เกศรา มัญชุศรี “SET – To Make the Capital Market Work for Everyone”

พัฒนาการตลาดทุนไทยช่วง 4 ปี สร้างพื้นที่เปิดให้คนจำนวนมากทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยอ้อม หรือบุคคลทั่วไป ได้รู้เรื่องการลงทุน ที่มีความยั่งยืน&นวัตกรรม ของ SET

อาจจะกล่าวได้ว่า ช่วงเวลา 2557-2561 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET มีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เพื่อให้สอดคล้อง เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจทั่วโลก ที่เสมือนการ Disrupt มนุษย์บนโลกใบนี้ทุกเรื่อง มีปัจจัยสำคัญมาก 2 เรื่องคือ

1.เพราะเทคโนโลยีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน และยังไม่รู้ว่าจากนี้ไปจะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างอย่างแท้จริง เพียงแต่เห็นเงาลางๆ

2.เพราะความกังกวลที่มีผลมาจากการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิด Sustainable Development Goals (SDGs)  จะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่กันยายน 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573

“เราคิดว่า เรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องมี เพราะจะต้องหวังว่า จะอยู่ไปเรื่อยๆ แต่ก็มีคำถาม แล้วจะมีความยั่งยืนอย่างไร ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ 2-3 ปีที่ผ่านมา เราพูดถึงความมีคุณภาพดีของสินค้าและบริการที่เรามอบให้ลูกค้าเป็นของดีมีคุณภาพเช็คได้ เหมือนฉลากเบอร์ 5 เราถึงทำ CG 3 ดาว 4 ดาว 5 ดาว เราถึงทำเรื่องของความยั่งยืน เพราะตรงนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนเลือก เราทำที่บริษัทจดทะบียนให้เขาตระหนักว่า สิ่งที่เขาทำดี จะมีผลต่อบริษัท ซึ่งจะสะท้อนไปที่นักลงทุน และในยุคนี้จะต้องอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีของโลก ที่เราให้ความสำคัญมากเช่นกัน…”

เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เล่าถึงเป้าหมาย To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone ซึ่งจะต้องมีเรื่องสร้างรากฐานเพื่อการเติบโตที่มั่นคง,ขยายการเติบโตอย่างมั่นคง, เติบโตอย่างยั่งยืน, ก้าวสู่ดิจิทัล และขับเคลื่อนนวัตกรรม เต็มรูปแบบ

 

-การขับเคลื่อนดิจิทัลและนวัตกรรมเต็มรูปแบบ

จากเดิม SET ใช้ดิจิตอล เพียงควบคุมคุณภาพ เพื่ออยู่ในกระบวนการ แต่นับจากนี้ไปจะใช้ดิจิตอล รวมถึงแมชีน เลิร์นนิ่ง เอไอให้เป็นประโยชน์ ในการที่จะบอกว่า สิ่งต่อไปที่จะมีความยั่งยืนจะต้อครอบคลุมต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งวันนี้หลายประเทศไปสู่ 5.0 เราพูดถึงเรื่องนำเอไอมาใช้ให้ประมวล ให้คิด และให้ตัดสินใจแทนมนุษย์

“Sustainability with Innovation เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป แค่ทำดี รักธรรมชาติ ไม่ใช่แค่นั้นที่จะเกิดความยั่งยืน เพราะดิจิทัล และนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงมาก เราต้องเปลี่ยนให้ทัน เท่าทันกับวิถีที่เปลี่ยนใหม่ เราอาจจะไม่ได้ปรับปรุงการทำงาน เหมือนเมื่อก่อนแล้ว เมื่อก่อนเราพูดถึงระดับ CG มามาก จากเดิมที่ไม่เคยรู้เลย ตอนนี้ได้รู้แล้ว และบริษัทจดทะเบียนเห็นความสำคัญก็เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในกระบวนการทำงานเพื่อความยั่งยืนวันนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ต้องการรู้ว่า บริษัทจดทะเบียนมีนวัตกรรมระดับใด มากน้อยเพียงใด หรืออยู่ในขั้นไหน ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นความพยายามตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะต้องวัดทุกบริษัทจดทะเบียน”

เกศราขายความต่อว่า ขณะนี้ได้ทำเรื่องดังกล่าวกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ และจะเริ่มที่ SET ด้วย เพื่อจะได้ภาพว่า “แนวคิด CEO ในเรื่องอินโนเวชั่นเป็นอย่างไร” เพราะตลท.จะต้องผลักดันด้วย Sustainability Innovation ดังนั้นหากไม่รู้ว่าบริษัทจดทะเบียนซึ่งเสมือนลูกค้ามีอินโนเสวชั่นระดับใด การก้าวไปด้วยกันจะเป็นเรื่องที่ลำบากทีเดียว ซึ่งเรื่องนี้นับเป็น Asset ของประเทศ

เอ็มเอไอเหมือนและต่างจาก SET  จะมีความคล่องตัว มีสมาคมที่เหนี่ยวแน่น ขนาดใกล้คียงกันพูดกันได้ ส่วนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทใหญ่ หลายคนเป็นพนักงานไม่ใช่เจ้าของ เพราะฉะนั้นการดำเนินงานแบบพนักงานและเจ้าของไม่เหมือนกัน จึงต้องเป็นเรื่องสร้างAwarenes ให้กับบอร์ด แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้เปรียบตรงที่มีบุคลากรค่อนข้างมาก สามารถโยกบุคคลากรมาทำเรื่อง อินโนเวชั่นได้อย่างเต็มที่

