หนึ่งในโครงการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแคมเปญหนึ่ง และสามารถสร้าง Positive Impact โดยเฉพาะสร้างความตระหนักรู้เรื่องความสามารถของวัสดุในกลุ่ม ‘อลูมิเนียม’ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ พร้อมต่อยอดในการสร้างประโยชน์ต่อให้ผู้อื่นได้ โดยเฉพาะการนำไปผลิตเป็น ‘ขาเทียม’
ความสำเร็จของโครงการนี้ นำมาสู่การสร้างพฤติกรรมของคนไทย ที่ส่วนใหญ่เมื่อดื่มเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องแล้ว มักจะต้องดึงห่วงแยกออกจากตัวกระป๋อง เพื่ออยากมีส่วนร่วมในการนำห่วงไปบริจาคในการนำไปผลิตเป็นขาเทียม เพื่อช่วยส่งต่อความสุขและมอบโอกาสให้ผู้อื่นในสังคม และหลายคนยังคงทำพฤติกรรมเช่นนี้ต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปี จนถึงปัจจุบัน
เร่งสื่อสาร ‘อลูมิเนียม’ รีไซเคิลได้ทั้งกระป๋อง
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จากเดิมที่กระป๋องและห่วง ทำมาจากวัสดุคนละประเภท ตัวกระป๋องเป็นเหล็ก แต่ห่วงเป็นอลูมิเนียม ทำให้เป็นที่มาของแคมเปญระดับตำนานอย่างการบริจาคห่วงเพื่อนำไปผลิตเป็นขาเทียม
แต่ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์แบบกระป๋อง โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องดื่มหลากหลายประเภทในตลาดหันมาใช้กระป๋องอลูมิเนียม แทนกระป๋องเหล็กแบบเดิม ทำให้ทั้งตัวกระป๋องและทั้งห่วง กลายเป็น Mono Material หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุประเภทเดียวกันทั้งชิ้น ทำให้ในปัจจุบันสามารถบริจาคได้ทั้งกระป๋องและทั้งห่วงโดยไม่ต้องแยกชิ้นกันแล้ว
แต่การรับรู้ในเรื่องนี้ยังไม่สามารถ Go Mass ได้จนสามารถเปลี่ยน Mindset หรือพฤติกรรมเดิมๆ ที่คนไทยคุ้นชินมาเป็นสิบปีได้ ทำให้หลายคนยังเลือกที่จะดึงแค่ห่วงไว้ เพื่อต้องการนำไปบริจาคทำขาเทียม ส่วนกระป๋องก็แยกมาขายให้ซาเล้ง หรือซ้ำร้ายบางคนทิ้งไปเลยก็มี ทำให้สูญเสียโอกาสในการนำอลูมิเนียมเพื่อเข้าสู่ระบบรีไซเคิลไปได้อย่างน่าเสียดาย
Pain Point ในประเด็นเหล่านี้ จึงเป็นที่มาให้พี่ใหญ่ในวงการผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องอลูมิเนียมอย่าง บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ขับเคลื่อนโครงการ University Can Do : To Be a Creator เพื่อดึงพลังจากกลุ่มคนรุ่นใหม่มาช่วยสื่อสาร พร้อมสร้าง Awareness ในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำอลูมิเนียมเข้าระบบรีไซเคิลได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรีไซเคิลแบบบ Closed Loop หรือ Can to Can นั่นเอง
คุณกิติยา แสนทวีสุข ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด หรือ TBC กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการรีไซเคิล (Recycling Rate) ในกลุ่มอลูมิเนียมของไทยอยู่ที่ 88% โดยในจำนวนนี้ถูกใช้เป็น Content ในระบบ Closed Loop หรือถูกนำกลับไปผลิตเป็นกระป๋อง (Can to Can) ที่ประมาณ 70% โดยมีการตั้งเป้าภาพรวมทั้งประเทศเพื่อเพิ่มอัตรา Recycling Rate ให้แตะในระดับ 90% พร้อมทั้งเพิ่มสัดส่วน Content ให้มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 85-90% ในปี 2030 เพื่อลดการถลุงแร่อลูมิเนียมใหม่ (Virgin) เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานลงได้กว่า 95% พร้อมลดคาร์บอนลงได้ราว 3 เท่าตัว รวมทั้งยังสามารถนำมารีไซเคิลได้แบบไม่รู้จบ จึงถือเป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนที่ช่วยให้ประเทศสามารถบรรลุทั้งการเป็น Carbon Neutral และ Net Zero ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีนัยสำคัญ
“ในฐานะที่เราเป็นผู้ผลิตกระป๋องอลูมิเนียม และต้องการรับผิดชอบไม่ให้สิ่งที่เราผลิตขึ้นกลายเป็นขยะทำลายสิ่งแวดล้อม ประกอบกับต้องการลบภาพจำหรือความเชื่อเดิมๆ ที่คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่ากระป๋องเครื่องดื่มรีไซเคิลได้แค่ห่วง มีเพียงคนในอุตสาหกรรมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่รู้ว่าสามารถนำไปรีไซเคิลได้กระป๋อง การขับเคลื่อนโครงการ University Can Do : To Be a Creator จึงได้ดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นเจนเนอเรชันที่มีความตระหนักต่อเรื่องของสิ่งแวดล้อม และเป็นกลุ่มที่มีไอเดียสร้างสรรค์ รวมทั้งมี Passion ในเรื่องของการเป็นครีเอเตอร์ เพื่อช่วยเป็นกำลังสำคัญในการสื่อสารประเด็นเหล่านี้ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นช่องทางสื่อสารหลักของคนรุ่นใหม่รวมทั้งสามารถเข้าถึงผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้มากขึ้น โดยเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้คนในสังคมมีการรับรู้ในเรื่องการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์กระป๋องอลูมิเนียมได้อย่างถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มปริมาณการรีไซเคิลอลูมิเนียมได้มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากปริมาณอลูมิเนียมในห่วงมีอยู่ไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับปริมาณที่ใช้ในการผลิตกระป๋องทั้งชิ้น”
