ในยุคดิจิทัลที่คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตบนโลกไซเบอร์ไม่น้อยไปกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ขณะที่ข้อกฎหมาย กฎระเบียบ หรือกติกาบางอย่าง อาจยังไม่สามารถเข้าไปดูแลผู้ใช้งานทุกคนได้อย่างครอบคลุม ผู้ใช้งานเองจึงจำเป็นต้องมีทักษะดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตใน Cyber Space ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
เนื่องจากมีภัยคุกคามต่างๆ แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ หลอกโจรกรรมข้อมูล รวมไปถึงการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งประเมินมูลค่าความเสียหายจากตัวเลขการแจ้งความคดีออนไลน์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเกือบ 7 หมื่นล้านบาท หรือวันละไม่ต่ำกว่า 111 ล้านบาท
พัฒนา Digital Health Check เติม Cyber Wellness
AIS โดย AIS อุ่นใจไซเบอร์ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนความมั่นคงและปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cyber Safety & Security) มาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสร้าง Cyber Wellness หรือการสร้างสุขภาวะที่ดีบนโลกออนไลน์ ซึ่งขับเคลื่อนผ่านทั้งการพัฒนา องค์ความรู้ (Wisdom) เพื่อสร้างวัคซีนให้เป็นภูมิคุ้มกันการใช้งานในโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งการยกระดับด้านเทคโนโลยี เพื่อรับมือกับกลุ่มมิจฉาชีพที่มีการพัฒนาเทคนิคในการหลอกลวงที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้หลอกลวงผู้คนได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
คุณสายชล ทรัพย์มมากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า การขับเคลื่อนของ AIS ในปีนี้ ได้พัฒนา เครื่องมือเช็คภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล (Digital Health Check) เพื่อทราบถึงสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเองอย่างลึกซึ้ง ไม่ต่างกับการไปตรวจสุขภาพ เพื่อสามารถประเมินข้อบกพร่องที่ต้องป้องกันแก้ไข รวมทั้งการรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีและแข็งแรงในระยะยาวได้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการพัฒนาเครื่องมือเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้งานดิจิทัลทุกคนสามารถประเมินทักษะทางดิจิทัลด้วยตัวเองเช่นนี้
สำหรับการพัฒนา Digital Health Check ของ AIS ครั้งนี้ มาจากการต่อยอดอินไซต์จาก ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย (Thailand Cyber Wellness Index 2024 : TCWI2024) แพลตฟอร์มที่ทาง AIS พัฒนาขึ้นในปีที่ผ่านมา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในหลายภาคส่วน เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับวัดความรู้ความเข้าใจทักษะทางดิจิทัล ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย เพื่อประเมินองค์ความรู้ ปัญหาในการใช้งาน รวมทั้งนำไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหา และสร้างสุขภาวะที่ดีในการใช้งาน หรือสร้าง Cyber Wellness ให้สอดคล้องตามดัชนีชี้วัดทักษะทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, การใช้งานดิจิทัล, การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล, การสื่อสารและทำงานร่วมกันทางดิจิทัล, ความรู้เท่าทันดิจิทัล ,การเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล และการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ พร้อมทั้งการประเมินทักษะทางดิจิทัลออกเป็น 3 ระดับ ตามคะแนนตั้งแต่ 0-1 คือ ระดับที่ต้องพัฒนา (Improvement) ระดับพื้นฐาน (Basic) และระดับสูง (Advanced)
ยกระดับ ‘ความปลอดภัยไซเบอร์’ วาระแห่งชาติ
