เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวทาง “เพิ่มคุณค่าชีวิต” (Enriching Life) ทำให้ตลอด 35 ปีที่ผ่านมา บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด มุ่งมั่นพัฒนาให้ Stakeholders ทุกภาคส่วนตลอดทั้งซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ผู้ประกอบการ พันธมิตรทางธุรกิจ ชุมชนโดยรอบโรงงาน พนักงานทุกส่วนงาน ไปจนถึงลูกค้าและผู้บริโภค ภายใต้การวางกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์การสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนได้อย่างรอบด้าน และครบทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะในส่วนของต้นน้ำ ซึ่งถือเป็นต้นทางสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจ จึงต้องสามารถรักษาไว้ได้ทั้งคุณภาพระดับ Gold Standard รวมทั้งในด้านปริมาณน้ำนมดิบให้มีมากพอที่จะรองรับการเติบโตของธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณนำ้นมดิบที่ ซีพี-เมจิ ใช้ในแต่ละวันนั้นไม่ต่ำกว่า 600 ตัน สำหรับรองรับการทำตลาดผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มนมพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหลักถึงกว่า 80% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของซีพี – เมจิ
ทีมต้นน้ำ ดูแลคุณภาพ ‘นำ้นมดิบ’ ใกล้ชิด
แม้จะเป็นปลายทางที่ทำหน้าที่รับน้ำนมดิบมาผลิต แต่เพื่อสามารถควบคุมคุณภาพได้ตลอดกระบวนการผลิต และสร้างความเชื่อมั่นสูงสุดให้แก่แบรนด์ ทำให้ซีพี-เมจิ ให้ความสำคัญต่อเรื่องของ Supply Chain Management ด้วยการเข้าไปมีส่วนพัฒนา และส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมอย่างยั่งยืน โดยได้มีการจัดตั้ง ‘ฝ่ายบริหารจัดการน้ำนมดิบ’ หรือ Raw Milk Management Team (RMM) ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรต้นน้ำอย่างใกล้ชิด ทั้งการสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อดูแลทั้งการเลี้ยง การบริหารจัดการฟาร์ม การยกระดับมาตรฐานการผลิต ภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP : Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ครอบคลุมทั้งเรื่องของการจัดการฟาร์ม บุคลากร สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม และการบันทึกข้อมูลต่างๆ เพื่อสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดทั้งกระบวนการ
อีกหนึ่งความท้าทาย ของการรักษาความยั่งยืนของต้นน้ำในธุรกิจฟาร์มโคนม ยังมีปัญหาเรื่องจำนวนเกษตรกรในอุตสาหกรรมที่เริ่มลดน้อยลง เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนทยอยเลิกกิจการไป และไม่มีผู้มาสานต่อธุรกิจทั้งจากความยากลำบากในการบริหารกิจการ รวมท้ังต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ทำให้ทีมส่งเสริมและส่วนงาน RMM ต้องพยายามเข้ามาสร้างแรงจูงใจเพื่อให้กลุ่มเกษตรยังดำเนินกิจการต่อ ทั้งการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ รวมทั้งการเพิ่มยีลด์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ปริมาณน้ำนมดิบของวัวแต่ละตัวได้มากขึ้น รวมทั้งการสร้างความมั่นใจเรื่องของการตลาด ด้วยเข้ามารับประกันการรับซื้อน้ำนมทั้งหมดด้วยราคารับซื้อที่สูงกว่าราคาตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจต่อกลุ่มเกษตรกรว่าจะสามารถขายน้ำนมดิบได้ทุกหยด และเชื่อว่าอาชีพเกษตรกรโคนมจะเป็นอาชีพที่สามารถมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรได้อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกัน ยังมีความช่วยเหลือจากกลุ่มสหกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายที่เข้ามารับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในเครือข่าย ด้วยการสนับสนุนทางการเงิน สำหรับนำไปขยายฟาร์มหรือเพื่อลงทุนด้านต่างๆ ภายในฟาร์ม ด้วยอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำอีกด้วย
