ปี พ.ศ. 2566 นี้ ‘สตาร์บัคส์’ ผู้นำและผู้บุกเบิกธุรกิจกาแฟคั่วบดและร้านกาแฟระดับโลก ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเข้าสู่ปีที่ 25 แล้ว หลังจากเปิดร้านกาแฟสาขาแรกของประเทศไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2541 ในกรุงเทพมหานคร ที่เซ็นทรัลชิดลม
ซึ่งในปัจจุบันสาขานี้ได้ปิดให้บริการแล้ว ขณะที่สาขาทั้งหมดในประเทศไทย ปัจจุบันมีรวมทั้งสิ้น 464 สาขาทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ พ.ค. 2566) โดยในจำนวนนี้เป็นร้านแบบไดรฟ์-ทรู (Drive-thru) 57 สาขา
ทั้งนี้ สตาร์บัคส์ มุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์จากวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ ผ่านเครื่องดื่มแก้วพิเศษพร้อมด้วยบริการที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกันยังได้ให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด
และนี่คือเรื่องราวบางส่วนในการส่งมอบคุณค่าจากการดำเนินธุรกิจของสตาร์บัคส์ในประเทศไทย เพื่อสร้างทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง Fun Fact จากเชนกาแฟระดับโลกที่บางคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
1. ที่มาของชื่อแบรนด์ Starbucks และชื่อเรียกขนาดเครื่องดื่ม
ชื่อ สตาร์บัคส์ (Starbucks) มาจากนวนิยายเรื่องโมบิดิก (Moby-Dick) หนังสือเล่มโปรดของผู้ก่อตั้งสตาร์บัคส์ทั้ง 3 คน คือ เจอร์รี บัลด์วิน (Jerry Baldwin), เซฟ ซีเกิล (Zev Siegl) และ กอร์ดอน โบว์เกอร์ (Gordon Bowker) และในปี พ.ศ. 2530 ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ (Howard Schultz) อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของสตาร์บัคส์ผู้หลงใหลในวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ ได้เข้ามาซื้อกิจการสตาร์บัคส์ พร้อมตั้งชื่อว่า ‘Starbucks Coffee Company’
และด้วยความหลงใหลในวัฒนธรรมการดื่มกาแฟแบบอิตาลีของคุณฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ จึงได้ใช้ภาษาอิตาเลียนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสตาร์บัคส์ รวมทั้งชื่อเรียกขนาดของเครื่องดื่ม โดยปลายปี 1990 คอกาแฟทั้งหลายเรียกร้องให้สตาร์บัคส์เพิ่มขนาดแก้ว ทำให้มีเครื่องดื่มขนาด Venti ขึ้นมา ปัจจุบันแก้วเครื่องดื่มในร้านสตาร์บัคส์จึงมี 4 ขนาดหลัก ได้แก่ Short ขนาด 8 ออนซ์ เฉพาะเครื่องดื่มร้อน Tall ขนาด 12 ออนซ์, Grande ขนาด 16 ออนซ์ และ Venti ขนาด 20 ออนซ์ แตกแต่างจากการเรียกขนาดเครื่องดื่มของร้านทั่วไป ที่มักจะเรียกง่ายๆ ตามไซส์ว่า S, M, L
2. ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนชาวไร่กาแฟ
สตาร์บัคส์ในประเทศไทย มีการพัฒนารูปแบบ ร้านกาแฟเพื่อชุมชน หรือ Community Store โดยมีสาขาหลังสวน ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Community Store เป็นแห่งแรกในเอเชีย และเปิดดำเนินการเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ซึ่งความพิเศษของร้านกาแฟเพื่อชุมชนนี้ คือการดำเนินธุรกิจภายใต้คำมั่นสัญญาของสตาร์บัคส์ที่ต้องการตอบแทนชุมชน ด้วยการมอบรายได้ 10 บาท จากการจำหน่ายเครื่องดื่มสตาร์บัคส์ทุกแก้ว ให้แก่ชุมชนชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของไทย
นอกจากนี้ ยังมีเมล็ดกาแฟพิเศษอย่าง ม่วนใจ๋ เบลนด์ ที่ผสมผสานเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้าชั้นดีซึ่งปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของไทย และหมู่เกาะอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก ให้รสชาติหนักแน่น นุ่มลึก และกลิ่นไอดินธรรมชาติ ที่มีการรับซื้อมาอย่างเป็นธรรม เพื่อจำหน่ายผ่านสาขาสตาร์บัคส์ พร้อมแบ่งรายได้ 5% จากการจำหน่ายกาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์ เพื่อนำไปช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของไทยให้ดีขึ้นเช่นกัน
3. สร้างคุณค่าเพิ่มให้ กากกาแฟ ลดการสร้าง Waste
