TCP Spirit คณะเศษสร้าง ปี 3 ส่งเสริมวัฏจักรธรมชาติ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เตรียมพร้อมก่อนเทรนด์โลกโฟกัส Biodiversity Footprint

TCP Spirit ภายใต้การขับเคลื่อนของ กลุ่มธุรกิจ TCP กับภารกิจครั้งใหม่ ผ่านกิจกรรม คณะเศษสร้าง ปี 3 “เฮียนธรรมชาติหมุนเวียน เบิ่งนกกระเรียนฟื้นคืน” ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  ต่อยอดองค์ความรู้เศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านห้องเรียนธรรมชาติ ขยายเครือข่ายคนรุ่นใหม่สร้างแนวร่วมฟื้นฟูทรัพยากรสร้างสมดุลโลก

การลงพื้นที่ของ TCP Spirit คณะเศษสร้าง ปีที่ 3 ครั้งล่าสุดในปี 2567 นี้ เพื่อขยายองค์ความรู้ด้านการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Biodiversity อีกหนึ่งแนวทางส่งเสริมความยั่งยืนผ่านการฟื้นฟูด้วยกลไกทางธรรมชาติ (Nature-based Solutions) ผ่านพื้นที่ต้นแบบในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่แห้งแล้ง แต่สามารถพัฒนาระบบการจัดการน้ำ ทำให้ปัญหาคลี่คลาย โดยเฉพาะการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการน้ำในชุมชน รวมทั้งยังได้เห็นตัวอย่างการพึ่งพากันระหว่างชุมชนและ​ธรรมชาติอย่างสมดุล ถือเป็นพื้นที่​ Best Practice ในการสร้างความสัมพันธ์ทางวัฏจักรทางชีวภาพ (Biological Cycle) ​ของระบบนิเวศที่มีการหมุนเวียนและควรได้รับการฟื้นฟู (Regenerate) เพื่อสร้างสมดุลในโลกที่กำลังวิกฤตนี้

เปิดหลักสูตรเศรษฐกิจวงกลมตามธรรมชาติ Biological Cycle

สำหรับกิจกรรมไฮไลต์ในห้องเรียนธรรมชาติ​ TCP Spirit ในพื้นที่บุรีรัมย์ปีนี้ ​เน้นการเรียนรู้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนตามธรรมชาติ หรือ วัฏจักรทางชีวภาพ (Biological Cycle)​ ผ่านประสบการณ์และการลงมือทำ เปิดโอกาสให้ได้สัมผัสกับความหลากหลายของระบบนิเวศและชุมชนต้นแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมจากการเรียนรู้ในพื้นที่ โดยมีเนื้อหาน่าสนใจ เช่น

การศึกษา​เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำ ​บริเวณอ่างก็บน้ำห้วยจรเข้มาก และอ่างเก็บน้ำสนามบิน ซึ่งถูกฟื้นฟูจนกลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์สำคัญของจังหวัด  และยังทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนและช่วยหมุนเวียนน้ำ ​ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง วิกฤตขาดแคลนน้ำ สร้างความมั่นคงทางน้ำให้ชุมชน รวมทั้งยัง​​เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและอาหารหลักของนกกะเรียน​พันธุ์ไทยที่เคยสูญหายไปจากพื้นที่หลายสิบปี ​แสดงถึงการมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ของพื้นที่

– นกกระเรียนคืนถิ่น นกกะเรียนถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ จากการที่เคยสูญพันธุ์จากพื้นที่ไปแล้วกว่า 50 ปี แต่ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำ ณ​ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มากและอ่างเก็บน้ำสนามบิน จ. บุรีรัมย์ กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ของภูมิภาค  จากการได้รับคัดเลือกเป็นพื้นที่ปล่อยนกกะเรียน​พันธุ์ไทยคืน​สู่ธรรมชาติ ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนที่ช่วยดูแลปกป้องนก พร้อมฟื้นฟูและสร้างความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ผ่านการทำเกษตรอินทรีย์ และการปลูกพืชที่เป็นแหล่งอาหารของนกกะเรียน อย่างหญ้าแห้วทรงกระเทียม เพื่อเชื่อมโยงการอนุรักษ์นกกะเรียนเข้ากับการดำรงวิถีชีวิตอย่างยั่งยืน

