AIS ยกระดับภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เปิดตัว Digital Health Check ​เติมเต็ม Cyber Wellness ทั้ง Wisdom และเทคโนโลยี    

ในยุคดิจิทัลที่คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตบนโลกไซเบอร์ไม่น้อยไปกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ขณะที่ข้อกฎหมาย กฎระเบียบ หรือกติกาบางอย่าง อาจยังไม่สามารถเข้าไปดูแลผู้ใช้งานทุกคนได้อย่างครอบคลุม  ผู้ใช้งานเองจึง​จำเป็นต้องมีทักษะดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตใน Cyber Space ได้อย่าง​มั่นคงและปลอดภัย

เนื่องจากมีภัยคุกคามต่างๆ ​แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ หลอกโจรกรรมข้อมูล รวมไปถึงการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกออนไลน์  ซึ่งประเมินมูลค่าความเสียหายจากตัวเลขการแจ้งความคดีออนไลน์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเกือบ 7 หมื่นล้านบาท หรือวันละไม่ต่ำกว่า 111 ล้านบาท

พัฒนา​ Digital Health Check เติม​​ ​Cyber Wellness

AIS โดย AIS อุ่นใจไซเบอร์ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนความมั่นคงและปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cyber Safety & Security) มาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสร้าง Cyber Wellness หรือการสร้างสุขภาวะที่ดีบนโลกออนไลน์ ซึ่งขับเคลื่อนผ่านทั้งการพัฒนา องค์ความรู้ (Wisdom) เพื่อสร้างวัคซีนให้เป็นภูมิคุ้มกันการใช้งานในโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย ​รวมทั้งการยกระดับด้าน​​เทคโนโลยี เพื่อรับมือกับกลุ่มมิจฉาชีพที่มีการพัฒนาเทคนิคในการหลอกลวงที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้หลอกลวงผู้คนได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

คุณสายชล ทรัพย์มมากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า การขับเคลื่อนของ AIS ในปีนี้ ได้พัฒนา ​เครื่องมือเช็คภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล (Digital Health Check)​ เพื่อทราบถึงสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเองอย่างลึกซึ้ง ไม่ต่างกับการไปตรวจสุขภาพ เพื่อสามารถประเมินข้อบกพร่องที่ต้องป้องกันแก้ไข ​รวมทั้งการรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีและแข็งแรงในระยะยาวได้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่​มีการพัฒนาเครื่องมือเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้งานดิจิทัลทุกคนสามารถประเมินทักษะทางดิจิทัลด้วยตัวเองเช่นนี้

สำหรับการพัฒนา Digital Health Check  ของ AIS ​ครั้งนี้ มาจากการต่อยอดอินไซต์จาก ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย (Thailand Cyber Wellness Index 2024 : TCWI2024) แพลตฟอร์มที่ทาง AIS พัฒนาขึ้นในปีที่ผ่านมา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในหลายภาคส่วน​ เพื่อเป็น​ฐานข้อมูล​สำหรับ​วัด​​ความรู้ความเข้าใจ​ทักษะทางดิจิทัล ศึกษาพฤติกรรม​การใช้งานดิจิทัลของคนไทย เพื่อประเมินองค์ความรู้ ปัญหาในการใช้งาน รวมทั้งนำไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหา และ​สร้างสุขภาวะที่ดีในการใช้งาน หรือสร้าง Cyber Wellness ให้สอดคล้องตาม​ดัชนีชี้วัด​ทักษะทั้ง 7 ด้าน​ ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, การใช้งานดิจิทัล, การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล, การสื่อสารและทำงานร่วมกันทางดิจิทัล, ความรู้เท่าทันดิจิทัล ,การเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล และการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ พร้อมทั้งการประเมินทักษะทางดิจิทัลออกเป็น 3 ระดับ ตามคะแนนตั้งแต่ 0-1 คือ ระดับที่ต้องพัฒนา (Improvement) ระดับพื้นฐาน (Basic) และระดับสูง (Advanced)

ยกระดับ ความปลอดภัยไซเบอร์ วาระแห่งชาติ

ผล​สำรวจ​ TCWI2024 ครั้งล่าสุดใน​​​ปีที่ 2 นี้ ได้​ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำรวจคนไทยมากกว่า 5 หมื่นคน จาก77 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านกลุ่มตัวอย่าง​ทุกเพศ ทุกวัย อายุตั้งแต่ 10 – 60 ปีขึ้นไป ซึ่งพบว่า ระดับสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทยโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพื้นฐาน ด้วยคะแนน 0.68 พร้อมพบ 3 กลุ่มเสี่ยงที่มีคะแนนต่ำกว่าค่ามาตรฐาน คือ กลุ่มเด็ก เยาวชน และวัยเกษียณ​อายุ​ 60 ปีขึ้นไป

