คุณปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ (BRANDi and Companies) แชร์ 10 Lesson Learn จากการไปร่วม WEF Summer Davos ที่ Dalian ประเทศจีน เพื่อทำความเข้าใจ New World Landscape เพิ่มความสามารถในการขับเคลื่อนสู่อนาคต
“โลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน มีเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้น ที่สามารถสร้างแรงกระเพื่อมจนส่งผลกระทบไปทั่วโลก การทำความเข้าใจ New World Landscape จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มขีดความสามารถในการ “เดาให้ถูก” ผมใช้คำว่าเดานะครับ เพราะไม่มีใครรู้อนาคตที่แท้จริงอยู่แล้ว แต่สามารถเข้าใจธรรมชาติของมัน ซึ่งอาจจะช่วยทำให้เรามองเห็นบางอย่างที่ชัดเจนมากพอ จนนำไปสู่การตัดสินใจ (ที่หวังว่าจะถูกต้อง) สำหรับอนาคต”
โดยทั้ง 10 ประเด็นสำคัญ ที่คุณอาร์มตกผลึกได้จากการไปร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้นำระดับโลกในงาน WEF Summer Davos ที่ Dalian ประเทศจีน ประกอบด้วย
#ประเด็นที่1 การเปลี่ยนผ่าน (Transition) คือ โอกาสครั้งใหม่ สำหรับโลกใหม่
หลายคนบอกว่า เศรษฐกิจโลกไม่โตขึ้น เพราะตลาดอิ่มตัวไปหมดแล้ว ส่วนที่โตขึ้นก็ดูเหมือนจะ Bubble และสุดท้าย เหลือแต่พื้นที่ที่ไม่ได้น่าสนใจขนาดนั้น (ต้องไปพัฒนาก่อน) แต่พอมีการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้น แน่นอนว่า ของเก่าจะค่อยค่อยหายไป ของใหม่จะเข้ามาแทน และการแทนที่หรือการเกิดขึ้นใหม่นั้น คือ โอกาสของเรานั่นเอง
#ประเด็นที่2 เทคโนโลยี(ควร)จะถูกมองเป็น Tools มากกว่าเป็น Trends
ในช่วงที่ผ่านมา เราอาจจะรู้สึกหวือหวาและมีความหวังกับเทคโนโลยีใหม่ใหม่จำนวนมาก จนไม่ทันได้ตั้งคำถามว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมัน practical จริงไหม แล้วเราจะเอามันมาใช้เพื่อะไร หลายประเทศและองค์กรเริ่มตื่นตัวและตระหนักรู้ว่า เราต้องให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ให้ชัดก่อน แล้วค่อยไปมองหาเครื่องมือ
#ประเด็นที่3 Social Adoption คือ โมเมนตั้มใหม่ของโลก
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี ไม่ได้เป็นแค่ปัจจัยเดียวที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจเท่านั้น นับตั้งแต่ช่วงการเกิด Social Media สิ่งที่ชัดที่สุด คือ สังคมเริ่มรวมตัวกันและมีพลังต่อรองมากขึ้น หากแต่มันเป็นการรวมตัวแบบ Multi-fragments กล่าวคือ ไม่ใช่รวมเป็นหนึ่งหากแต่รวมเป็นหลายกลุ่มก้อน จึงเกิดการเสียงแตกขึ้นในสังคม ลองดู AI เป็นต้น
#ประเด็นที่4 หมดยุคเศรษฐกิจแบบ Exploitation สู่ยุคเศรษฐกิจแบบ Development
การพัฒนาของเทคโนโลยีล้ำสมัยจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ความคิดในการยกระดับเทคโนโลยีเพื่อมาใช้ในการแก้ปัญหา การปรับปรุงให้มันนำไปใช้งานได้จริงและตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น การคิดคำนึงว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้คนจำนวนมากได้อย่างไร จะสร้างตลาดได้อย่างไร จะพัฒนาโลกได้อย่างไร จะเป็นประเด็นสำคัญ
#ประเด็นที่5 เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องมองให้ออกว่า เศรษฐกิจอะไร คือ Bubble อะไร คือ Real
เศรษฐกิจโลกเติบโตโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนมาตลอด และส่วนใหญ่เกิดขึ้นใน Real Sector อย่างไร ก็ตาม ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีถูกนำมาใช้เป็นตัวสร้างกระแสเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ ทั้ง ๆ ที่หลายกระแสที่เกิดขึ้นยังอยู่ห่างไกลจากความเป็นจริง (หรืออาจไม่สามารถเติบโตได้) ทำให้เกิดฟองสบู่และส่งผลกระทบเชิงลบภายหลัง
