่หยุดและไม่ขยาย ตราบเท่าที่จะสามารถสร้างข้อต่อรองเชิงเศรษฐกิจได้
  • คนส่วนใหญ่จะพูดถึงจีนและเอเชีย แต่แอฟริกาก็เป็นที่น่าจับตามองเช่นกัน เพราะมีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ
  • การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและสร้าง Ownership ให้กับกลุ่ม เช่น South-South Cooperation จะมีบทบาทสำคัญสำหรับการแข่งขันในอนาคต
  • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) จำเป็นที่จะต้อง ได้การปรับเปลี่ยนแก้ไขโดยด่วน เพื่อให้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง

2. Society and Technology (ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี)

  • ประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ด้วยโครงสร้างที่ต่างไปจากเดิม การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อ Compensate กันจึงจำเป็น
  • ปัญหารากเหง้าของการพัฒนาระยะยาว คือ ประเทศจำนวนมากไม่มีระบบการศึกษาที่ Future-Proof
  • รัฐต้องแบกรับต้นทุนในการดูแลประชาชนที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันมีความสามารถในการหารายได้น้อย (รัฐที่อัตราภาษีสูงอยู่แล้วได้เปรียบ)
  • การเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น AI จะเป็น Next Big Thing แต่ต้องมี Position ที่ชัด เพราะหากไม่ชัด
    จะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่กว่าเดิม
  • เทคโนโลยีในการจับ จัดเก็บ นำไปใช้ Carbon ที่มีประสิทธิภาพจะเป็น Next Billion Dollar Business
  • การพัฒนาในเชิงชุมชนหรือ Ecosystem มีความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอก
  • ผู้คนร่วมมีอาการป่วยจากความเครียดที่มากขึ้น Mental Health จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก
  • Digital Literacy จะกลายเป็นภาษาพื้นฐานที่ปลดล็อคความสามารถในการเรียนรู้
  • ช่องว่างทางสังคมระหว่างคนแต่ละ Generation จะรุนแรงขึ้น ในระดับที่สามารถขยายผลไปเป็นความขัดแย้งได้
  • การขับเคลื่อนแบบพหุภาคีนิยมมีความจำเป็นมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ทุกอย่างช้าลง
  • คนนิยมการทำงานเชิงอิสระมากขึ้น ทำให้ระบบที่เป็น Foundation ของสังคมอ่อนแอลง (เพราะไม่มีใครอยากทำ)
  • Governing Model ในสังคมจะยากขึ้นจนไม่สามารถทำให้มีประสิทธิภาพได้ Alignment ในเชิงคุณค่าและวัฒนธรรมจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
  • ความท้าทายขององค์การสหประชาชาติ คือ จะทำอย่างไรให้ Pact for the Future รวมถึง Global Digital Compact และ Declaration of Future Generation เป็นมากกว่าข้อตกลงบนกระดาษ

3. Nature and Environment (ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

  • Critical Minerals มีบทบาทสำคัญใน Energy Transition เพื่อการดำเนินการอุตสาหกรรมใหม่
  • ธุรกิจพลังงานส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานจะช้าลง ทำให้พลังงานสะอาดไม่ได้
    โตเร็วอย่างที่ควร
  • เงินการกุศล (Philanthropic Capital) จากเอกชนจะมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน เพราะมีความคล่องตัว
  • การโยกย้ายเงินที่ง่ายและยากที่สุดในเวลาเดียวกัน คือ การโยกเงินที่ Subsidy Fossil Fuel
    มาลงใน Low Carbon
  • ต้นทุนความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจะสูงมากในระดับที่สามารถทำให้ธุรกิจล้มละลายได้ หากละเลย
  • ที่ผ่านมา การผลักดันเศรษฐกิจสีเขียวเป็นเรื่องของการขอความร่วมมือ อีกไม่นานจะกลายเป็นกฎหมายทั้งหมด และกลายเป็นมาตรฐานในการแข่งขัน
  • ประเทศพัฒนาแล้วต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประเทศเล็ก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน
  • สิ่งที่เป็นคอขวดใหญ่ของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ การขาดข้อมูลที่ดีพอและการขาดความสามารถในการร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • โรคอุบัติใหม่อันเนื่องมาจาก Biodiversity Loss จะเกิดถี่และรุนแรงมากขึ้น
  • โลกต้องมีโมเดลในการสร้างผลตอบแทนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ชัด เพื่อทำให้เกิด Business Agenda และผลลัพธ์ก็จะตามมา
  • โดยพื้นฐานแล้ว การใช้โลกน้อยลงกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องเดียวกัน
  • การเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นเรื่อง Luxury สำหรับประเทศที่มีความพร้อมเท่านั้น (ซึ่งก็ยังทำได้ยาก)

ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของใจความสำคัญสำหรับโลกที่เรากำลังจะต้องเผชิญหน้าในอนาคต ประเด็นหลักที่ต้องยอมรับกันให้ได้เสียก่อน คือ โลกของเราในอนาคตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การทำเหมือนเดิมไม่ใช่ไม่ดี แต่จะไม่ Relevant ไปเลย เราควรเข้าใจโครงสร้าง และมี Leadership เพียงพอที่จะปรับตัวได้ต่อความท้าทายและไม่ชัดเจนในโลกปัจจุบัน เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของทางออก และเป็นส่วนหนึ่งของ Commitment ในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของเราทุกคนต่อไป

#BRANDi #BRANDiGlobal #GoodtoGREAT #FutureReady #Sustainomy #GlobalEconomy
#UNGA79 #SummitOfTheFuture #ClimateWeekNYC

Stay Connected
Latest News