ผลสำรวจ TCWI2024 ครั้งล่าสุดในปีที่ 2 นี้ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำรวจคนไทยมากกว่า 5 หมื่นคน จาก77 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านกลุ่มตัวอย่างทุกเพศ ทุกวัย อายุตั้งแต่ 10 – 60 ปีขึ้นไป ซึ่งพบว่า ระดับสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทยโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพื้นฐาน ด้วยคะแนน 0.68 พร้อมพบ 3 กลุ่มเสี่ยงที่มีคะแนนต่ำกว่าค่ามาตรฐาน คือ กลุ่มเด็ก เยาวชน และวัยเกษียณอายุ 60 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ หากลงลึกแต่ละทักษะจะพบว่าปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นปัจจัยที่คนไทยได้คะแนนต่ำที่สุดมาต่อเนื่องทั้ง 2 ปี คือ 0.47 ในปีก่อนหน้า และ 0.61 ในปีล่าสุด แม้ว่าคะแนนจะปรับเพิ่มขึ้น แต่คนไทยเกินกว่าครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะประเด็นที่อ่อนไหวต่อการนำมาซึ่งภัยไซเบอร์ เช่น ไม่มีความเข้าใจเรื่องแรนซัมแวร์ อันอาจจะทำให้ถูกแฮกข้อมูลได้, การใช้ Wi-fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การตั้งพาสเวิร์ดที่คาดเดาได้ง่าย เช่น วันเดือนปีเกิด หรือ ไม่ทราบว่าลิงก์ URL ที่ปลอดภัยในการเข้าเว็บไซต์ ควรขึ้นต้นด้วย HTPPS เป็นต้น
เป็นเหตุผลให้ AIS ยกระดับการขับเคลื่อนความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ พร้อมประกาศให้เรื่อง ‘ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์’ เป็น ‘วาระแห่งชาติ’ เพื่อเร่งพัฒนาความรู้ความสามารถในการรับมือต่อความเสี่ยง และอันตรายจากการใช้งานในโลกออนไลน์ ทั้งต่อตัวเอง และองค์กร ซึ่งครอบคลุมไปทั้งการดูแลคนในครอบครัวหรือภายในชุมชน เพื่อลดความเสียหายจากภัยไซเบอร์ พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
“AIS มุ่งมั่นสร้าง Cyber Safety & Security ด้วยการพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติของ Wisdom ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ แพลตฟอร์ม TCWI และการพัฒนา Digital Health Check เพื่อให้เติมเต็มทักษะดิจิทัลได้อย่างครอบคลุมทั้งการตรวจวัด ประเมิน และการพัฒนาทักษะ ควบคู่ไปกับฟากของการพัฒนา Technology มาช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ให้ผู้ใช้งาน ทั้งการ พัฒนา AIS Secure Net เพื่อช่วยบล็อกการเข้าถึงลิงก์ที่เข้าข่ายอาชญากร ซึ่งได้ยกระดับการป้องกันมากขึ้นด้วยการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ หรือการร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง Google Family Link เพื่อป้องกันลูกค้าในกลุ่มเยาวชนเข้าถึง Bad Content ต่างๆ อันเป็นสาเหตุในการเกิดภัยไซเบอร์ตามมา รวมทั้งให้การสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือ การสนับสนุนการทำงานของพี่ๆตำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” คุณสายชล กล่าว
ด้าน ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โลกไซเบอร์ที่ดีต้องดูแลให้ผู้ใช้งาน Safe และ Secure เพราะโลกไซเบอร์มีความสลับซับซ้อน การสร้าง Wellness ในโลกไซเบอร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การพัฒนาแพลตฟอร์ม TCWI ของ AIS ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยชี้วัด ประเมินสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทย เพื่อเข้าไปป้องกัน หรือนำมาซึ่งแนวทางแก้ไข การสร้างภูมิคุ้มให้คนไทยอยู่ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย เพราะหากไม่สามารถชี้วัด ก็จะไม่สามารถบริหารจัดการ รวมทั้งไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทางที่ดีขึ้นได้ ดังนั้น ทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์ม TCWI รวมไปถึงการทำงานร่วมกับภาครัฐอย่างบูรณาการ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนนโยบายและดูแลจัดการเกี่ยวกับโลกดิจิทัลของประเทศไทย จะช่วยสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัลที่ดี และทำให้เกิด Cyber Safety & Security ได้อย่างแท้จริง
AIS ยังมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้า AIS สามารถใช้บริการ AIS Secure Net ได้ฟรี เป็นระยะเวลา 12 เดือน เพียงกด *689*6# รวมถึงการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG ชูจุดเด่นปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ในราคาสุดคุ้มเดือนละ 39 บาทเท่านั้น สมัครง่ายๆ เพียงกด *689*10# โทรออก
ผู้ที่สนใจตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th และสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index