ในฐานะบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายแรกของไทย ที่ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050 พร้อมมีเป้าหมายระหว่างทางทั้งระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ภายใน SANSIRI Ecosystem ที่มีกว่าปีละ 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq) เพื่อบรรลุเป้าหมายได้ตามที่วางไว้
ทำให้ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานสัมมนา SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM: Change Today, Chance Tomorrow เพื่อร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในระบบนิเวศธุรกิจที่มีกว่า 4 พันราย มาร่วมเปลี่ยนผ่านและสร้าง Green Supply Chain ร่วมกัน เพื่อสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในยุค Green Economy
เร่งขับเคลื่อน Green Supply Chain
คุณอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาโลกเดือดไม่ใช่เรื่องไกลตัว และภาคธุรกิจเป็นหนึ่งในผู้สร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งภาคพลังงาน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่สร้าง Emission ราว 94% และแสนสิริเองมีความเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนในการดำเนินธุรกิจตลอดซัพพลายเชน จึงถือเป็นหน้าที่ของธุรกิจทุกคนที่ต้องมีส่วนเข้ามารับผิดชอบในการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งในมิติของธุรกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG : Environment , Social, Governance ) โดยเป้าหมายไม่ใช่เพียงเพื่อให้ธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยรับมือกับความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมท้ังสามารถขับเคลื่อนธุริกจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
“แสนสิริวางเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก (GHG Reduction) ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว โดยตั้งเป้าหมาย Net zero ในปี 2050 ขณะที่แผนระยะสั้นในปี 2025 ตั้งเป้าลดคาร์บอนลงจากฐาน 20% ซึ่งล่าสุดเมื่อปลายปี 2023 ที่ผ่านมา สามารถลดลงได้แล้วกว่า 15% รวมทั้งแผนระยะกลางในปี 2033 ตั้งเป้าลด Emission 50% ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายไม่สามารถทำคนเดียวได้ เพราะ Emission ที่เกิดขึ้นใน Ecosystem ของแสนสิริ มากกว่า 98% มาจากสโคป 3 หรือมาจากการปลดปล่อยภายในซัพพลายเชนของพาร์ทเนอร์ทุกกลุ่มที่มีกว่า 4 พันราย ทั้งกระบวนการผลิต การก่อสร้าง การขนส่ง การออกแบบดีไซน์ หรือจากการใช้พลังงาน และการเดินทางของลูกบ้าน ที่มีกว่า 1.5 แสนครอบครัว ขณะที่การปลดปล่อยในสโคป 1 และ 2 ที่มาจากการปลดปล่อยโดยตรงขององค์กรมีอยู่แค่กว่า 2% จึงต้องอาศัยความร่วมมือในการเปลี่ยนผ่านและขับเคลื่อนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการลงทุนโครงการใหม่ๆ อีกกว่า 46 โครงการ มูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านบาท ที่ต้ังเป้าจะขับเคลื่อนตามกลยุทธ์ Green Economy เพื่อเป็นบทพิสูจน์ของแสนสิริในการเป็น Green Leadership ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนได้ทั้งระบบนิเวศ”
ทั้งนี้ แสนสิริวางแนวทางเพื่อสร้าง Green Ecosuystem ในทั้ง 3 มิติที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย Green Construction ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนร่วมกับกลุ่มผู้รับเหมา หรือในภาคการก่อสร้าง เพื่อพัฒนานวัตกรรมการก่อสร้างให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเน้นนวัตกรรม Low Carbon ทั้งผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแบบสำเร็จรูป หรือการพัฒนาวัสดุทดแทนผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่างๆ รวมไปถึงการลด Waste ในไซต์งานก่อสร้าง
รวมทั้งด้าน Green Architecture and Design ที่ต้องขับเคลื่อนร่วมกับกลุ่มดีไซน์เนอร์หรือนักออกแบบให้ทั้งดีไซน์และฟังก์ชันตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน โดยเฉพาะการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานต่างๆ และ Green Procurement ในการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุต่างๆ จากทางซัพพลายเออร์ ภายใต้การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็น Low Carbon เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน และหากสามารถเปลี่ยนผ่านได้สำเร็จจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้ทั้งประเทศบรรลุเป้าหมายตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ในเวที COP 26 เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศที่มีสัดส่วนกว่า 5.8% ของ GDP ที่ช่วยสร้างมูลค่าธุรกิจได้ถึงกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหากคำนวณความต่อเนื่องจากตลอดทั้งซัพพลายเชนมูลค่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเลยทีเดียว
ทั้งนี้ แสนสิริ จะเริ่มปรับจากตัวเอง พร้อมส่งต่อประสบการณ์และองค์ความรู้ให้กับพาร์ตเนอร์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และมั่นใจว่า Green Supply Chain ที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ สามารถผลักดันให้เกิดเครือข่ายการทำงานใน Green Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาด Green Economy มากขึ้น และเชื่อว่างาน SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญของแสนสิริในการมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักการของความยั่งยืน และสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
“แม้การขับเคลื่อนโมเดล Green Supply Chain อาจจะทำให้แสนสิริหรือผู้เปลี่ยนผ่านมีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เชื่อว่าในระยะยาวถ้าเกิด Economy of Scale ที่เหมาะสม จะทำให้การดำเนินธุรกิจของทุกภาคส่วนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากข้อกีดกันทางการค้าต่างๆ ในะระยะยาวได้ด้วย และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ และความสามารถทางการแข่งขันให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนไปของโลก การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญมากขึ้น”
ภายในงานยังมีตัวแทนทั้งจากภาครัฐ รวมทั้งพันธมิตรในแต่ละกลุ่ม มาร่วมรับฟังนโยบายและทิศทางสำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนผ่าน โดย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจากฝ่ายภาครัฐ ยังได้ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียด พ.ร.บ.โลกร้อน ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกฏระเบียบที่ส่งผลต่อแลนด์สเคปของธุรกิจ พร้อมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจนำไปประกอบการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมทั้ง Special Talk หัวข้อ “Change Today, Chance Tomorrow” จากภาคส่วนต่างๆ ทั้งการปรับตัวของกลุ่มเอสเอ็มอี รวมทั้งวิธีคิด และ Best Practice จากทั้ง 3 ภาคส่วนใน Gree Ecosystem ของแสนสิริ เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับใช้ของพันธมิตรในแต่ละภาคส่วน