รุสซอล (RUSAL) หนึ่งในผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดของโลก ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและเริ่มการทดสอบการใช้งาน แมกซี่โฟลว์ เวอร์ชัน 2.0 (MaxiFlow 2.0) นวัตกรรมนี้จะช่วยให้ลูกค้าของรุสซอลเพิ่มความเร็วในการอัดขึ้นรูปและประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับแมกซี่โฟลว์ 1.0 ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ได้กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของรุสซอล
แมกซี่โฟลว์ 2.0 เป็นโลหะผสมอัดขึ้นรูประหว่างอลูมิเนียม-แมกนีเซียม-ซิลิกอน (Al-Mg-Si System) ที่ผ่านการอัดขึ้นรูปอย่างรวดเร็วด้วยความร้อนสูงในซีรีส์ 6000 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งมอบอลูมิเนียมผสมที่มีคุณภาพที่ดีกว่าแมกซี่โฟลว์ 1.0 ที่ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันวัสดุและเทคโนโลยีน้ำหนักเบา (ILM&T) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรุสซอล ด้วยเทคโนโลยีการรักษาความร้อนแบบพิเศษ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงองค์ประกอบทางเคมีและการบำบัดด้วยการทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ความเร็วในการอัดขึ้นรูปเพิ่มขึ้น 10-15% และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับลูกค้า อีกทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับลูกค้าของรุสซอล
ทั้งนี้ ประเทศรัสเซียเป็นแหล่งอลูมิเนียมดิบที่สำคัญของประเทศไทย โดยในปี 2565 และ 2566 ประเทศไทยนำเข้าอลูมิเนียมจากรัสเซียถึง 6% นวัตกรรมใหม่ดังกล่าวจะเปิดตัวทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพมาสู่อุตสาหกรรมก่อสร้าง ยานยนต์ และพลังงาน
วิกเตอร์ มาน (Victor Mann) ผู้อำนวยการด้านเทคนิคของ รุสซอล กล่าวว่า “รุสซอล ได้เปิดตัว แมกซี่โฟลว์ รุ่นก่อนหน้านี้ในปี 2562 โดย แมกซี่โฟลว์ เป็นแท่งโลหะผสมจากกระบวนการอัดรีดที่เร็วที่สุดพร้อมกับความแข็งแรงที่ตรงตามมาตรฐานสากล เช่น ASTM (สมาคมวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่กำหนดและจัดทำมาตรฐาน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก) และ EN (มาตรฐานยุโรป) และเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์โลหะผสมมาตรฐานซีรีส์ 6000 แมกซี่โฟลว์ ช่วยให้ลูกค้ารุสซอลทั่วโลก เช่น ไต้หวัน รัสเซีย ตุรกี เยอรมนี และอิตาลี สามารถเพิ่มความเร็วการอัดขึ้นรูปได้มากขึ้น 10-25% อีกทั้งสามารถช่วยเร่งกระบวนการผลิตและช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุภายในห่วงโซ่กระบวนการ”
ดิมิทรี เรียบอฟ (Dmitry Ryabov) ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ ILM&T กล่าวว่า “คุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงของ แมกซี่โฟลว์ 2.0 โดยพื้นฐานแล้วเกิดขึ้นได้ผ่านเทคโนโลยีการรักษาความร้อนแบบพิเศษ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงองค์ประกอบทางเคมีและการบำบัดด้วยการทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน การพัฒนา แมกซี่โฟลว์ 2.0 ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี โดยผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและทางอุตสาหกรรมได้ยืนยันประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และการทดสอบทางอุตสาหกรรมจะเสร็จสิ้นภายในช่วงปลายปี 2567 ถือเป็นการเปิดตัวเชิงพาณิชย์”
การใช้แมกซี่โฟลว์ จะทำให้ลูกค้าประหยัดได้ถึง 30 ถึง 70 ยูโรต่อตันของโลหะ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอลูมิเนียมแท่งมาตรฐาน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดของรุสซอลอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) มากกว่า 60% ในช่วงระหว่างปี 2562 ถึง 2566 ในปัจจุบัน การผลิตแมกซี่โฟลว์ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของปริมาณการผลิตอลูมิเนียมแท่งของรุสซอลทั้งหมด โดยยุโรปเป็นภูมิภาคแรกๆ ที่ได้ใช้แมกซี่โฟลว์ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ยิ่งไปกว่านั้น รุสซอล ให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ลูกค้าเมื่อมีการสั่งซื้อแมกซี่โฟลว์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด โดยตั้งแต่ปี 2562 มีการจัดส่งอลูมิเนียมแท่งทรงกระบอกแมกซี่โฟลว์ มากกว่า 500,000 ตันให้กับผู้ผลิตการอัดขึ้นรูปทั่วโลก ตั้งแต่ไต้หวันและรัสเซียไปจนถึงตุรกี เยอรมนี และอิตาลี นอกจากนี้ โลหะผสมแมกซี่โฟลว์ ได้รับการออกแบบมาเพื่ออุตสาหกรรมการใช้งานปลายทางที่หลากหลาย เหนือสิ่งอื่นใด ยังได้รับการปรับปรุงเพื่อประสิทธิภาพการผลิตกรอบประตูและหน้าต่าง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และส่วนประกอบของยานยนต์ อีกทั้งอะลูมิเนียมแท่งแมกซี่โฟลว์ ยังตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น กรอบสำหรับแผงโซลาร์เซลล์และถาดสำหรับแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
อลูมิเนียมแท่งแมกซี่โฟลว์ ผลิตจากอลูมิเนียมแบรนด์อลาว (ALLOW) ซึ่งมีข้อดี คือ ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Footprint) โดยรุสซอล ผ่านการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระในการปล่อยก๊าซคาร์บอนของอะลูมิเนียม ซึ่งเมื่อรวมกับการรับรองด้านความยั่งยืนของบริษัทแล้ว เป็นการรับประกันถึงความโปร่งใสของอุปทานตลอดห่วงโซ่การผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ความมุ่งมั่นของรุสซอลในด้านความยั่งยืน ได้รับการเน้นย้ำจากการจัดอันดับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในระดับสูง ซึ่งรวมถึงการจัดอันดับสภาพภูมิอากาศ A-CDP จากโครงการการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอน (Carbon Disclosure Project) เป็นการตอกย้ำถึงความทุ่มเทของบริษัทต่อเศรษฐกิจสีเขียว