ตลาดเฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก (Green Furniture หรือ Eco-Friendly Furniture) เป็นเทรนด์ของเฟอร์นิเจอร์ ที่กำลังมาแรงและได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
แม้ปัจจุบันตลาดนี้จะมีสัดส่วนเพียง 10.3% ของมูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์รวมทุกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก ที่มีมูลค่ากว่า 4.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่ Research and Markets ระบุว่า ในปี 2570 ตลาดจะขยายมูลค่าแตะระดับ 6.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านบาท ในปี 2570 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7% เพิ่มข้ึนกว่า 1.4 เท่า ในปี 2565
ด้านศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจกรุงไทย คอมพาส (Krungthai Compass) ระบุ 2 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของ Green Furniture ได้แก่
1) พฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากข้ึน
– การสำรวจ Green Home Furnishings Consumer Survey ในปี 2564 ของ Sustainable Furnishings Council พบว่า ผู้บริโภค 87% เต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มข้ึนเพื่อซื้อสินค้าในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, 86% ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ 3 ใน 4 หรือ 39% เต็มใจจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 10% จากราคา สินค้าปกติ
สอดคล้องกับ Statista ที่ระบุว่า ผู้บริโภค 76% ยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดย 60% เต็มใจจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 5-10% จาก ราคาสินค้าปกติ
2) การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอาคารรักษ์โลก (Green Building)
– การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอาคารรักษ์โลก (Green Building) จะส่งผลให้ ความต้องการใช้ Green Furniture ขยายตัวตาม โดยในปี 2565 คาดว่าจะมีจำนวน Green Building ทั่วโลกที่ได้มาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) ทั้งสิ้น 93,000 โครงการ เพิ่มขึ้นกว่า 62% จาก 57,340 โครงการในปี 2560 และมีโอกาสที่จะขึ้นไปแตะระดับ 108,000 โครงการในปี 2567 ตามเทรนด์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากขึ้น
เช่นเดียวกับจำนวน Green Building ในไทยที่ได้มาตรการ LEED ก็คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 132 โครงการ ในปี 2560 ขึ้นมาอยู่ที่ 254 โครงการในปี 2565 ก่อนที่จะขึ้นไปแตะระดับเกิน 300 โครงการได้ในปี 2567
ที่ผ่านมา อุตสาหกรรรมเฟอร์นิเจอร์เป็นหนึ่ง อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนจากกระบวนการผลิต และการกำจัดทิ้งหลังจากไม่ใช้งานแล้วโดยข้อมูลจาก European Environmental Bureau (EEB) ระบุว่า แต่ละปี มีเฟอร์นิเจอร์ในประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป ถูกเผาหรือฝังกลบไม่ต่ากว่า 10 ล้านตัน ขณะที่ My Tool Shed (UK) ระบุว่า เฉลี่ยการผลิตเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศประมาณ 47 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบได้กับการเผาไหม้ของน้ำมัน 20 ลิตร ทำให้เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก หรือ Green Furniture เริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
สำหรับ เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก หรือ Green Furniture คือ เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งการผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ จะให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานหลักๆ ได้ อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังต้องออกแบบให้ดูดีมีสไตล์ และสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์และการใช้งานได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีการเลือกวัสดุและวิธีการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการผลิตต้องใช้สารเคมีน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้าง รวมท้ังการคำรึงถึงวิธีการกำจัดหลังไม่ได้ใช้งานแล้ว ซึ่งอาจนำไปรีไซเคิลต่อได้ รวมทั้งผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายเพื่อส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมให้น้อยที่สุด