ขยายเครือข่าย Aluminium Loop
โครงการ University Can Do : To Be a Creator ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งทีมคณะกรรมการ อาทิ คุณธนบูรณ์ สมบูรณ์ Founder และ CEO จาก GREENERY และ คุณวิลาวัณย์ ปานยัง Founder และ CEO บริษัท เอ็มเอ็มยู จำกัด หรือ Make More Unlimited มาช่วยตัดสินผลงานของน้องนักศึกษา คุณกิตติคุณ ศักดิ์สูง ผู้ประสานงานร่วม เครือข่ายเยาวชนระดับโลกเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำภูมิภาคเอเชีย (GYBN Asia) ในฐานะผู้นำเครือข่ายของคนรุ่นใหม่ในการผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ทำงานกับเยาวชนมาพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ โดยล่าสุดได้ผู้ชนะรางวัลของโครงการแล้ว ประกอบด้วย
รางวัลประเภทเดี่ยว
รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษาจำนวน 20,000 บาท ได้แก่ จันทกานต์ ทองถิ่น จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษาจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ ใครไม่ล่าเบลล่า โดย ภัทรดา ผาเหลา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษาจำนวน 5,000 บาท ได้แก่ Let’s Green โดย ปุณยนุช อริยะคุณาธร จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รางวัลประเภททีม
รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษาจำนวน 15,000 บาท ได้แก่ ทีม SNJ ตัวแม่มากู้โลก โดยชฎารัตน์ อับไพ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, อรปรียา รุ่งรัตน, พงศ์โชติ นาสร้อย จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษาจำนวน 7,500 บาท ได้แก่ ทีม Titans and Troll โดย ธนกร พุฒแก้ว, จิรัชญา แสงอรุณ, ณภคนันท์ พรมสุวรรณ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รางวัล The Most Popular ทุนการศึกษาจำนวน 5000 บาท ได้แก่ ทีม We are World โดยทัตพงศ์ ปิยะรัตนพิพัฒน์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร, อัสมา เกื้อหมาด จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ รสชริญ จิตรหลัง จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
ทั้งนี้ ทาง TBC และ Aluminium Loop มีแผนในการต่อยอดโครงการทั้งการนำความสามารถ ไอเดีย และ Passion ของทั้งผู้ชนะรวมทั้งสร้างเครือข่ายกลุ่มเยาวชนจากโครงการ ทั้งการร่วมงานกับทาง TBC เพื่อสื่อสารและ Educated เรื่องการรีไซเคิลอลูมิเนียมอย่างถูกต้อง รวมทั้งการขยายไปยังพันธมิตรหรือคู่ค้าของบริษัท โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสัญลักษณ์ Aluminium Loop อยู่บนบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการสร้าง Community ในกลุ่มศิษย์เก่า รวมทั้งรุ่นใหม่ๆ ที่ TBC มีแผนจะขยายเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมเปิดรุ่น 2 ในช่วงไตรมาส 3 หรือ 4 ของปีนี้ เพื่อตอกย้ำการสื่อสารและ Educted อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นการรีไซเคิลอลูมิเนียมได้ทั้งกระป๋องมากกว่าแค่ห่วง การเพิ่มหลักให้คนทั่วไปสามารถแยกได้ว่ากระป๋องแบบไหนที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ดูที่ก้นกระป๋องที่โค้งเว้าซึ่งหมายถึงเป็นกระป๋องอลูมิเนียม แต่หากเป็นกระป๋องเหล็กจะเป็นก้นแบนๆ รวมไปถึงสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพของประเทศไทยในฐานะที่เป็น Hub ของภูมิภาคที่สามารถรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมได้อย่างครบวงจรภายในประเทศ (Aluminium Closed-Loop Recycling) โดยมี Ecosystem ของ Can to Can อย่างครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิตกระป๋อง กลุ่ม Collectors รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของโรงหลอม 1 ใน 4 แห่งของเอเชีย ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน และไทย ซึ่งถือเป็นเพียงรายเดียวในภูมิภาคอาเซียนด้วย ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้จะถูกสอดแทรกไปยังคอนเทนต์ของบรรดาเหล่าครีเอเตอร์รุ่นใหม่เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้ทั้งกับกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยตรง รวมทั้งคนทั่วไปที่ได้ดูคอนเทนต์ที่ได้เผยแพร่ออกไป
“การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัทเรา ตามนโยบาย TBC Sustainability Goals 2030 หรือ TBC SG 2030 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และส่งเสริมยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยในปีนี้เราได้เพิ่มงบประมาณมากกว่า 1 ใน 3 สำหรับขับเคลื่อนเรื่องของความยั่งยืน ทั้งในมิติของการวิจัยและพัฒนา (R&D) รวมทั้งงบในการใช้สำหรับการสื่อสารอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้นอีกด้วย”
ผู้สนใจสามารถติดตามคลิปวิดิโอผลงานของทีมเยาวชนของโครงการได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/AluminiumLoop
Instagram : https://www.instagram.com/aluminiumloop/
Tiktok : https://www.tiktok.com/@aluminiumloop