สตาร์บัคส์จับมือกับ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์ นักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมชื่อดัง สร้าง “ร้านกาแฟสีเขียว” และยังมี Sonite Innovative Surfaces มาร่วมพัฒนากากกาแฟเหลือใช้ให้เป็นวัสดุและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุจากกากกาแฟที่เรียกว่า Java Core ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ และสามารถนำไปต่อยอดทำเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ภายในร้าน เช่น คาน์เตอร์ โต๊ะกลาง และบาร์สำหรับวางเครื่องปรุง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้โลก ผ่านกิจกรรม #GroundsForYourGarden โดยการมอบกากกาแฟให้ลูกค้าฟรี สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้ โดยลูกค้าสามารถไปรับกากกาแฟจากตะกร้าที่จุดบริการภายในสาขาได้ฟรี หรือสอบถามกับพนักงานของร้านได้ทุกสาขา
4. สร้างประสบการณ์ใหม่สำหรับการดื่มกาแฟอยู่เสมอ
สตาร์บัคส์ มีสาขาขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ที่ร้านสตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม ชั้น 7 โดยมีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 1,260 ตารางเมตร รองรับลูกค้าได้ 350 ที่นั่ง แบ่งเป็นส่วน Indoor และ Outdoor พร้อมมอบประสบการณ์รูปแบบใหม่ คือ เป็นสาขาแรกที่เสิร์ฟเครื่องดื่มจากช็อตกาแฟสตาร์บัคส์ ม่วนใจ๋ เบลนด์ ซึ่งปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของไทย และมี บาร์ ทีวาน่า (Teavana™ Bar) แห่งแรกของไทย สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มองหาประสบการณ์การดื่มชาในคอนเซ็ปต์ใหม่ รวมทั้งขยายฐานผู้ดื่มให้กาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์ อีกด้ว
5. มีเมนูที่ใช้ Plant-based Milk เพื่อเป็นทางเลือกทดแทนนมวัวได้
สำหรับลูกค้าที่ไม่อยากดื่มนมวัว หรือแพ้นมวัว สามารถบอกทางร้านให้ใช้นมทางเลือกในการทำเครื่องดื่มเพื่อทดแทนได้ ทั้งนมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง นมข้าวโอ๊ต นมมะพร้าว รวมถึงวิปครีมข้าว (Rice whipped cream) โดยมีตัวอย่างเครื่องดื่มที่น่าลิ้มลอง เช่น กรีนที ซอย จาวาชิป แฟรบปูชิโน่ วิธ ไรซ์วิปครีม (Green Tea Soy Java Chip Frappuccino® with Rice Whipped Cream) และ ไอซ์ โอ๊ตมิลค์ ซิกเนเจอร์ ช็อกโกแลต วิธ ไรซ์วิปครีม (Iced Oatmilk Signature Chocolate with Rice Whipped Cream) เป็นต้น
6. สตาร์บัคส์ ไม่ได้ขายแค่กาแฟเท่านั้น
นอกจากเมนูยอดนิยมแล้ว สตาร์บัคส์ได้ปรับความชื่นชอบของผู้คนในแต่ละประเทศ เพื่อออกแบบเครื่องดื่มสุดเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะแต่ละประเทศไว้ด้วย โดยประเทศไทยมีเมนูเอ็กซ์คลูซีฟรวม 11 เมนู ทั้งกาแฟ ช็อคโกแลต ชา รวมทั้งยังมีเครื่องดื่มเพื่อความสดชื่น พร้อมด้วยเบเกอรี่อบสดใหม่ที่มีจำหน่ายใน 48 สาขา และบางสาขายังมีเมนูมีซุปและพาสต้า เพื่อเติมพลังในระหว่างวันให้เลือกอร่อยถึง 4 เมนู ได้แก่ 1. Creamy Mushroom Soup 2. Corn Soup 3. Fusilli Bolognese 4. Penne Arrabiata With Smoked Sausage
7. ผ้ากันเปื้อนแต่ละสีมีความหมายต่างกัน
โดย ผ้ากันเปื้อนสีเขียว สำหรับพาร์ทเนอร์ทั่วไป ที่ผ่านการอบรมบาริสต้าตามหลักสูตรของร้านสตาร์บัคส์ ส่วน ผ้ากันเปื้อนสีดำ สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรของร้านสตาร์บัคส์ และมีการสอบวัดระดับในแต่ละขั้น เพื่อเป็นคอฟฟี่มาสเตอร์ (Coffee Master) หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟของสตาร์บัคส์
8. ทำไมพนักงานของสตาร์บัคส์ถึงจำชื่อของลูกค้าได้แม่นยำ
นอกจากจะมุ่งมั่นรังสรรค์เครื่องดื่มทุกแก้วให้สมบูรณ์ อีกสิ่งสำคัญคือการผูกสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึผูกพันและมีประสบการณ์ที่ดีเมื่อมาใช้บริการในสตาร์บัคส์ เพราะความเชื่อว่าแม้ช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถสร้างรอยยิ้ม ให้ลูกค้าได้ ตามแนวคิด “People Business Serving Coffee” ที่เน้นการส่งมอบ “Starbucks Experience” หรือ “ประสบการณ์สตาร์บัคส์” รวมถึงความเป็น Third Place หรือบ้านหลังที่ 3 ซึ่งลูกค้าสามารถมาใช้เวลาพักผ่อน สังสรรค์ หรือทำงานได้อย่างเต็มที่
9. ขนมและอาหารของสตาร์บัคส์ ได้ถูกแบ่งปันให้กับชุมชน
สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (Scholars of Sustenance – SOS) ดำเนินการ ‘โครงการรักษ์อาหาร’ ส่งมอบอาหารส่วนเกินคุณภาพดีให้ผู้ที่ต้องการอย่างเป็นระบบ โดยทาง SOS จะตรวจสอบความสะอาด และความปลอดภัยทางอาหารก่อนนำไปแจกจ่ายให้สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า สถานพักพิง ชุมชนรายได้ต่ำ รวมถึงกลุ่มเปราะบางอื่นๆ ในสังคม นอกจากช่วยลด Food waste ในธุรกิจยังเป็นการส่งต่อคุณค่าให้กับสังคมด้วย