ทั้งนี้ หากลงลึกแต่ละทักษะจะพบว่าปัญหา​ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นปัจจัยที่คนไทยได้คะแนนต่ำที่สุดมาต่อเนื่องทั้ง 2 ปี คือ 0.47 ในปีก่อนหน้า และ 0.61 ในปีล่าสุด แม้ว่า​คะแนนจะ​ปรับเพิ่ม​ขึ้น แต่คนไทยเกินกว่าครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะประเด็นที่อ่อนไหวต่อการนำมาซึ่งภัยไซเบอร์ เช่น ไม่มีความเข้าใจเรื่องแรนซัมแวร์ อันอาจจะทำให้ถูกแฮกข้อมูลได้, การใช้ Wi-fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การตั้งพาสเวิร์ดที่คาดเดาได้ง่าย เช่น วันเดือนปีเกิด หรือ ไม่ทราบว่าลิงก์ URL ที่ปลอดภัยในการเข้าเว็บไซต์ ควรขึ้นต้นด้วย HTPPS เป็นต้น

เป็นเหตุผลให้ AIS ​ยกระดับ​การขับเคลื่อนความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ พร้อมประกาศ​ให้เรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ​เป็น ‘วาระแห่งชาติ’ เพื่อเร่งพัฒนาความรู้ความสามารถในการรับมือต่อความเสี่ยง และอันตรายจากการใช้งานในโลกออนไลน์ ทั้งต่อตัวเอง และองค์กร ซึ่งครอบคลุมไปทั้งการดูแลคนในครอบครัวหรือภายในชุมชน เพื่อลดความเสียหายจากภัยไซเบอร์ ​พร้อมสนับสนุนการ​ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ​

AIS มุ่งมั่นสร้าง Cyber Safety & Security ด้วยการพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติของ​ Wisdom ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ แพลตฟอร์ม TCWI และการพัฒนา Digital Health Check เพื่อให้เติมเต็มทักษะดิจิทัลได้อย่างครอบคลุมทั้งการตรวจวัด ประเมิน และการพัฒนาทักษะ ​ควบคู่ไปกับฟากของการพัฒนา Technology มา​ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ให้ผู้ใช้งาน ทั้งการ พัฒนา AIS Secure Net เพื่อช่วยบล็อก​การเข้าถึงลิงก์​ที่เข้าข่าย​อาชญากร ​ซึ่งได้ยกระดับการป้องกัน​มากขึ้นด้วยการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ ​หรือการร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง Google Family Link เพื่อป้องกันลูกค้าในกลุ่มเยาวชนเข้าถึง Bad Content ต่างๆ อันเป็นสาเหตุในการเกิดภัยไซเบอร์ตามมา รวมทั้งให้การสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือ การสนับสนุนการทำงานของพี่ๆตำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ​ คุณสายชล กล่าว

ด้าน ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โลกไซเบอร์ที่ดีต้องดูแลให้ผู้ใช้งาน Safe และ Secure เพราะโลกไซเบอร์มีความสลับซับซ้อน การสร้าง​ Wellness ในโลกไซเบอร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การพัฒนาแพลตฟอร์ม TCWI ของ AIS ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยชี้วัด ประเมินสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทย เพื่อเข้าไปป้องกัน หรือนำมาซึ่งแนวทาง​แก้ไข การสร้างภูมิคุ้มให้คนไทยอยู่ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย เพราะหากไม่สามารถชี้วัด​ ก็จะไม่สามารถบริหารจัดการ​ รวมทั้งไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทางที่ดีขึ้นได้ ดังนั้น ทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์ม TCWI รวมไปถึงการทำงานร่วมกับภาครัฐอย่างบูรณาการ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนนโยบายและดูแลจัดการเกี่ยวกับโลกดิจิทัลของประเทศไทย จะช่วยสนับสนุน​ให้คนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัลที่ดี และทำให้เกิด Cyber Safety & Security ได้อย่างแท้จริง

AIS ยังมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้า AIS สามารถใช้บริการ AIS Secure Net ได้ฟรี เป็นระยะเวลา 12 เดือน เพียงกด *689*6# รวมถึงการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG ชูจุดเด่นปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ในราคาสุดคุ้มเดือนละ 39 บาทเท่านั้น สมัครง่ายๆ เพียงกด *689*10# โทรออก

ผู้ที่สนใจตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th และสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index

Stay Connected
Latest News