ทำความรู้จัก ‘Agrivoltaics’ โซลูชันผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ใน​​พื้นที่เกษตร ส่งเสริมทั้งความมั่นคงทางอาหาร​ พลังงานทดแทน และการใช้ที่ดิน

Agrivoltaics (อะกริวอลทาอิกส์) หนึ่งในโซลูชันการทำฟาร์มแบบยั่งยืนที่กำลังเติบโต ในรูปแบบของ​การใช้ที่ดินร่วมกันทั้งเพื่อรองรับ​การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ และเพื่อการเกษตรไปพร้อมกัน ​​​ทั้งยังเป็นนวัตกรรมที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านในยุค Decarbonization ที่ทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก กำลังผลักดันไปสู่เป้าหมายในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

โดยเฉพาะภาค​เกษตรกรรม ซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญของประเทศไทย และถือเป็น​ภาคส่วนที่มีการสร้างก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงเช่นกัน ขณะความต้องการอาหารและพลังงานก็สูงขึ้นสอดคล้องกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน Agrivoltaics จึงเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ในการสร้างสมดุลในการผลิตอาหารและพลังงานควบคู่ไปกับการมีส่วนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน รวมทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ เนื่องจากในพื้นที่เดียวกันสามารถรองรับได้ทั้งการผลิตอาหารและพลังงาน เนื่องจาก​พื้นที่สำหรับโซลาร์ฟาร์ม​จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งเป็นจำนวนมาก หากสามารถนำพื้นที่เดียวกันนี้มาใช้ประโยชน์อื่นๆ ร่วมกันได้จะช่วยลดความกังวลเรื่องการใช้พื้นที่ลงได้มาก

นอกจากนี้ Agrivoltaics ยังไม่มีข้อจำกัดในการออกแบบรูปแบบโครงการ เพราะสามารถนำไปใช้กับฟาร์มได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นฟาาร์มเพาะปลูกพืชผัก ฟาร์มทำปศุสัตว์ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือฟาร์มสมุนไพร  โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดำเนินโครงการ Agrivoltaics  อย่าง ทรินาโซลาร์ (Trinasolar) ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านผลิตภัณฑ์โฟโตวอลเทอิก (PV หรือ โซลาร์เซลล์) และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage Solutions) ได้นำเสนอโมเดลการติดตั้งโครงการ​ที่ประสบความสำเร็จในหลากหลายประเทศ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการทำเกษตรตามแนวทางของความยั่งยืน ​ประกอบด้วย

นิวซีแลนด์ : โซลาร์ฟาร์มโคฮิรา

โซลาร์ฟาร์มโคฮิรา ​พัฒนาโดย Lodestone Energy เป็นโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่แห่งแรกของนิวซีแลนด์ และเป็นหนึ่งในโซลาร์ฟาร์มที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนของนิวซีแลนด์ โดยโครงการนี้ใช้แผงโซลาร์ประสิทธิภาพสูงที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (Ultra-High-Power bifacial modules) ของทรินาโซลาร์ จำนวน 61,000 แผง ติดตั้งอยู่บนโครงสร้างรับแผงแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ Trina Tracker Vanguard 2P ที่มีระยะห่างระหว่างแถวกว้างและมีความสูงของโครงสร้าง​ 2 เมตร ​สนับสนุนการทำอะกริวอลทาอิกส์ โดยที่ยังสามารถผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ​ขณะที่แกะสามารถอาศัยและกินหญ้าอยู่ใต้แผงโซลาร์เซลล์ได้ แผงโซลาร์เซลล์ยังให้ร่มเงาและเอื้อต่อการเจริญเติบโตของหญ้าซึ่งเป็นอาหารสำหรับแกะ

โครงการนี้ คาดว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 55 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ต่อปี ซึ่งสามารถใช้ไฟฟ้าเลี้ยงครัวเรือนได้กว่า 7,770 ครัวเรือน โมเดล PV+ นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศที่มีอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่และมีทรัพยากรที่ดินที่จำกัดมากขึ้นเช่น ประเทศนิวซีแลนด์

