“ภายหลังการระบาด COVID-19 แลนด์สเคปและบริบททางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจนถึงขั้นที่เราอาจไม่สามารถมองเห็นแบบแผนในการบริหารธุรกิจได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ดร. ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Dr. Peter Drucker) บิดาแห่งการจัดการสมัยใหม่เคยกล่าวไว้ว่า “เราไม่สามารถบริหารจัดการสิ่งที่เราประเมินค่าไม่ได้” ดังนั้น เพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะต้องรับมือกับอะไร”
คำกล่าวของ คุณอาร์ม – ปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BRANDi and Companies พร้อมเสนอแนวทางการให้ภาคธุรกิจเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต หรือมี Future-ready ให้มากพอ เพื่อรับมือหรือแก้ปัญหาจากแนวคิดในการขับเคลื่อนธุรกิจแบบโลกเก่ากำลังถูกสั่นคลอน
“ที่ผ่านมา ทุกคนมีความเข้าใจร่วมกันว่า ธุรกิจนั้นมีอยู่เพื่อการทำกำไรสูงสุด และเป็นสาเหตุให้คนรุ่นใหม่ต้องการเข้าสู่โลกธุรกิจ ด้วยความเชื่อว่าเป็นหนทางในการนำไปสู่ความสำเร็จ นำไปสู่ความมั่งคั่ง แต่เมื่อสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่สภาพแวดล้อมก็เริ่มแย่ลง คุณภาพชีวิตที่ตกต่ำ สังคมที่ไม่พัฒนา ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลง เมื่อเทียบกับข้อมูลทางสถิติที่แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจที่อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกา จากที่เคยมีอายุขัยเฉลี่ย 75 ปี แต่ปัจจุบัน อายุเฉลี่ยนั้นลดลงเหลือเพียง 15 ปี เป็นอีกหนึ่งเครื่องสะท้อนว่า ธุรกิจในโลกแห่งเศรษฐกิจใหม่จะเข้าสู่ช่วงถดถอยได้เร็วมากยิ่งขึ้น”
คำถามคือ จากธุรกิจที่เคยมุ่งแต่แสวงหาผลกำไร ต้องกลับมาตีโจทย์ให้แตกว่า จะแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อย่างไร เพราะเมื่อสิ่งที่เคยมองว่าไม่ใช่ปัญหาทางธุรกิจ แต่ในที่สุดแล้ว ก็กลับมาส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น องค์กรที่ไม่มี Future-ready หรือไม่มีความพร้อมสำหรับอนาคตมากพอ ก็ยากที่จะรับมือต่อปัญหาลักษณะเช่นนี้ได้ เพราะไม่สามารถมองเห็นความเชื่อมโยง หรือไม่มีความเข้าใจต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันและสิ่งที่กำลังจะตามมาในอนาคต
Purpose Trilemma บาลานซ์ 3Ps สร้างความยั่งยืน
เมื่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่สามารถมองแค่เพียงการสร้างความมั่งคั่ง แต่ต้องหาจุดบาลานซ์ ระหว่าง 3 องค์ประกอบหลัก ทั้งการขับเคลื่อนกำไร การดูแลผู้คนในสังคม รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม (3Ps :Profit, People, Planet) เพื่อสามารถสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนได้ ซึ่งการตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการขับเคลื่อนทั้ง 3 เป้าหมาย ไปให้ได้พร้อมๆ กันนี้ คือการตกอยู่ในภาวะ ‘Trilemma’ ซึ่งในหลายๆ ทฤษฎีมักพูดตรงกันว่า เป็น ‘สามเส้าที่เข้ากันไม่ได้’ เป็นการยากที่จะขับเคลื่อนให้สามารถบรรลุทั้ง 3 เป้าหมายที่ต้องการได้จริง
แต่ในมิติของ การขับเคลื่อนความยั่งยืนที่ต้องบาลานซ์ 3 เป้าประสงค์ที่อยู่กันคนละระนาบ อาจจะเป็นหนึ่งในความหวังที่จะสามารถก้าวข้ามความเชื่อตามกฎ Trilemma ที่ต้องเลือก หรือต้องทิ้งบางเรื่อง มาเป็นการหาแนวทางที่จะสามารถพัฒนาให้ทุกเป้าหมายเติบโตร่วมกันได้ภายใต้บริบทที่เรียกว่า “Purpose Trilemma” (การตัดสินใจว่าจะบาลานซ์ทุก P ใน 3Ps) เพื่อให้ทุกองค์กรสามารถขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนได้ทั้งในมิติของธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป
