เมื่อเทรนด์ความยั่งยืนกลายเป็น Norm ใหม่ในการทำธุรกิจ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องที่ควรทำ แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ และทุกคนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้ยังคงรักษาความสามารถทางการแข่งขันและยังสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จำเป็นต้องปรับตัวให้เร็ว เพื่อสามารถดึงดูดและสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและสอดรับกับบริบทโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง
ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป (WHA GROUP) ผู้ขับเคลื่อนอยู่ในอุตสาหกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ผ่านการลงทุนใน 4 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มบริการสาธารณูปโภค และดิจิทัลโซลูชั่น เพื่อเติมความ Smart และ Green เพื่อเปลี่ยนผ่านจากผู้ให้บริการด้าน Infrastructure Provider สู่บริษัท Tech Company ภายในสิ้นปีนี้
คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความยั่งยืน หรือการขับเคลื่อนธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม อยู่ใน DNA ของ WHA มาตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งจากการบุกเบิกพลังงานสะอาดมาใช้ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน จนเป็นบริษัทที่สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ตั้งแต่ปี 2021 และตั้งเป้าจะขับเคลื่อนสู่ Net zero ในปี 2050 ด้วยการพัฒนาทั้งนวัตกรรม เทคโนโลยีพลังงานสะอาด การพัฒนาสมาร์ทและกรีนโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกระบบทั้งภายในและให้บริการลูกค้า การจัดการของเสียจากภาคอุตสาหกรม การลดใช้ทรัพยากรใหม่ให้น้อยลงหรือไม่มีการใช้เพิ่มเติมในอนาคต
“การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน หรือ ESG ไม่ใช่ต้นทุน ไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสที่มากขึ้นในอนาคต ซึ่ง WHA Group ได้ลงทุนด้าน Sustainability ในปีนี้ไว้กว่า 25,000 ล้านบาท ทั้งการขับเคลื่อน Circular Economy ในกลุ่ม Utility Power รวมกว่า 8 พันล้านบาท ลงทุนโซลูชั่นเพื่อให้บริการด้านสมาร์ทกรีนโลจิสติกส์ Mobilix สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยราว 5 พันล้านบาท รวมถึงการสร้างอาคารประหยัดพลังงาน ติดตั้งโซลาร์รูฟ โซลาร์โฟลท รวมท้ังการต่อยอดประสิทธิภาพการทำงานภายในนิคมสู่การเป็น SMART ECO Industrial Estates ให้ครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน คือ Smart Services , Smart Mobility, Smart Communication, Smart Power, Smart Security และ Smart Water ซึ่งสะท้อนได้ถึงการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ ลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ลูกค้าของ WHA ได้ด้วย”
เปิดบ้านชูต้นแบบเมืองอุตสาหกรรมสีเขียว
ล่าสุด ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป เปิดต้นแบบขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมสีเขียวครบวงจร โชว์นวัตกรรมการบริหารจัดการคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยพร้อมต่อยอดอุตสาหกรรมสีเขียวระบบกรีนโลจิสติกส์ (Green Logistics) การให้บริการรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่ครอบคลุมทั้งระบบนิเวศรายแรกของไทย การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ (SMART ECO Industrial Estates)
การบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบวงจร ควบคู่ไปกับการรักษาสภาพแวดล้อม ตลอดจนการใช้พลังงานและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคนทั้งชุมชน สังคม และประเทศ
พร้อมเผยนวัตกรรม เทคโนโลยี และระบบโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ และเปิดให้ชม WHA Mega Logistics Center อาคาร B ต้นแบบอาคารสีเขียของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ที่ได้การรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว LEED Gold เวอร์ชั่น 4.1 Building Design and Construction (V4.1 BD+C)
WHA Mega Logistics Center อาคาร B เป็นคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ตั้งอยู่บนถนนเทพารักษ์ กม. 21 จังหวัดสมุทรปราการ การออกแบบและพัฒนาภายใต้หลักการอาคารสีเขียว เพื่อควบคุมตั้งแต่การใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จนถึงการจัดการของเสีย สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน LEED ซึ่งกำหนดโดยสภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council) ครอบคลุมตั้งแต่ด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพของอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้อาคาร ซึ่งถือเป็นการช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมคลังสินค้าของไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
การบริหารจัดการภายใน SMART ECO Industrial Estates และดูแลชุมชนโดยรอบ
นิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ให้ความสําคัญกับการใช้น้ำ อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ ด้วยการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม รวมไปถึงจัดหาแหล่งน้ำสํารอง และดูแลคุณภาพน้ำเสียก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกพื้นที่อุตสาหกรรม ในฐานะผู้ให้บริการและผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรม และผู้ให้บริการบําบัดน้ำเสียครบวงจร
โดยมีการวางแนวทางการบริหารจัดการน้ำทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการในนิคมฯ และเพื่อส่งเสริมทรัพยากรน้ำให้กับชุมชนข้างเคียง ด้วยแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการจัดหาแหล่งน้ำ การผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรม การบําบัดน้ำเสีย และการนําน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การลดการสูญเสียน้ำในระบบผลิตและจ่ายน้ำ
รวมถึงการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้บริหารจัดการน้ำอย่างหลากหลาย ได้แก่ กระบวนการอัลตราฟิลเตรชันและรีเวิร์สออสโมซิส ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง แบบใช้ถังตกตะกอน แบบบึงประดิษฐ์ และแบบบ่อเติมอากาศ ตลอดจนริเริ่มโครงการ Clean Water For Planet เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบบําบัดน้ำเสียให้ชุมชนโดยรอบและบุคคลภายนอก
นับจากโครงการนำน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ที่ริเริ่มในปี 2560 ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) จนถึงปัจจุบัน ระบบของดับบลิวเอชเอมีกำลังในการบำบัดน้ำเสียรวมกันถึงกว่า 36,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมวางเป้าหมายที่ 83,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันในปี 2571 ตลอดจนวางเป้าหมายในการลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติประมาณ 21,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปีในปี 2570
นอกจากนั้น ยังมีโครงการ Demineralized Reclaimed Water ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตน้ำทางเลือก โดยปรับปรุงคุณภาพน้ำจากระบบบําบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาผลิตเป็นน้ำเพื่ออุตสาหกรรมปราศจากแร่ธาตุจําหน่ายให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ
สำหรับไฟฟ้า บริษัทฯ เน้นการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อน รวมถึงลดการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ และตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายรูปแบบ อาทิ Floating Solar โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำของบ่อเก็บน้ำดิบ ภายในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ที่มีขนาดไฟฟ้ารวม 8 เมกะวัตต์ Solar Carpark โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาที่จอดรถขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) มีขนาดไฟฟ้ารวม 7.7เมกะวัตต์ Solar Rooftop โครงการผลิตไฟฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นที่หลังคาโรงงาน ที่ ปริงซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) มีขนาดไฟฟ้ารวม 24.25T เมกะวัตต์ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแผนขยายโครงการพัฒนาพลังงานทดแทนทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรมของ WHA อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
นอกจากนี้ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ยังมุ่งมั่นในการสร้างสังคม ชุมชนและประเทศให้ดียิ่งขึ้น จึงได้ริเริ่มโครงการปันกัน เพื่อช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายของชาวชุมชนในท้องถิ่นภายในพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ผ่านแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ ช่วยอนุรักษ์วิชาชีพ หัตถกรรม งานประดิษฐ์ คหกรรมอาหาร อาหารพื้นบ้าน ของชุมชนท้องถิ่น และยังช่วยประชาสัมพันธ์ให้แก่ชาวชุมชนอีกด้วย
“ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป พิสูจน์ให้เห็นว่า นิคมอุตสาหกรรมสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน ในรูปแบบของเครือข่ายที่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีการดูแลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ด้วยแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การวางนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล การสร้างจิตสำนึกร่วมกันในเรื่องความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยสนับสนุนให้คู่ค้า พันธมิตร และลูกค้าให้ปรับปรุงยกระดับกระบวนการดำเนินการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย จนถึงวันนี้ เราสามารถบรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการสร้างนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการใช้พลังงานหมุนเวียน การบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระบบนิเวศของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ตามหลักการ Circular Economy เพื่อมุ่งสู่การเป็น “The Ultimate Solution for Sustainable Growth” ผ่านพันธกิจ “WHA: We Shape The Future” ที่มุ่งเน้นการสร้างอนาคตให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง” คุณจรีพร กล่าวทิ้งท้าย