“4 อั่งเปารักษ์โลก” รับทรัพย์ตรุษจีนแนวยั่งยืน ไม่ต้องโค่นต้นไม้อีกต่อไป

เทศกาลตรุษจีนหรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่ชาวจีนจะสืบสานประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปีที่จะต้องทำสิ่งอันเป็นมงคลเพื่อความเจริญรุ่งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษเพื่อขอพรให้เจริญรุ่งเรืองตลอดปีใหม่ การรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวเพื่อความรักสามัคคี

สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลตรุษจีนคือ “แต๊ะเอีย” เป็นธรรมเนียมที่ผู้ใหญ่จะมอบเงินที่ใส่อยู่ใน “อั่งเปา”หรือ “ซองแดง” ให้แก่ลูกหลานแทนการอวยพร เมื่อเด็ก ๆ ได้อั่งเปาแล้วก็ดีใจ หยิบธบัตรออกมาใช้จ่าย ส่วนอังเปาก็โดยทิ้งไปเป็นขยะ

ดังนั้นเราอาจจะไม่รู้ตัวว่าอั่งเปานั้นเป็นหนึ่งในตัวการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างที่คาดไม่ถึง

ตามรายงานของ Greeners Action หรือองค์กรสิ่งแวดล้อมเพื่อการกุศลในฮ่องกง ระบุว่าตั้งแต่ปี 2014 มีการโค่นต้นไม้มากกว่า 16,300 ต้นในแต่ละปีเพื่อนำมาผลิตซองจดหมายสีแดงจำนวน 320 ล้านซองเพื่อใช้ในเทศกาลตรุษจีน และนั่นเป็นเพียงในฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้น ไม่นับรวมจีนแผ่นดินใหญ่เข้าไปด้วย

เว็บไซต์ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร์ระบุว่าจากขยะ 5.8 ล้านตันที่สร้างขึ้นในปี 2020 นั้น 1.1 ล้านตันเป็นขยะของซองอั่งเปา

 

ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น ธนบัตรที่ใส่ในอั่งเปายังต้องเลือกใช้ธนบัตรที่ผลิตใหม่ ซึ่งประมาณการว่าการผลิตธนบัตรใหม่ทุก ๆ ปีในวันตรุษจีนนั้นมีการปล่อยคาร์บอนประมาณ 330 ตันหรือเทียบเท่ากับการปล่อยมลพิษจากการชาร์จสมาร์ทโฟน 5.7 ล้านเครื่องหรือสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องสำหรับผู้พำนักในสิงคโปร์ทุกคนเป็นเวลาห้าวัน

ปัจจุบันนี้ในสังคมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้เริ่มสร้างสรรค์วิธีการมอบอั่งเปาแบบใหม่โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตรุษจีนปีนี้ลองคิดใหม่-ทำใหม่ กับประเพณีการมอบอังเปาแบบรักษ์โลก เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เก็บต้นไม้ไว้ให้สร้างออกซิเจนให้กับโลกนาน ๆ เพื่อไม่ให้โลกร้อน ด้วยวิธีง่าย ๆ

“อังเปาซีไซเคิล” วิธีที่ใช้ได้ผลแบบง่าย ๆ คือการหันมาใช้อังเปารีไซเคิลกันดีกว่า เช่นผู้รับอั่งเปาเมื่อแกะซองนำเงินแต๊ะเอียออกมาใช้แล้วก็ให้นำซองแดงกลับไปคืนผู้ที่มอบให้ หรือการนำซองที่เหลือจากใช้ของปีที่แล้วเก็บกลับมาใช้ใหม่เพื่อจะได้ไม่ต้องซื้อซองแดงใหม่เพิ่มขึ้น

เมื่อปีที่แล้วสถาบันการเงินของสิงคโปรหลายแห่ง อาทิ OCBC และ DBS ได้ทำโครงการรีไซเคิลอังเปาที่เหลือใช้ในแต่ละปี โดยตั้งกล่องรับบริจาคอั่งเปาทื่ใช้แล้วตามสาขาต่าง ๆ โดยให้ลูกค้านำมาหย่อน เพื่อจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไป

“อั่งเปารักษ์โลก” ลองมองหาอั่งเปาที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลหรือ FSC Forest Stewardship (FSC) องค์กรส่งเสริมการทำป่าไม้อย่างยั่งยืนทั่วโลก ช่วยให้มั่นใจว่ากระดาษทั้งหมดมีที่มาในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม

“อั่งเปาดิจิทัล” โลกในศตวรรษที่ 21 โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้ว โดยเฉพาะในช่วงโควิดแพร่ระบาด มนุษย์เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพพริเคชั่นมือถือกันมากขึ้นเพื่อป้องกันการสัมผัสเงินโดยตรง ตรุษจีนปีนี้ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีแต๊ะเอียโดยโอนเงินผ่านมือถือกันดีกว่า แม้ว่าอาจจะไม่ได้อารมณ์ฟินแบบเดิม ๆ ที่ได้จับต้องเงินสด ๆ แต่ถือว่าได้ช่วยโลกทางอ้อมน่าจะฟินกว่า

“อั่งเปาแบบยั่งยืน” เว็บไซต์ left-handesign.com ซึ่งผลิตสินค้าแนว Stationery & Lifestyle brand ของสิงคโปร์ ได้ออกแบบเครื่องเขียนแบบยั่งยืนที่ปลูกได้แห่งแรกของสิงคโปร์ ล่าสุดได้สร้างโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมโดยการออกแบบซองอั่งเปาที่ทำจากกระดาษเมล็ดพืช แทนที่จะใช้ซองจดหมายสีแดงแบบดั้งเดิม ซองอั่งเปาเหล่านี้ถูกแต่งแต้มด้วยดอกไม้สีสันสวยงามบนพื้นหลัง หลังจากที่เจเจ้าของหยิบเงินออกจากซองแล้ว ให้นำซองไปฝังดินและรดน้ำทุกวัน อีกไม่นานซองเหล่านี้จะกลายเป็นมะเขือเทศหรือโหระพา ออกผลผลิตมาให้เจ้าของนำไปประกอบอาหารได้

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ขอให้ผู้ที่ติดตามเว็บไซต์ SDTHAILAND.COM  ทุกคนเฮง ๆ รวย ๆ ตลอดปี 2565

 

Stay Connected
Latest News