“การโฟกัสทั้ง 3Ps เป็นงานที่ทำได้ยากและนำไปสู่ความท้าทายในการปฏิบัติ เช่น การทับซ้อนกันของงาน (หลายองค์กรทำเรื่องเดียวกัน) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (การทำงานแข่งกัน) เกิดความสับสนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ใครต้องรับผิดชอบอะไร) และความไม่ชัดเจน (การลงไปแตะ ๆ เรื่องหลายเรื่อง โดยไม่มีเรื่องใดที่ต้องโฟกัส) ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถแก้ไขเลย หากเราไม่ย้อนกลับไปตรวจสอบองค์กร และเริ่มขับเคลื่อนเพื่อให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ หรือ การสร้าง Systematic Transformation ซึ่งจะช่วยให้สามารถเห็นบทบาทและหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ในบริบทใหม่ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อน ‘Purpose Trilemma’ ก่อนจะกำหนด บทบาท และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ รวมทั้งสามารถวัดผลและปรับปรุงเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าได้ ควบคู่ไปกับการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทั้ง 3Ps ที่ต่างก็มีความสำคัญเท่าๆ กัน โดยต้องไม่ลืมจุดอ่อนสำคัญในการขับเคลื่อน คือ การที่ผู้ขับเคลื่อนมักจะเลือกโฟกัสไปที่ P ใด P หนึ่ง มากเกินไป จนทำให้เกิดเป็นองค์ประกอบทางวัฒนธรรม (Cultural Element) ที่ไม่สมดุลขึ้นในที่สุด”
เนื่องจากอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญคือ การที่องค์กรส่วนใหญ่ในโลก มักได้รับการก่อตั้งขึ้นมาเพื่อโฟกัสกับแค่หนึ่ง P จากทั้ง 3Ps เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจที่มักจะมุ่งเน้นเรื่องผลกำไร ภาครัฐก็มุ่งเน้นการดูแลผู้คนและสังคม ขณะที่การดูแลสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ก็มักจะกลายเป็นหน้าที่ขององค์กรไม่แสวงหากำไร หรือกลุ่ม NGO ซึ่งการหาจุดของความสมดุล ภายใต้กรอบที่ต้องให้คุณค่ากับทั้ง 3 เส้าแห่งความยั่งยืนนี้อย่างเท่าเทียมนั้น ก็อาจมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริบทในแต่ละช่วงเวลาด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา แบรนดิ ได้ร่วมขับเคลื่อนกระบวนการในการทำ Systematic Transformation ที่ได้รวบรวมองค์ความรู้จากกงานวิจัยชั้นนำของโลก ร่วมกับประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ มากว่าทศวรรษ เพื่อร่วมทรานส์ฟอร์มการเติบโตที่ยั่งยืนให้องค์กรต่างๆ ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น
การเปลี่ยนแปลงตลาด : การเพิ่มความสามารถในการปรับตัว (Resilience) ให้ภาคธุรกิจในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและตลาด ผ่านการสร้างคุณค่า (Value) ใหม่ เพื่อสร้างตลาดใหม่ และทำให้ธุรกิจมีความแข็งแรงอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ( Case Study : https://bit.ly/3LQZcL2 )
การเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำ : ด้วยมุมมองและวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต มี Future-ready พร้อมที่จะสร้างกฏเกณฑ์ใหม่ๆ และกล้าเป็นผู้นำในการลงมือทำ (Cae Study: https://bit.ly/3SvWdLZ )
การเปลี่ยนแปลงองค์กร : สร้างให้เกิดองค์กรที่แข็งแกร่งในทุกมิติมากกว่าแค่เรื่องเงิน แต่เป็นธุรกิจที่เอื้อให้เกิด Impact หรือสามารถ Diversity ไปสู่ธุรกิจที่มีความสามารถที่หลากหลายและคว้าโอกาสต่างๆ ได้มากขึ้น (Case Study : https://bit.ly/3Ypv1lI )
การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ : เพิ่มมุมมองที่มากกว่าแค่องค์กรตัวเอง และหาโซลูชั่นว่าจะเข้าไปมีส่วนในความสำเร็จของคนอื่นได้อย่างไร เพื่อกระตุ้นให้เกิดโมเดลที่สร้างกำไรร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน (Case Study : https://bit.ly/3WGjehH )
“หนึ่งในแนวคิดที่เชื่อว่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจแห่งอนาคต ทำให้ทั้ง 3Ps ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ คือ กลยุทธ์ Sustainnomy ของแบรนดิ เพราะมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงที่ สามารถสร้างผลกำไร (Profit) ยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมือง (People) และดูแลสิ่งแวดล้อม (Planet) ไปสู่เป้าหมายแห่งความยั่งยืนในโลยุคก New Economy ที่เราทุกคนร่วมกันสร้างและเป็นส่วนหนึ่ใน Solution ของการแก้ปัญหาไปด้วยกัน” คุณปิยะชาติ กล่าวทิ้งท้าย