การที่เราจะบรรลุวัตถุประสงค์ของระบบอาหารที่ยั่งยืนได้นั้น เราต้องการมากกว่ากำลังซื้อของผู้บริโภค เพราะทั้งผู้บริโภคและผู้ค้าปลีก ต่างมีบทบาทในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบอาหารที่ยั่งยืนนี้
จำนวนประชากรโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในภาวะที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด และนั่นเป็นการเพิ่มความกดดันให้ผู้ผลิต ที่ต้องเพิ่มปริมาณอาหารบนพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดเช่นกัน ซึ่งจะต้องพยายามหาราคาที่มีประสิทธิภาพ และซัพพลายเชนที่มีความสามารถในการผลิตอาหาร ให้กับจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น และบ่อยครั้งที่สิ่งแวดล้อมก็มักจะต้องเจอกับภาวะตึงเครียดตามไปด้วย
ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณภาพหน้าดินกว่าพันล้านตัน โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคยุโรป 28 ประเทศถูกทำลายลงทุกๆ ปี ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีคุณภาพ จะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ต่างๆ ถึง 58% นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970
ซัพพลายเชน
มักมีความซับซ้อนในซัพพลายเชนอาหาร โดยที่ผู้บริโภคเองมักได้รับข้อมูลที่สร้างความเข้าใจด้วยภาพการเดินทางของอาหาร พร้อมทำให้เชื่อว่า ธุรกิจแต่ละขั้นตอนนั้นปฏิบัติตามจรรยาบรรณ อีกทั้งทำให้เราต้องเชื่อมั่นซูเปอร์มาเก็ตในการให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่เราเพื่อสร้างตัวเลือกที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค แต่จริงๆ แล้ว ความรับผิดชอบแรกของพวกเขาก็คือ การคืนกำไรให้กับผู้ถือหุ้น
ต้นทุนแฝง
ฉลากอาหาร และรายการส่วนประกอบอาหาร ที่ผู้บริโภคนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้น ยังไม่เพียงพอเท่าไหร่นัก เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อ ที่มักมีราคาต้นทุนแฝงซ่อนอยู่ เพราะเราถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขทางอุตสาหกรรมให้ซื้อสินค้าที่มีฉลาก Red Tractor หรือ สัญลักษณ์ Originally Certified ที่แสดงถึงคุณภาพ แต่กลับไม่มีฉลากบอกว่าปศุสัตว์นั้นถูกเลี้ยงด้วยอะไร
ทั้งนี้ ถั่วเหลืองมักเคยเป็นอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงวัว หมู และไก่อย่างแพร่หลายในอดีต การเลี้ยงสัตว์ด้วยถั่วเหลืองมักจะถูกเชื่อมโยงกับการทำลายป่าในพื้นที่สำคัญๆ ทางระบบนิเวศ ในบางครั้งถั่วเหลืองอาจจะถูกเพาะขึ้นมาอย่างถูกวิธีโดยไม่เบียดเบียนป่าไม้ แต่ด้วยข้อมูลที่น้อย ทำให้ผู้บริโภคมักจะไม่เคยรู้ข้อมูลนี้มาก่อนเลย
ในแผนกผลไม้และผักสด ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าชนิดใดก็ได้ตามความต้องการตลอดทั้งปี แต่ผู้บริโภคมักไม่ได้รับข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่า ประโยชน์ที่เกษตรกรผู้ผลิตอาหารนี้ขึ้นมา มีภาระมากกว่าค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมจากการกินอาหารนอกฤดูกาลหรือไม่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมด้านอาหารที่ไม่สามารถเข้ากันได้กับความยั่งยืน