“ปีนี้เป็นการทำเซอร์เวย์ของทุกบริษัทใน SET, MAI ขึ้นอยู่ว่าบริษัทจะตอบหรือไม่ตอบ เมื่อตอบแล้วเราจะกรองว่าบริษัทไหนท็อปๆ เราจะวิ่งไปคุยในรายละเอียด เพราะเวลาทำงาน เราจะมีเหมือน Lead ที่เราอยากให้บริษัทขึ้นไปได้เร็ว เช่นภายในกี่ปีต้องไปได้เลเวลไหน ซึ่งเรื่องนี้เหมือนเราทำ Segmentation อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีข้อมูลเลยเราจะไม่รู้เลย”

ในส่วนสิ่งแวดล้อมใหม่ SET มองที่โอกาส และการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สร้าง SET LIVE  คือ ระบบเครือข่ายอิเลคทรอนิคส์เพื่อการระดมทุน (Funding Portal) และการซื้อขายหลักทรัพย์ (Electronics Trading Platform) ทำหน้าที่เป็น Market place สำหรับธุรกิจประเภท SME และ Startup ช่วยลดข้อจำกัดในการระดมทุนเพื่อนำเงินทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจ เข้าถึงกลุ่มนักลงทุนที่แสวงหาธุรกิจที่มีนวัตกรรมและการเติบโตสูง อีกทั้งช่วยให้เกิดสภาพคล่องในการลงทุน มีทางเลือกในการบริหารจัดการเงินลงทุน ทำให้เกิดการซื้อขายเปลี่ยนมือสำหรับนักลงทุนได้สะดวก รวดเร็ว ฯลฯ

นับเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องทำ

-การสร้างฐานเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน

“การทำงานตลาดหลักทรัพย์ฯในช่วงเวลาที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนอย่างมาก ถือเป็นจุดเริ่มต้น Toward Sustainable Growth เพราะเราก็คิดว่า การที่บริษัทจดทะเบียนเรา ได้ DJSI มามากเพราะบริษัทจดทะเบียนเอาด้วย และเข้าแข่ง และสิ่งที่ตอบรับกลับมามากกว่าตรงนั้นคือว่าบริษัทจดทะเบียนทำตรงนั้นเต็มที่ เหมือนตลาดหลักทัพย์ทำ ให้ลูกค้าเราดี เมื่อบริษัทจดทะเบียนดีแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนในปท.ทั้งสถาบันและไม่ใช่สถาบันทั้งหลาย อยากจะลงทุนกับบริษัทจดทะเบียนที่ดีๆ นี่คือเสียงตอบรับที่ดีที่สุดที่บริษัทจดทะเบียนต้องการ นั่นหมายถึงว่า นักลงทุนจะเปรียบเทียบเขาด้วยความดี”

เกศรา อธิบายว่า เมื่อ SET ต้องการความยั่งยืน ก็ต้องปรับตัวเองเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้กระทั่งเรื่อง การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“เรื่องนี้เราทำมาก ทั้งอาคารที่ได้รับ LEED การจัดซื้อปี 2561 ตั้งเป้า 55%ของการจัดซื้อที่เฉพาะของที่เป็นกรีนต้องซื้อได้ สิ่งที่มีการเสนอเรื่องกรีนแล้ว ก็จะไปตามนั้น ปีที่แล้วมี 40% แล้วเราก็มีลิสต์รายที่เสนอกรีนโปรดักต์ ต้องบอกว่าเราไม่ไปสุดโต่งว่า ทุกชนิดต้องเป็นกรีน เพราะว่าบางอย่างแพงสุดๆ บางอย่างยังไม่สินค้ากรีนมาก แต่ถ้ามีกรีนเมื่อไหร่ ราคาสมเหตุสมผล เราใส่เข้ามาในลิส์เพื่อที่จะไปกรีน เราคิดแล้วจะแชร์กับบริษัทจดทะเบียน อย่างของบางอย่างที่เราทำอย่างเช่นอาคาร เราต้องมีเรื่องปลอดภัยอาชีวะอนามัย และอื่นๆ เราจะเชิญกรมนี้มาคุยว่าจะทำเป็นอีเลิร์นนิ่งให้ได้ไหม เพื่อเป็นการแชร์ว่า หากจะทำอาคารแบบนี้จะต้องมีเรื่องอะไรบ้าง ราคาของใช้ก็มีเพราะเรามีลิสต์อยู่แล้ว ได้ความรู้จากเอสซีจี และหลายๆ ราย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็แชร์บริษัทจดทะเบียนจะเริ่มแล้ว เพราะเราก็ส่งเสริมได้รางวัลเยอะ มีคนมาดูงานมาก”

เกศรากล่าวในท้ายที่สุดว่า ความท้าทายของ SET  คือ จะเป็นประโยชน์ให้กับคนวงกว้างมากกว่านี้ทั้งภูมิภาครวมถึงก้าวสู่ระดับโลก โดยเฉพาะความสามารถของตลาดหลักทรัพย์อยู่ในระดับผู้นำภูมิภาคอาเซียน โดยใช้เวลาไม่นานนัก ไม่กี่ปีที่ผ่านมา โชคดี พนักงานเราเอื้อ

“ที่ผ่านมาทีมงานเข้มแข็งทำได้ดี โชคดีที่ทีมงานเข้าใจ และทีมงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ทุกคนเป็นเช่นนั้น มองที่ส่วนรวมก่อน และเราไม่อยากเป็นแค่หมู่คน 700 บริษัทจดทะเบียน หรือผู้ลงทุนเฉพาะ 1.5 ล้านบัญชี เราต้องการเผยแพร่ความรู้ให้คนจำนวนมากรู้เรื่องการลงทุน ซึ่งมีมากกว่า Provident Fund หรือลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ อยากเป็นประโยชน์ต่อทุกคน   ”
Stay Connected
Latest News