กระแสตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือ Climate Change และความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโลยี ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนของ Startup ในกลุ่ม Climate Tech โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเกษตรและอาหารเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
โดย Krungthai Compass ระบุว่า ข้อมูลรายงานการลงทุนด้าน AgriFoodTech ประจำปี 2019 ของ AgFunder ชี้ให้เห็นว่า เงินทุนสำหรับ Startup ด้านเทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เพิ่มข้ึนถึง 900% ระหว่างปี 2013 ถึง 2019 โดยเพิ่มข้ึนจาก 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 1.98 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ในแง่ของมูลค่าการลงทุนด้าน Climate Tech เติบโตเพิ่มข้ึนถึงเกือบ 5 เท่า เมื่อ เทียบกับตลาด Venture Capital โดยรวมทั่วโลก หรือจาก 418 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2013 เป็น 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2019 หรือมากกว่า 5.6 แสนล้านบาท (คำนวนอัตราแลกเปลี่ยน 1 US = 35 บาท)
เช่นเดียวกับมิติของจำนวนข้อตกลงที่เติบโตเฉลี่ยต่อปี 35% ซึ่งการลงทุนใน Climate Tech คิดเป็นกว่า 6% ของมูลค่า Venture Capital ท่ัวโลก โดยเฉพาะการลงทุน Climate Tech ในกลุ่มอาหารทางเลือก (Alternative foods) และกลุ่มโปรตีนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Low-GHG proteins) ที่มีสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าเงินลงทุน Venture Capital ในภาคเกษตรโดยรวม ซึ่งเติบโตในอัตราเร่งเพิ่มข้ึนอย่างมาก ต้ังแต่ปี 2017 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังเกิดกระแสยูนิคอร์นล่าสุดอย่าง Impossible Foods และ Beyond Meat
โดยพบว่ายังมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเรื่องสภาพภูมิอากาศ (Climate Tech) ท่ีน่าสนใจ อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในภาคเกษตร (Agricultural Photovoltaics : Agri-PV) เพื่อใช้สำหรับชาร์จไฟฟ้ารถแทรกเตอร์ ระบบห้องเย็นทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากฟอสซิล ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหลายเท่า นอกจากนี้ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ยังช่วยควบคุมปริมาณแสงอาทิตย์ให้พอเหมาะกับพืชอีกด้วย โดย BayWa r.e. และ the German Fraunhofer Institute for Solar Energy Systems ISE (2021) อยู่ระหว่างทดสอบระบบ Agri-PV system ที่สวนแอปเปิลออร์แกนิกส์ในเยอรมนี
การลดการใช้ปุ๋ยด้วย Precision Fertilizer โดยอาศัยหลักการจากภาพโดรน และการวิเคราะห์ขั้นสูง เพื่อช่วยในการควบคุมการปล่อยปุ๋ยหรือไนโตรเจน (Controlled-release Fertilizer) ตามประเภทและความต้องการของพืชในแต่ละขั้นตอนการเจริญเติบโต ซึ่งจะช่วยประหยัดท้ังเงินและการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เกินจำเป็น การใช้เครื่องมือเหล่านี้สามารถเพิ่มผลผลิตจาก 42% เป็น 68% ท้ังยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ท่ัวโลกได้ถึง 300 ล้านเมตริกตันต่อปี (จากการประมาณการโดย Prime’s CRANE) ซึ่งผู้นำในตลาดกลุ่มนี้ อาทิ Farmer’s Edge, CropX และ Ceres Imaging
และอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ Boomitr บริษัท Startup แห่งซิลิคอน วัลเลย์ ได้พัฒนาวิธีการวัดและตรวจสอบระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน โดยใช้เทคโนโลยีระยะไกล (Remote Technology) ควบคู่กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากเดิมที่ต้องเก็บตัวอย่างดินไปตรวจที่ห้องทดลอง ซึ่งเสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่สูง รวมท้ังการเก็บตัวอย่างดิน อาจไม่ครอบคลุมท่ัวถึง และมีต้นทุนค่าตรวจวัดสูง
รวมไปถึง การใช้สาหร่ายสีแดงลดการผลิตก๊าซมีเทนในวัว โดยนักวิทยาศาสตร์จาก Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO) และมหาวิทยาลัย James Cooks ของออสเตรเลียได้ทดลองผสมสาหร่ายมากกว่า 20 ชนิดในกระเพาะวัวจำลอง และค้นพบว่า การใช้สาหร่ายสีแดง (Asparagopsis Taxiformis) เป็นอาหารเสริมให้แก่วัวเนื้อ มีส่วนช่วยลดการผลิตก๊าซมีเทนได้ถึง 80% เนื่องจาก สาหร่ายแดงมีสารประกอบโบรโมฟอร์ม (CHBr3 ) ที่ช่วยยับยั้งกระบวนการผลิตก๊าซมีเทนในจุลลินทรีย์เมทาโนเจน ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสัตว์ ไม่ส่งผลต่อคุณภาพและรสชาติของเน้ือสัตว์ อีกท้ังยังไม่พบสารโบรโมฟอร์มตกค้างในปริมาณที่เกินค่ามาตรฐานอีกด้วย ซึ่งหากกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์นำสาหร่ายนี้ไปให้วัวกินเป็นอาหารเสริม ก็น่าจะช่วยทำให้ทฤษฎี “ตดวัวทำให้โลกร้อน” หรือการทำปศุสัตว์ต่างๆ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้น้อยลงเช่นเดียวกัน