คุณอาทิตย์ นุกูลกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการน้ำนมดิบ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรโคนมต้องแบกรับต้นทุนสูงทำให้เผชิญภาวะขาดทุนและเลิกกิจการไป ทำให้ปริมาณน้ำนมดิบในประเทศปรับลดลง ขณะที่ ซีพี-เมจิ ได้เข้าไปช่วยเหลือทั้งการช่วยพัฒนาสูตรอาหารซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาวิจัยและการพัฒนาร่วมกัน เพื่อมีส่วนทั้งการช่วยลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ ขณะเดียวกัน ยังสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้มากขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เพราะมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน โดยปัจจุบันซีพี-เมจิ รับซื้อน้ำนมดิบจากแหล่งวัตถุดิบทั้งที่เป็น Exclusive Source ได้แก่ ฟาร์มของกลุ่มซีพีเอฟ และสหกรณ์ที่มีการเซ็นสัญญาจำหน่ายให้ซีพี-เมจิ เพียงรายเดียว รวมทั้งในกลุ่มที่เป็น Sharing Source สำหรับผู้ผลิตหรือเกษตรกรที่มีการจำหน่ายน้ำนมดิบให้กับรายอื่นๆ ด้วย
“จากการพัฒนาร่วมกัน ทำให้สามารถเพิ่มยีลด์ในฟาร์ม โดยได้น้ำนมดิบมาตรฐานราวตัวละ 12-15 กิโลกรัม รวมท้ังการเพิ่มเครือข่าย ทั้งจากฟาร์ม ศูนย์รับนม และฟาร์มต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรเพื่อบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 65 ฟาร์ม โดยมีปริมาณการรับน้ำนมดิบได้กว่า 600 ตันต่อวัน จากศูนย์รับนม 50 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งยังให้ความสำคัญในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างยั่งยืน ตามหลักการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) อย่างยั่งยืนควบคู่ไปด้วยโดยเริ่มนำร่องในกลุ่มฟาร์มต้นแบบ รวมไปถึงการนำร่องพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตจากฟาร์มโคนม ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อวางกรอบการดำเนินงานทั้งในเรื่องของการสื่อสาร การทำความเข้าใจขั้นตอนการขับเคลื่อน การหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกระบวนการในการวัดการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ที่เกิดขึ้นภายในฟาร์ม เป็นต้น”
วางกรอบขับเคลื่อน ‘ยั่งยืน’ ตลอดห่วงโซ่
คุณชาลินี พูนลาภมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และความยั่งยืน บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า ซีพี-เมจิ มีนโยบายที่จะมุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นตลอดทั้ง Value Chain สอดคล้องตามเจตนารมณ์ ‘เพิ่มคุณค่าชีวิต’ หรือ ‘Enriching Life’ เพื่อสามารถตอบโจทย์ใน 3 มิติ ทั้งการเพิ่มคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (Business) การเพิ่มคุณค่าให้สังคม (People) และการเพิ่มคุณค่าให้สิ่งแวดล้อม (Planet) โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนแต่ละมิติ ต่อไปนี้
ด้านเศรษฐกิจ : วางเป้าหมาย “เพิ่มคุณค่าและสร้างการเติบโต” ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ในส่วนของต้นน้ำผ่านการบริหารจัดการน้ำนมดิบและสวัสดิภาพสัตว์ โดยมีเป้าหมายให้ฟาร์มโคนมทั้ง 100% ต้องผ่านมาตรฐานคุณภาพระดับ Gold Standard ตามมาตรฐาน Safety ,Quality ที่ต้องปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ หรือสารปนเปื้อนต่างๆ รวมทั้งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ขณะที่ในส่วนของกลางน้ำอย่างกลุ่มผู้ประกอบการ หรือพันธมิตรธุรกิจ ได้ทำทั้งในมิติของการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ และตอบโจทย์การใช้งานของผู้ประกอบมากขึ้น เช่น ในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจร้านกาแฟ ที่มีการพัฒนาสูตรนมสำหรับผสมกาแฟ เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งานได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์เพื่อเอื้อต่อการเติบโตให้แก่ธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง
รวมทั้งในมิติ Non-commercial ผ่านการพัฒนา Community กลุ่มบาริสต้า ผ่านการขับเคลื่อนโครงการ CP-Meiji for Barista ที่ขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถบาริสต้า ผ่านโครงการต่างๆ เช่น CP-Meiji Speed Latte Art Championship การแข่งขันเทกาแฟลวดลายลาเต้อาร์ตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย, CP-Meiji Barista Camp ค่ายพัฒนาบาริสต้าแบบเข้มข้น โดยกรรมการและแชมป์โลกทั้งด้านบาริสต้าและด้านลาเต้อาร์ต เพื่อมุ่งสู่การเป็นมืออาชีพระดับสากล รวมไปถึงการสร้าง Team Avenger หรือทีมบาริสต้าตัวแทนประเทศไทยเพื่อลงแข่งและสร้างชื่อเสียงในเวทีแข่งขันระดับนานาชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเพิ่มโอกาสและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้บาริสต้าไทยอีกทางหนึ่งด้วย
ด้านสังคม : มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต ของผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และปลอดภัย โดยมุ่งพัฒนา ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน Healthier Choice Certificate และตรวจสอบย้อนกลับได้ 100% ตลอดจนดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งพนักงาน และชุมชนรอบรั้วโรงงาน โดยเฉพาะการนำร่องในชุมชนสระบุรี ทั้งการติดตั้งโรงผลิตน้ำดื่มสะอาด เพื่อเพิ่มการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ตามมาตรฐาน อย. และมีราคาถูก เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ให้ผู้คนในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการยกระดับด้านการศึกษา ของนักเรียนในพื้นที่สระบุรี ผ่านโครงการ Innovative Education นำร่องด้วยการสาย Robotics & Coding รวมทั้งโครงการส่งเสริมด้านโภชนาการ ภายใต้ชื่อ Fit to the Height โดยจัดแผนโภชนาการและการออกกำลังที่เหมาะสม ผ่านหลัก 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลัง และอารมณ์
ด้านสิ่งแวดล้อม : วางโรดแม็พ 2030 เพื่อมีส่วนช่วยขับเคลื่อนแก้ไขวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutral และ Net zero ภายในปี 2050 การลดการใช้น้ำภายในกระบวนการผลิต และการคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติ รวมทั้งการลดปริมาณขยะฝังกลบ พร้อมทั้งการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 1 พันไร่ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการ ‘ซีพี-เมจิ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ‘ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับนโยบาย Responsible Sourcing ที่ตั้งเป้าการเลือกใช้ Keys Material หรือวัตถุดิบหลักในการผลิตที่ไม่ส่งเสริมการตัดไม้ทำลายป่า หรือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) ใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable) รวมทั้งการส่งเสริมการแยกขยะ และกระบวนการรีไซเคิลผ่านโครงการนำร่อง ‘ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น’ เป็นต้น
“ซีพี-เมจิ มุ่งเน้นขับเคลื่อนความยั่งยืนแบบบูรณาการให้ครอบคลุมทั้งระบบ เพื่อให้ Stakeholders ทุกมิติแข็งแกร่งและยั่งยืนร่วมกันได้อย่างแท้จริง ซึ่งการขับเคลื่อนความยั่งยืน เป็นหนึ่งใน Keys Strategy เพื่อสร้างการเติบโตของ ซีพี-เมจิ ควบคู่ไปกับการ Synergy ศักยภาพที่แข็งแกร่งในด้านอื่นๆ ทั้งการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสร้างการเติบโต, การบริหาร Supply Chain อย่างมีประสิทธิภาพ, ศักยภาพในการผลิตภายใต้มาตรฐาน Safety Quality และ Productivity, ศักยภาพในการพัฒนาบุคลากรและผู้นำ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเป็น Brand of Choice ที่ทั้งผู้บริโภคและคู่ค้าจะนึกถึงเป็นอันดับแรก ของแบรนด์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนม”