ดังนั้น โครงการ “คนไทยไร้ E-waste” จากจุดเริ่มต้นในปลายปี 2019 – 2022 ที่ได้ร่วมกับพันธมิตรกว่า 142 องค์กรเพื่อรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธีและยั่งยืน ที่ปัจจุบันได้ร่วมกันเก็บ E-Waste ได้แล้วถึง 351,300 ชิ้น ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 3,513,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเทียบเท่าต้นไม้ขนาดใหญ่ 390,333 ต้น พร้อมตั้งเป้าว่า ภายในปี 2023 เราจะนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีให้ได้ถึง 500,000 ชิ้น จึงขอเป็นตัวแทนคนไทยเชิญชวนให้นำ E-Waste ขนาดเล็ก 4 ประเภท ได้แก่ 1.มือถือ/แท็บเล็ต 2.สายชาร์จ 3.หูฟัง 4.แบตเตอรี่มือถือ มาทิ้งได้ที่
– AIS shop และพันธมิตรทั่วประเทศกว่า 142 องค์กร ที่มีจุดรับทิ้งจำนวนกว่า 2,400 จุด
– ฝากทิ้ง E-Waste กับพี่ไปรษณีย์ ที่พร้อมมารับถึงหน้าบ้าน หรือทิ้งได้ที่ไปรษณีย์ไทยสาขาใกล้บ้าน ฟรี
“เพราะ E-Waste คือขยะอันตราย ถ้าทิ้งไม่ถูกที่ และกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ทั้งของเราและบุตรหลานได้ ทั้งนี้การทิ้งให้ถูกที่ และเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี จะทำให้ E-Waste สามารถกลับมาสร้างประโยชน์ หลังผ่านการรีไซเคิลออกมาเป็นวัตถุดิบต่างๆ เช่น เงิน ทอง ทองแดง พลาสติก ตะกั่ว อันจะสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งลดการฝังกลบที่จะเป็นมลพิษต่อโลกในระยะยาวอีกด้วย” นางสายชล กล่าวย้ำ