“โครงการนี้เราต้องการสร้างสตาร์ทอัพให้ประเทศไทยและให้กับโลก มีธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมและใส่ใจสิ่งแวดล้อม การมี “88 Sandbox” ขึ้นมาจะช่วยเพิ่มกำลังคนที่มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศ….”
นี่คือตอนหนึ่งในคำกล่าวของ รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานเปิดตัวโครงการ“88 SANDBOX The Next Unicorn Platform” หรือศูนย์กลางการเรียนรู้ทักษะผู้ประกอบการแห่งอนาคต ที่เชื่อมโยงผู้คนหลากหลายที่มีเป้าหมายอยากเป็น Startup หรือ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มุ่งเน้นความสำเร็จ เริ่มต้น Hackathon เวทีค้นหาและฝึกฝนม้าป่าที่ไร้จุดหมายให้กลายเป็นUnicornที่แข็งแรงในวงการ Startup
พูดให้ชัดเจนคือ “88 SANDBOX The Next Unicorn Platform” เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่เป็นศูนย์การเรียนรู้เปิดกว้างให้ประชาชนทุกคน เป็นการเรียนรู้ในยุคใหม่ที่ไม่ต้องมีห้องเรียน เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะสร้างStartup ให้ประสบความสำเร็จในเวทีระดับโลก เมื่อมองลึกไปถึงกลุ่มผู้ก่อตั้งแล้วถือว่าเป็น Big Name ในวงการทีเดียว อาทิ รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จิราพร ขาวสวัสดิ์ CEO OR, รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ฉายา “The Godfather of Thai Startup” นอกจากนี้ยังจับมือพันธมิตรภาคธุรกิจอีกมากมาย ทั้ง Corporate Partner และกลุ่ม Venture Capitalist ที่อาสาเป็น “พี่เลี้ยง” Monitor ที่มาจากผู้บริหารหลากหลายอาชีพที่มีประสบการณ์ช่ำชองด้านการทำธุรกิจพร้อมจะมา Workshop ให้ลงมือทำจริง โดยในปี 2565 จะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะ Startup ทีมอย่างเข้มข้น
รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า “88 SANDBOX The Next Unicorn Platform” มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแหล่งบ่มเพาะ startup ที่เปิดกว้างสำหรับคนทุกวัย ทุกไอเดียโดยมองว่าการเรียนการสอนในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน ฝึกให้มีการปฏิบัติงานจริง ลองผิดลองถูกเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และมีอิสระทางความคิด
“โครงการนี้เราต้องการสร้างสตาร์ทอัพให้ประเทศไทยและให้กับโลก มีธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมและใส่ใจสิ่งแวดล้อม การมี “88 Sandbox” ขึ้นมาจะช่วยเพิ่มกำลังคนที่มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศ และช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เพื่อจะค้นพบว่าทุกคนก็เป็นเถ้าแก่ได้ จึงมีห้องปฏิบัติการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะการพัฒนาการโครงการใหม่ๆ ”
ด้าน รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มธ. กล่าวถึงรูปแบบของ 88 Sandbox ว่าเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ ทดลอง พัฒนา เพื่อมอบระบบนิเวศ ต่อยอดไอเดียปั้นสตาร์ทอัพใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มคิกออฟในปี 2565 ซึ่งแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ เริ่มต้นจาก Skill Space คือการยกระดับทักษะผู้ประกอบการผ่าน Learning Platform และ Idea Market โดยเปิดกว้างให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วประเทศที่มีไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ในการประกอบธุรกิจใหม่ๆ มานำเสนอ และเข้าร่วมเพื่อฝึกฝนทักษะที่จำเป็นโดยมีทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ จากนั้นให้จัด Expo Even Startup หรือเวทีสำหรับทดสอบทำกิจกกิจกรรมในรูปแบบนิทรรศการและ showcase จาก startup
สำหรับส่วนที่ 3 Pre-Hackathon เข้าสู่กระบวนการอบรมอย่างเข้มข้น เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าไอเดียที่มีได้รับการเทรนอย่างใกล้ชิดจากพี่เลี้ยง (mentor) ซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์ โดยจะมีการลงมือทำจริง จากนั้นทุกทีมจะต้องเข้าสู่เวทีการแข่งขันที่เรียกว่า Hackathon ซึ่งเป็น Final Pitching โดยมีนักลงทุน CEO สตาร์ทอัพ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจต่างๆ เข้าร่วม และเป้าหมายสูงสุดของโครงการคือการสร้าง Unicorn เพื่อส่งให้ startup เติบโตและก้าวสู่วงการธุรกิจอย่างเต็มตัว
ด้าน เรืองโรจน์ พูนผล หรือ “กระทิง” เจ้าของฉายา “The Godfather of Thai Startup ได้รับเชิญให้มาเป็นหนึ่งในทีมพี่เลี้ยงของ “88 SANDBOX” ประเมินถึงโอกาสที่สตาร์ทอัพสัญชาติไทยจะพัฒนาไปสู่ระดับยูนิคอร์น มูลค่าธุรกิจ 1,000 ล้านดอลลาร์ ว่า อีก 10 ปีต่อจากนี้ถือว่าเป็น “ยุคทอง” ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปีหน้าประเทศไทยอาจมียูนิคอร์นเพิ่มขึ้นอีก 1-2 บริษัท
หนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญคือตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่ง พรรฤดี ลัดดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯได้กล่าวถึงความร่วมมือว่า “ กลต.มีการพัฒนาเรื่องการเงิน การออม การลงทุนมากว่า 10 ปีที่มีเนื้อหาผ่านทาง E learning ซึ่งน่าจะมากที่สุดในขณะนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ Life Long Learning ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของทุกคนที่จะต้องเรียนรู้เรื่องนี้ Platform นี้เป็นช่องทางที่ดี ในการเผยแพร่องค์ความรู้นั้นออกไปในอนาคต ”
จิราพร ขาวสวัสดิ์ CEO แห่ง OR ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก อาสามาเป็นหนึ่งในพันธมิตรของแพลตฟอร์มนี้ กล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของ OR ไม่ใช่ให้แค่เงินทุน แต่เราให้โอกาสทำธุรกิจที่คาดว่าจะสามารถ Implement ได้ เราให้พื้นที่ ๆ ของเรามีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศในอีก 10 ประเทศ และ 10 ประเทศ เราต้องการที่จะทำให้ทั้ง 3 มุมของประเทศไทยดีขึ้น ในบริษัทฯ เราจึงวัด KPI แล้วว่า Three Bottom Line คือ People, Planet และ Profit ซึ่งหมายถึงการนำกำไรมาสู่ชุมชนการร่วมมือกันกับ Startup จึงมีความสำคัญมาก ”
ที่ผ่านมา Startup ไทยไม่ได้ต่างจาก Startup ประเทศอื่น โดยเฉพาะเอเซียใต้ แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีแต่ Startup แต่ไม่มี Unicorn ที่มากพอที่จะประจักษ์ได้ เพราะขาด Eco system หรือระบบนิเวศน์ที่จะสามารถเปลี่ยนม้าป่าให้กลายเป็น Unicorn และที่สำคัญตามที่ รศ.เกศินี วิฑูรชาติ ได้เน้นย้ำว่า88 SANDBOX ต้องการสร้าง startup สายพันธุ์ใหม่ที่นอกจากจะใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ แล้วยังต้อคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ในโอกาสที่เปิดตัวแพลตฟอร์ม จึงได้นำเสนอผลงานของ 3 Startup Team สัญชาติไทยรุ่นใหม่ที่มากับนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ที่ยึดแนวทางความยั่งยืนด้วย
กลุ่มPlanter เป็นนักศึกษารุ่นใหม่ที่พร้อมจะเริ่มต้นการทำธุรกจิ startup กับแนวคิดสร้างเกมจำลองปลูกต้นไม้ ที่นำเสนอโซลูชั่นการสอนและแนะนำวิธีการปลูกต้นไม้ที่ถูกต้องผ่านการเล่นเกม นอกจากจะได้ความสนุกสนานจากการแข่งขันในเกมแล้ว ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เล่นเกิดความรักต้นไม้และพร้อมจะต่อยอดจากเกมเพื่อไปสู่การปลูกต้นไม้จริง เสริมสร้างอากาศบริสุทธิ์ และสร้างความยั่งยืนให้กับโลก
อีกกลุ่มคือพลังผู้หญิงที่ทำสินค้าสำหรับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ Kimochi คือผ้าอนามัยในแนวคิดใหม่ที่นอกจากจะออกแบบมาเพื่อการใช้ที่นุมกระชับแล้วยังคำนึงถึงการจัดเก็บหลังใช้เพื่อสุขอนามัยและความสะอาด นอกจากนี้ยังปัญหาของผ้าอนามัยใช้แล้วกลายเป็ขยะถึงปีละ 1,680 ชิ้น ดังนั้น Kimoji จึงใช้นวัตกรรมที่นำวัสดุธรรมดาชาติที่เป็ฯมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
Carter เป็นกลุ่มของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เสนอแพลตฟอร์ม ระบบบริการทางการเงินสำหรับพ่อค้าแม่ค้าประเภทรถเข็นริมทาง เพื่อสุขภาพเงินที่ดีกว่า และสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นสังคม
ธเนศ จิระเสวกดิลก Co Founder Divana & Dii Wellness หนึ่งในผู้ก่อตั้ง 88 SANDBOX กล่าวถึงความมั่นใจ
โครงการว่า “จากสถิติประเทศไทยมี Startup ที่ประสบความสำเร็จเพียง 1 % แต่โครงการนี้จะทำให้ความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่า เพราะเราทำการเรียนรู้ที่ถูกต้อง เป็นระบบมี Passion ของคนที่ประสบความสำเร็จ มีเงินสนับสนุน และมี Idol Model เรามองว่าสิ่งที่เด็กรุ่นใหม่จะได้รับจากโครงการนี้คือแหล่งบ่มเพาะที่ดี ทุกคนคือเพื่อนที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์และไอเดีย รวมถึงสร้าง Unicorn ตัวใหม่ให้อนาคต”
ปิดท้ายที่พัฒนพงศ์ รามุรักษ์ ดิลก Co Founder Divana & Dii Wellness หนึ่งในผู้ก่อตั้ง 88 SANDBOX กล่าวเชิญชวนว่า
“88 SANDBOX เป็นพื้นที่ที่ใคร ๆ ก็เข้ามาร่วมได้แม้จะไม่ใช่คนธรรมศาสตร์ เพราะที่นี่คือพื้นที่ของประชาชนที่ทุกคนเข้ามาเรียนรู้เป็น Life Long Learn ของทุกคน เป็นแพลตฟอร์มที่ยกมาตรฐานการเป็นอยู่ และสังคมให้ดีขึ้น ที่สำคัญคือเป็นสนามที่ให้ทุกคนมาเจอกันแบบ Comminity ”