ระบบที่เปลี่ยนไป
ในหลายกรณีที่ผู้ค้าปลีก มักมีอำนาจในการให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้บริโภคไม่มากนัก และครึ่งหนึ่งของอาหารที่บริโภคในอังกฤษถูกจำแนกเป็น “อาหารแปรรูป” โดยผ่านหลายขั้นตอนจากโรงงาน และใช้ส่วนประกอบทางอุตสาหกรรมที่ไม่มีความสดใหม่
ทั้งนี้ ซัพพลายเชนที่ซับซ้อนนี้ เป็นที่เข้าใจได้ยากสำหรับคนภายนอก กล่าวคือ แม้กระทั่งผู้ค้าปลีกเองก็ไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นใช้ส่วนประกอบอะไร เช่นซูเปอร์มาร์เก็ตในอังกฤษได้สต็อกผลิตภัณฑ์ลาซานญ่าเนื้อ โดยไม่รู้มาก่อนว่ามีส่วนประกอบเป็นเนื้อม้า ถึง 60-100 %
ดังนั้น เราจึงไม่ควรไว้ใจการประชาสัมพันธ์การบริโภคที่ยั่งยืนของผู้ค้าปลีกแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะพวกเขาเป็นปลายทางของระบบอาหารที่มีปัญหาในทุกๆ ขั้นตอนในระบบห่วงโซ่อาหารที่มองเห็นได้
ถึงเวลาที่เราจะต้องเริ่มถกถึงประเด็นปัญหา และนำระบบที่เข้าถึงได้อย่างแพร่หลายมาใช้ ทั้งนี้ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมทางรายได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อตกลงสภาพอากาศปารีส คำแถลงการณ์ด้านป่าไม้นิวยอร์ก เป็นเป้าหมายร่วมกันของสังคมและการพัฒนา
นอกจากนี้ นโยบายการริเริ่มใหม่นี้ เช่น Food 2030 กำลังถูกร่างขึ้นจากแนวคิดเหล่านั้น จากความพยายามในการนิยามบทบาท และความรับผิดชอบโดยรวมของผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภคที่ชัดเจนเพื่อส่งมอบอาหารที่ยั่งยืน
“ข้อตกลง” ด้านอาหาร มีส่วนช่วยให้นโยบายนานาชาติ นโยบายชาติและนโยบายท้องถิ่นมีความสอดคล้องกัน ตัวอย่างเช่น กว่า 100 เมืองที่ได้ลงนามใน Milan Urban Food Policy Pact ขณะที่ นิวยอร์กได้ลงมติยอมรับกฎระเบียบว่าด้วยประโยชน์ต่อผู้ผลิตท้องถิ่น และปารีสได้พัฒนาแผนในการพัฒนาฟาร์มในเมือง 33 เอเคอร์ภายในปี 2020 นอกจากนี้ Inter-Disciplinary Research Activities เป็นกิจกรรมที่นำผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ และผู้บริโภคมาร่วมมือกันในการหาวิธีเชิงปฏิบัติในการแก้ปัญหาสำคัญๆ เช่น การรักษาสุขภาพเม็ดดิน เป็นต้น
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้ถือหุ้นต่างกังวล ซึ่งการมีจิตสำนึกที่ดีของนักลงทุน มีบทบาทสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญตลอดทั้งซัพพลายเชนอาหาร แม้ว่าเราอาจจะต้องระวังเรื่องการฟอกเขียว ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดในการสร้างภาพลักษณ์บริษัทว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งๆ ที่ไม่เป็นจริง
แน่นอนว่า ทั้งผู้บริโภคและผู้ค้าปลีก ต่างมีบทบาทในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบอาหารที่ยั่งยืนนี้ อุปทานมักจะผันแปรตามอุปสงค์ และเราต้องไม่ละเลยความรับผิดชอบของเราเอง แต่เราจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีโครงสร้างที่จะคอยหยุดตัวเลือกอาหาร จากการเป็นกับดักระเบิด
เพียงเท่านี้ที่ผู้บริโภคจะได้รับตัวเลือกที่ตัวเองและโลกควรได้รับ นั่นก็คือศีลธรรมและความยั่งยืน
ที่มา