ออกมาประกาศขับเคลื่อนแผนในการมุ่งสู่ ‘ธนาคารชั้นนำแห่งความยั่งยืน’ (The Leading Sustainable Bank ) ภายใต้เนวคิด Live Sustainably ‘อยู่ อย่าง ยั่งยืน’ พร้อมประกาศ 3 แนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งความยั่งยืนในทุกมิติ
ทั้งในฐานะพันธมิตรผูสนับสนุนลูกค้า การเปลี่ยนผ่านภายในองค์กร และการมีส่วนพัฒนาสังคมขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน โดย Milestones สุดท้ายตาม Journey ที่วางไว้ คือการบรรลุ Net Zero 2050 ตามหลัก SBTi ในฐานะสถาบันการเงินไทยเพียงรายเดียวที่ใช้มาตรฐานนี้ในการชี้วัด พร้อมเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อของธนาคารกว่า 2.3 ล้านล้านบาท ให้กลายเป็นพอร์ตสินเชื่อสีเขียวทั้งหมด
From Brown to Totally Green Portfolio
คุณกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและคาร์บอนต่ำ นำมาซึ่งโอกาสและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ทั้งเม็ดเงินจากทั่วโลก ที่จะไหลมาในช่วงการเปลี่ยนผ่านเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ไม่ต่ำกว่า 39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดย 40% จะเป็นเม็ดเงินที่มาจากภาคการเงินการธนาคาร รวมทั้งยังนำมาสู่การเกิดตำแหน่งงานใหม่ๆ ทั่วโลกจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมอีกกว่า 27 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ประเทศไทยเองก็จะมีเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 5 ล้านล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามเป้าหมายในปี 2030 รวมทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลอีกไม่ต่ำกว่า 5 ล้านล้านบาทเช่นเดียวกัน
ขณะที่ SCB จะขับเคลื่อนผ่านกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch หรือการผสมผสานพลังคนและเทคโนโลยีมาเป็นแกนหลักในการร่วมขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน โดยปักหมุดในการบรรลุเป้าหมายสำคัญคือ การเป็น Net Zero ตามหลัก SBTi (Science Based Target Initiatives) พร้อมเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อที่มีกว่า 2.3 ล้านล้านบาท ไปสู่ Totally Green Loan ภายในปี 2050 โดยวาง Journey ระหว่างทางในการขับเคลื่อน เป็นเป้าหมายระยะสั้น เพื่อการปรับตัวภายในองค์กร ด้วยการลดคาร์บอน (Carbon Reduction) 50% ในปี 2027 และบรรลุ Net zero (Scope 1-2) ภายในปี 2030
ทั้งนี้ SCB ถือเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตาม หลักการทางวิทยาศาสตร์ (SBTi) ซึ่งจะมีการใช้ 2 มาตรวัด ในการตั้งเป้าหมาย ทั้ง SDA (Sectoral Decarbonization Approach) จากการพิจารณาผ่านค่าความเข้มข้นของ GHG Emission ในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า และ ITR (Implied Temperature Rise) จากความมุ่งมั่นในการลด GHG Emission ที่สอดคล้องไปกับเส้นทางที่อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น และยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมอีเควเตอร์ Equator Principles (EP) Association ที่พิจารณาสินเชื่อโครงการของธนาคาร (Project Finance) จากการกำหนดนโยบายและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมให้การสนับสนุนมากกว่าแค่การเงิน แต่มาพร้อมโซลูชั่นที่สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจลูกค้า รวมถึงเป็นที่ปรึกษาและจัดหาพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีอื่นๆ ในอนาคตเพื่อช่วยบริหารการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนระยะยาวให้กับลูกค้าด้วย
“SCB วาง 3 แนวทางในการขับเคลื่อนตาม Journey ทั้งมิติของลูกค้า จากภายในองค์กร รวมทั้งการสนับสนุนภาคสังคม ทั้งบทบาทของ Sustainable Banking ด้วยการเป็นพันธมิตรเพื่อสนับสนุนลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านและบรรลุ Net Zero ที่แต่ละแห่งตั้งเป้าหมายไว้ ด้วยการจัดสรร Sustainable finance โดยเบื้องต้นตั้งงบประมาณสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนไว้ 1.5 แสนล้านบาท สำหรับการขับเคลื่อนช่วง 3 ปีแรก (2023 -2025) โดยสิ้นไตรมาส 2 ปีนี้ สามารถปล่อยสินเชื่อได้แล้วกว่า 1.11 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันจะขับเคลื่อนความเป็น Corporate Practice Excellence เพื่อสร้างวัฒนธรรมภายในเพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน ตามกรอบ ESG และพัฒนา AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานต่างๆ ตอกย้ำความเป็น AI-First Bank มุ่งสู่ Net Zero สโคป 1-2 ภายในปี 2030 และการสร้าง Better Society เพื่อมีส่วนส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคม ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง และได้ร่วมช่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่เยาวชน ชุมชน และสังคมไทย”
Pathway to Net Zero 2050
ด้าน ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงกลยุทธ์เป้าหมาย Net Zero ของธนาคารเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ว่า SCB ตั้งเป้าหมายบรรลุ Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 ตามมาตรฐาน SBTi ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในการขับเคลื่อนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Reduction) ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เพราะขับเคลื่อนบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่ง ได้รับการยอมรับจาก 8,800 องค์กรธุรกิจชั้นนำของโลก ในการใช้กรอบ SBTi เพื่อขับเคลื่อน GHG Reduction ขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 33 องค์กร และ SCB เป็นสถาบันการเงินเพียงแห่งเดียวของไทย ที่ใช้มาตรฐาน SBTi นี้
“ปัจจุบันธนาคารมีภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission) ผ่านการให้สินเชื่อจากฐานปี 2023 รวมทั้งสิ้น 6.7 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ซึ่งการไปสู่ Net Zero และ Totally Green Loan Portfolio ในปี 2050 จะเน้นการลด Emission แบบรายอุตสาหกรรม โดยให้สอดคล้องกับพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดของธนาคาร (Net Zero Financed Portfolio Management) โดยเฉพาะ กลุ่มพลังงาน ซึ่งมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 51% ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร ซึ่ง SCB ยังเป็นผู้นำด้านการปล่อยสินเชื่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของไทยมายาวนาน ด้วยวงเงินอนุมัติสินเชื่อกว่า 1.98 แสนล้านบาท (61% ของพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร) มากว่า 14 ปี (2011 -2023) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ TOP 3 ธนาคารระดับโลก ที่มีสัดส่วน 53% ทำให้ค่า SDA ในพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคารลดลง และอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าทั่วโลกรวมทั้งต่ำกว่าเส้นทางการบรรลุ Net Zero ตาม Paris Agreement ด้วย รวมทั้งในอนาคต จะมีมาตรการลดการให้สินเชื่อใหม่ในกลุ่ม Fossil Base ซึ่งจัดเป็น Brown Loan และเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้กลุ่ม Renewable ทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ รวมทั้งทยอยลดสินเชื่อคงค้าง (Coal Phasing Out) ตามแนวทาง LessBrown จนทั้งพอร์ตกลายเป็นสินเชื่อสีเขียวได้ทั้งหมด”
ขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ได้นำวิธี Implied Temperature Rise (ITR) โดยระดับอุณหภูมิในพอร์ตสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายจะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น (Commitment) ในการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งการขับเคลื่อนจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านได้อย่างมีนัยสำคัญ และเป็นฐานขนาดใหญ่ถึง 84% ของสินเชื่อในกลุ่ม ITR ทั้งหมด (ยอดสินเชื่อทั้งหมด 4.99 แสนล้านบาท) รวมทั้งการสนับสนุนลูกค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินยั่งยืนที่ครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกขนาดในแต่ละอุตสาหกรรมได้ทั้งธุรกิจรายใหญ่, ธุรกิจ SME รวมทั้งกลุ่มลูกค้ารายย่อย พร้อมผลักดัน ‘การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ’ สู่ ‘การยกระดับการเงินที่ยั่งยืน’ เพื่อช่วยลูกค้าลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ และเพื่อผลักดันการสนับสนุนแก่ลูกค้าและสังคมไปสู่เป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักการ Equator Principles (EP) และถือเป็นธนาคารไทยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ริเริ่มการนำหลักการ EP มาเป็นกรอบในการบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันการเงิน ที่นำมาตรฐานสากล Best Practices มาใช้ โดยตั้งแต่ปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ได้ประเมินโครงการตามหลักการ EP รวม 53 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 75,500 ล้านบาท
“ระดับการตั้งเป้าหมายของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่มีความหลากหลาย โดยลูกค้า 77 ราย หรือ 47% ของยอดสินเชื่อ มีการกำหนดและประกาศเป้าหมายที่ครบถ้วน แต่อย่างไรก็ดี ยังมีลูกค้าจำนวน 100 ราย หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อ 35% ที่ยังไม่มีการเก็บข้อมูล GHG และไม่มีการตั้งเป้าหมายแต่อย่างใด ซึ่งทางธนาคาร จะพยายามช่วยทำความเข้าใจ หรือช่วยแก้ไขปัญหาที่ทำให้ภาคธุรกิจยังไม่พร้อมในการเปลี่ยนผ่าน โดยเน้นความเหมะสมกับบริบทของลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้ธุรกิจมีความพร้อมในการตั้งเป้าหมายและเพิ่มยอดการให้สินเชื่อได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันระดับอุณหภูมิในพอร์ตของลูกค้าขนาดใหญ่ได้ปรับลดลงจาก 2.84 องศาเซลเซียส จากปีฐาน 2021 มาอยู่ที่ 2.65 องศาเซลเซียส ในปี 2023 หรือลดลงได้กว่า 0.19 องศาเซลเซียส ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายให้อุณหภูมิพอร์ตสินเชื่อลดลงสู่ระดับ 2.35 องศาเซลเซียส ภายในปี 2028 และ 1.50 องศาเซลเซียสในปี 2040 ซึ่งจะช่วยให้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบรรลุ Net Zero ได้ในปี 2050 ในที่สุด”
คุณกฤษณ์ กล่าวทิ้งท้ายเพิ่มเติมว่า “ความยั่งยืนของไทยพาณิชย์เราเริ่มมาแล้วร้อยกว่าปี และสิ่งที่เราทำในวันนี้ คือการส่งต่ออนาคตที่ยั่งยืนให้กับลูกหลานได้อยู่ต่อไปอีกร้อยปี เพื่อที่จะเดินไปข้างหน้า ผู้คนจะต้องดำเนินชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียม ธุรกิจจะต้องเติบโตต่อไปได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไทยพาณิชย์มุ่งมั่นเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน พร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับพันธมิตรส่งต่อความยั่งยืนให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม ผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและโซลูชั่นทางการเงิน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมได้อยู่ อย่าง ยั่งยืน”