แค่รู้สึกว่า ธุรกิจเราไม่ค่อย Healthy ต่อสังคม ย่อมมีผลกระทบถึงธุรกิจเราได้ จะด้วยเวลาที่สั้น,ยาว หรืออาจหมดโอกาสแก้ตัวก็ได้ “ความยั่งยืน” ช่วยไม่ให้เกิด Strategic Risk และ เป็น License to Grow
การไม่ให้ความสำคัญเรื่อง “ความยั่งยืน”เป็นความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk) ที่สำคัญ
ก่อนหน้านี้ ถ้าบอกว่าทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรม โรงงาน อาจจะไม่แปลกใจที่เรื่องความยั่งยืนจะไปเกี่ยวข้องกับ Climate Change
ทว่า ปัจจุบัน สถาบันการเงินก็มีความเกี่ยวข้องกับ Climate Change ด้วย
แปลกไหม!?
“ยกตัวอย่างให้ฟังเรื่องหนึ่ง เป็นธนาคารกลางแท้ๆ ทำไมไปยุ่ง Climate Change ธนาคารกลางอังกฤษ หรือ Bank of England ได้นำปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change มาเป็นตัวหนึ่งในความเสี่ยงที่มีนัยต่อเสถียรภาพระบบการเงิน Climate Change เป็นปัจจัยสำคัญวัดเรื่อง Financial Stability ผมก็สงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร”
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาบรรณาธิการหนังสือ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ธุรกิจไทยบนเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน” ในงานเปิดตัวหนังสือ Thailand’s Sustainable Business Guide : How to Future Proof Your Business in the Name of a Better World ของมูลนิธิมั่นพัฒนา และภาคีหลักจากภาคธุรกิจ
“เนื่องจาก Climate Change มีผลทำให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นถี่ และรุนแรงขึ้นมีนัยต่อบริษัทประกัน และสถาบันการเงิน โดยทศวรรษที่ผ่านมาบริษัทประกันต้องจ่ายค่าสินไหมจากปัญหานี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกือบ 4 เท่าตัว เทียบกับค่าเฉลี่ยเมื่อ 30 ปีที่แล้วนอกจากนี้สถาบันการเงินยังมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้พวก NPLเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเรื่อง Climate Change”
ดร.ประสารกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ธนาคารกลางอังกฤษ ยังระบุว่า การเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และการตัดสินใจของผู้ลงทุนที่ต้องพิจารณานโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาจำนวนมากที่ได้ข้อสรุปที่สอดคล้องกันว่า นักลงทุนให้คุณค่ากับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ “ความยั่งยืน” เพราะการที่บริษัทมีนโยบายเช่นนี้ เสมือนบริษัทเหล่านี้ได้ป้องกันความเสี่ยงสำคัญให้กับธุรกิจแล้วระดับหนึ่ง
“ท่านดู Logic นี้นะครับ ถ้าไม่ทำก็มี Risk ถ้าทำเป็นการจัดการ Risk เพราะฉะนั้นราคาหุ้นของบริษัทกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน จึงเพิ่มขึ้นมากกว่าบริษัทในกลุ่มเดียวกันที่มองข้ามความยั่งยืน”
“เมื่อมองกราฟ 2 เส้นนี้แล้วบอกว่า บริษัทนี้โชคดี มี Investor ใจดีมีเมตตา มีศีลธรรม ยินดีจะให้พรีเมี่ยมกับบริษัทที่คำนึงถึงเรื่องพวกนี้ แต่ไม่ใช่ เพราะเป็นตรรกะเชิงไฟแนนซ์ เป็นตรรกะทางการเงินในระบบทุนนิยมเลย เพราะเขาดูว่าบริษัทที่ไม่ได้คำนึงก็ไม่จัดการ Risk ที่สำคัญ แล้ววันหนึ่งเขาอาจจะประสบปัญหาเหมือนหลายบริษัท แต่อีกบริษัทเขาจัดการ Risk ได้ระดับหนึ่ง”
ดร.ประสาร กล่าวต่อเนื่องว่า เวลาเราพูดเรื่อง Valueation ต่อไปในอนาคต ก็แน่นอนจะพบกับความเสี่ยงที่ไม่แน่นอนหลายรูปแบบ แต่เขาได้บริหารจัดการ ซึ่งเป็นเรื่องที่อธิบายได้ก็ออกมาเป็นผลที่ราคาหุ้น
ดังนั้น ภาคธุรกิจที่มีความรับผิดชอบในอนาคต จะไม่ใช่แค่ธุรกิจที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนให้ดำเนินธุรกิจ หรือ License to Operate แต่ต้องเป็นธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในการดำเนินธุรกิจ จะมาจากกระทรวงพาณิชย์ ก.ล.ต.ส่วน Social License to Operate สะท้อนว่า ได้รับความไว้วางใจจากชุมชน ธุรกิจจึงจะเติบโตอย่างยั่งยืน
ที่สำคัญ “ความยั่งยืน” ไม่ใช่เรื่องที่ทำเพื่อเท่หรือให้ดูดี แต่เป็นเรื่องที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต เช่น การลดของเสีย ย่อมหมายถึงการลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น
ความยั่งยืนจึงเป็น License to Grow แน่นอนว่า หากธุรกิจใดเติบโตโดยเพิ่มภาระหรือเบียดเบียนสังคม ชุมชนรอบข้าง ย่อมไม่มีใครยินดีหรืออนุญาตให้เราเติบโต และ License ที่เคยได้รับ ก็จะ Expire โดยปริยาย
นี่คือสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ของโลก ที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้เท่าทัน !
ข่าวเกี่ยวข้อง