ประเทศจีน : โครงการไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในฟาร์มประมง

โครงการไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในฟาร์มประมงขนาด 70 เมกะวัตต์ (MW) แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมหนานต้าก่าง เมืองชางโจว มณฑลเหอเป่ย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีดินเค็มเป็นด่างและดินโคลน โครงการนี้ติดตั้งอยู่เหนือบ่อปลา ซึ่งยังคงใช้สำหรับการเลี้ยงปลาและกุ้งได้หลังจากเชื่อมต่อระบบกับกริดแล้ว  แผงโซลาร์เซลล์ที่ลอยอยู่บนน้ำสามารถสร้างร่มเงาให้กับบ่อปลา ลดอุณหภูมิของน้ำ ลดการระเหย รวมถึงปิดกั้นแสงแดดที่แรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของปลาอันเป็นผลมาจากอุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นได้อย่างมาก โครงการนี้ครอบคลุมพื้นที่ 130 เฮกตาร์ ใช้แผงโซลาร์เซลล์พลังงานสูงพิเศษ Vertex 600W+ ของทรินาโซลาร์ และคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 1,292 ชั่วโมงต่อปีเป็นเวลา 25 ปี ซึ่งให้พลังงานสีเขียวประมาณ 128,000 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ต่อปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 107,000 ตัน

ประเทศจีน: ไร่ชาสิบสองปันนา

ไร่ชาสิบสองปันนาในยูนนานเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรแห่งแรกในจีน โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์กระจกคู่แบบโปร่งแสง (transparent dual glass modules) ของทรินาโซลาร์ ติดตั้งบริเวณเหนือต้นชา ซึ่งช่วยให้ใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นชา ทั้งนี้ยังช่วยปรับปรุงการใช้ที่ดินและพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงส่งเสริมการเอื้อประโยชน์ระหว่างเกษตรกรรมและพลังงานแสงอาทิตย์

​ความสำเร็จของแต่ละโครงการข้างต้น สะท้อนได้ว่า Agrivoltaics เป็นแนวทางที่ก้าวล้ำในการจัดการความท้าทายสำคัญต่างๆ ของโลก ได้แก่ พลังงานทดแทน ความมั่นคงทางอาหาร และการใช้ที่ดิน รวมทั้งยังมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านการเกษตรและพลังงาน ผลักดันสู่โลกที่ยั่งยืนและฟื้นตัวได้มากยิ่งขึ้น จากการบูรณาการความต้องการเพิ่มการผลิตไฟฟ้า เพิ่มผลผลิตอาหาร เพิ่มการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้น้ำ และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบให้เกษตรกรไทยและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อบูรณาการนวัตกรรมเข้ากับแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตร เพื่อปูทางไปสู่แนวทางการทำ​การเกษตรที่​ยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้นในประเทศไทย

สำหรับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ของทรินาโซลาร์ ประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ ระบบติดตามดวงอาทิตย์ และโซลูชันการจัดเก็บพลังงาน เป็นทางออกที่สำคัญต่อความท้าทายต่างๆ ที่กำลังเผชิญในภาคการเกษตรและฟาร์มในปัจจุบัน พร้อมช่วยขับเคลื่อนด้านความมั่นคงทางอาหาร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบการเกษตรที่ยั่งยืนมากขึ้น สอดคล้องเป้าหมายของทรินาโซลาร์ ที่มุ่งมั่น​​พัฒนานวัตกรรม รวมถึงช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและมั่นคง ผ่านการขยายผลไปในหลากหลายพื้นที่ของโลก ​เนื่องจากโซลูชันของทรินาโซลาร์มีความยืดหยุ่นในการติดตั้งเพื่อให้เหมาะสมกับพืชผล และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน​ได้

Stay Connected
Latest News