 – การทำเกษตรอินทรีย์ ​ ถือเป็นโมเดลจำลองระบบนิเวศขนาดย่อม โดยมุ่งเน้นการจัดการและการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการดูแลฟื้นฟูดิน ลดปริมาณการใช้สารเคมีในพื้นที่ พร้อม​ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน แก้ปัญหาดินเสื่อมซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของโลก เพราะหากดินได้รับสารเคมี จะขาดคุณสมบัติในการดูดซับแร่ธาตุทำให้ผลผลิตอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานจากโรค หรือแมลงศัตรูพืช นำไปสู่ความจำเป็นในการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรวนไปเรื่อยๆ การทำเกษตรอินทรีย์​จึงช่วยลดผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต และลดคาร์บอนจากการใช้เครื่องจักรและสารเคมี

โดยกลุ่ม​อาสาจะได้เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ผ่านการเดินทางของ ‘ข้าวสารัช‘ ผลิตภัณฑ์ชมชุมชนบ้านสวายสอ ทั้งตีข้าว ฝัดข้าว และเพาะต้นกล้าด้วยตัวเอง เพื่อเข้าใจกระบวนการผลิตแบบเป็นวงกลม ที่ไม่เพียงเน้นการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ที่เน้นการผลิตอาหารปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังใช้ระบบการทำเกษตรแบบฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) ที่เน้นฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งเพิ่มการดูดซับน้ำและลดคาร์บอนในการเพาะปลูก รวมไปถึงส่งเสริมเรื่องความหลากหลายทางธรรมชาติ หรือ Biodiversity ควบคู่กันไปด้วย

– การทอผ้าไหม องค์ความรู้ของชุมชนต้นแบบบ้านหัวสะพาน ซึ่งผ้าไหม ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของดีของจังหวัดบุรีรัมย์ และอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ที่เป็นทั้งอาชีพที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้ว  ยังเป็นตัวอย่างของวงจรเศรษฐกิจหมุนเวียน เและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทั้งกระบวนการและปฏิบัติการในระบบการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอินทรีย์ การนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างคุ้มค่า ลดการทิ้งของเสีย ​​ทั้งการ​ใช้ปุ๋ยจากขี้วัวและฟางเพื่อคงสภาพดิน การให้หนอนไหมกินใบหม่อนที่สามารถปลูกซ้ำได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้​ของเสียจาก​กระบวนการผลิต และการต่อยอดจากการแปรรูปรังไหมและหนอนไหม รวมทั้งเป็นการเพิ่มอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชนมากขึ้นด้วย

Biodiversity Footprint และ​ระบบเศรษฐกิจในอนาคต

การออกแบบหลักสูตร TCP Spirit คณะเศษสร้าง ในปีที่ 3 นี้ เป็นการขยายขอบเขตจากการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ผ่านการจัดการวัสดุเหลือใช้ตามแนวทาง Zero Waste และ Circular Economy จาก Technical Cycle มาเป็นการศึกษาระบบ Circular ตามวัฏจักรธรรมชาติ หรือ Biological Cycle เพื่อสามารถใช้กลไกทางธรรมชาติมาช่วยแก้วิกฤตได้มากขึ้น ทั้งการศึกษาระบบเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรแบบฟื้นฟู ​ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายททงชีวภาพ หรือ Biodiversity ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการเกิดระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนด้วย

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า ​TCP Spirit มุ่งปลูกฝังการรักษาและฟื้นฟูธรรมชาติผ่านคณะเศษสร้าง ปี 3 ด้วยการเรียนรู้แบบลงมือทำจริงในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ที่ตั้งใจพาอาสารุ่นใหม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเข้ามาแทนที่ระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรงเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหลือทิ้งให้น้อยที่สุด กิจกรรมนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้อาสาได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชุมชน พร้อมทั้งส่งต่อพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงให้กับคนรอบข้างและสังคม เพื่อร่วมกันรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้โลกของเราดียิ่งขึ้น 

“กลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนตามแนวทางความยั่งยืน ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทั้ง 100%  สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ทั้งหมดแล้ว รวมทั้งเริ่มใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิล rPET ในเครื่องดื่มแมนซัม พร้อมทั้งเข้าไปมีส่วนช่วยผลักดันนโยบายด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ทั้งการสนับสนุนการเก็บกลับ เพื่อเพิ่มซัพพลายสำหรับ rPET  และขยาย Economy of Scale ที่อาจมีส่วนช่วยทำให้ต้นทุนในภาพรวมลดลง จากการเพิ่มความสามารถในการใช้ให้แพร่หลายได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยัง​ขับเคลื่อนนโยบายด้านการคืนน้ำ และเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งต้นน้ำต่างๆ ​ผ่านโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ขณะที่ประเด็น Biodiversity ก็เป็นอีกหนึ่งมิติที่ TCP ให้ความสนใจ แล​ะจะพัฒนาโมเดลความร่วมมือต่างๆ ขึ้นมาสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขวิกฤตสภาพอากาศ ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลกระทบมาถึงพวกเราทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในส่วนของการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในระดับประเทศ จำเป็นที่ต้องมีการขับเคลื่อนในระดับนโยบาย ทั้งการมีมาตรการหรือเครื่องมือมาช่วยการเปลี่ยนผ่าน ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนัก การสะท้อนให้เห็นโอกาส หรืออุปสรรคที่จะต้องเผชิญในอนคต เนื่องจาก สามารถมองเห็นได้รอบด้านมากกว่ากลุ่มเกษตรกร ​รวมทั้งการส่งต่อองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อช่วยผลักดันให้เกืดการปรับตัวได้อย่างทันท่วงที”​

ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ และครูใหญ่คณะเศษสร้าง กล่าวว่วา พื้นที่บุรีรัมย์เป็นตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อน​ Nature-based Solution ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และในไทยมีพื้นที่ต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งการดึงนกกะเรียนพันธุ์ไทยทที่เคยสูญพันธุ์ไปให้กลับเข้ามาสู่พื้นที่ พร้อมทั้งสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้มากกว่า 120 ตัว รวมทั้งการฟื้นฟูดินให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ด้วยเกษตรอินทรีย์ตามแนวทาง Regenerative  สะท้อนถึง​โอกาสและแต้มต่อของประเทศไทยที่มีต้นทุนทางธรรมชาติในระดับสูง แต่ยังขาดการต่อยอด เพื่อขยายองค์ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาระบบการผลิตให้ไปสู่  Main Stream เพื่อรองรับเศรษฐกิจในระดับมวลชนได้ โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งดีทั้งต่อสุขภาพผู้บริโภค และตัวเกษตรกร รวมทั้งยังช่วยอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์น้ำ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถขยายผลในวงกว้างได้มากเท่าที่ควร

“สิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยปลดล็อกเกษตรกรให้หลุดพันจากการติดอยู่ในกับดับระบบการเกษตรเดิมๆ ที่ต้องพึ่งพาสารเคมี ซึ่งส่งผลทั้งต้นทุนการผลิตที่สูง ปัญหาดินเสื่อมโทรม รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในอนาคตอาจกลายเป็นอุปสรรคทางการค้า เมื่อโลกเริ่มขับเคลื่อนเข้าสู่ความยั่งยืนมากขึ้น ทั้งการคำนวณปริมาณคาร์บอน รวมทั้งต้นทุนจากผลกระทบทางธรรมชาติ ทั้งการใช้น้ำ การใช้สารเคมี หรือเรื่องของความหลากหลายทางธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบัน​ประเด็น Carbon Footprint เข้ามามีบทบาททางเศรษฐศาสตร์มากขึ้น และในอนาคตประเด็น Biodiversity Footprint ก็น่าจะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ​ซึ่งภาครัฐหรือผู้ดูแลนโยบาย จำเป็นต้องมีมาตรการหรือเครื่องมือมาช่วยเหลือในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากระบบเดิมมาเป็นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ รวมทั้งการต่อยอด Co-benefit ให้ชุมชนหรือเพิ่มรายได้จากโมเดลธุรกิจใหม่ หรือโปรดักต์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้ชุมชนมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถก้าวพ้นผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่านที่อาจทำให้กระทบรายได้หลักจากภาคการเกษตร ซึ่งหากทำสำเร็จจะทำให้ชุมชนมีความแข็งแรงได้อย่างยั่งยืนในที่สุด”

สำหรับการเดินทาง​ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คณะเศษสร้างได้จุดประกายคนรุ่นใหม่ให้เรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและเชื่อมโยงความรู้สู่การลงมือทำ เพื่อสานต่อภารกิจของ TCP Spirit ในการปลุกพลังเครือข่ายอาสารักษ์โลก ที่จะช่วยส่งต่อสู่ชุมชนและสังคมในวงกว้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดีที่ขึ้นและยั่งยืน ตอกย้ำเป้าหมาย “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” ของกลุ่มธุรกิจ TCP

Stay Connected
Latest News