#ประเด็นที่6 ดิจิทัลและเทคโนโลยีสุขภาพที่ดีจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของความเท่าเทียม
โจทย์สำคัญนับจากนี้ คือ quality of living for all ไม่ใช่แค่ for those with purchasing power หัวข้อสำคัญ คือ การนำเอาดิจิทัลและ Healthtech เข้ามาช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในส่วนของเศรษฐกิจสูงวัยที่กำลังเกิดขึ้น การที่ผู้คนกลับมาสนใจเรื่อง Preventive Healthcare มากขึ้น และ Health Issues
ที่กระทบเศรษฐกิจทั่วโลก
#ประเด็นที่7 การสร้างการเติบโตกับการบริหารความเสี่ยงจะเป็นสิ่งที่มาคู่กันแบบแยกไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของอะไรก็ตาม บริษัท ชุมชน เมือง ประเทศ หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง ความสามารถในการจัดการกับความเสี่ยงจะต้องมาคู่กับความสามารถในการเติบโต เพราะมันจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นคู่กัน ในสถานการณ์ที่สัมพันธ์กัน ถ้าเราสามารถจัดการความเสี่ยงได้ดี ก็มีโอกาสสูงที่เราจะสามารถเติบโตได้ดีเช่นกัน
#ประเด็นที่8 บทบาทของกลุ่มก้อน (Alliances) จะมากขึ้น บทบาทประเทศจะน้อย
ในโลกแห่งความไม่ชัดเจนและไม่แน่นอน ทุกประเทศแสวงหาแนวทางในการเพิ่มอำนาจต่อรอง และแนวทางหนึ่ง คือ การรวมกลุ่มกับประเทศที่มีบางอย่างคล้ายกัน เช่น เป็นประเทศกำลังพัฒนาภายใต้กลุ่ม South-South ประเทศกลุ่มผู้นำการเติบโตใหม่อย่าง BRICS เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้จะมีบทบาทในการจัดการขั้วอำนาจโลกต่อไป
#ประเด็นที่9 ความขัดแย้งที่แท้จริง คือ การสร้างความมั่งคั่ง ไม่ใช่สงคราม
การแข่งขันทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นจนกระทั่งมันไม่สามารถแข่งขันกันได้ภายใต้กติกาที่เรียกว่า เศรษฐกิจ เราอาจจะได้ยินคำว่า Geoeconomics ซึ่งเป็นคำที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Politics และ Economics จะมีอะไรที่คุกคามการเติบโตของเศรษฐกิจได้ดีกว่าความมั่นคง ความมั่นคงจึงเป็นไพ่ใบสำคัญในการเปลี่ยน Momemtum ทางเศรษฐกิจ
#ประเด็นที่10 มีคำตอบที่ถูกมากกว่าหนึ่งข้อ ในโลกยุคใหม่
ข้อนี้เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไม เราจึงมักไม่ค่อยได้ยินข้อสรุปที่เป็นการตัดสินใจจาก Davos เพราะท้ายที่สุดแล้ว การจะบอกว่าอะไรถูก อะไรผิดนั้นจะยากขึ้น แต่มันจะเป็นไปในทิศทางที่ “ถูก” ภายใต้ “เงื่อนไข” อะไรมากกว่า การทำความเข้าใจทั้ง Content และ Context ก่อนตัดสินใจจะช่วยให้เราเห็นภาพสิ่งที่ถูกต้องสำหรับเรามากขึ้น
“เห็นได้ชัดว่าโลกต้องการ Growth Model ใหม่ เราทุกคนก็เช่นกัน และ Growth Model ดังกล่าวต้องเกิดขึ้นในแนวทางที่สอดคล้องกันทั้งในระดับของเศรษฐกิจ ตลาด ไปจนถึงองค์กรและบุคคล ความสอดคล้องกันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคตในระดับ System หรือโครงสร้างได้ ในขณะเดียวกัน มันจะช่วยปลดล็อคศักยภาพในการสร้าง Impact ในแบบที่โลกกำลังต้องการอย่างเร่งด่วน BRANDi ภูมิใจที่ได้มีโอกาสแชร์เรื่อง Sustainomy ในงาน Summer Davos ในครั้งนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่เรานำเสนอจะนำไปสู่ประตูที่เปิดกว้างสำหรับการเติบโตในแบบที่โลกต้องการ” คุณอาร์ม สรุปส่งท้าย