ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนของ AIS ที่ต้องการก้าวสู่การเป็นองค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็น Sustainable Nation โดยมุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของ ECOSYSTEM ECONOMY ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ขยายผล Vision to Action
พร้อมการตอกย้ำที่ชัดเจนมากกว่าแค่การวาง Vision ผ่านวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนที่สวยหรู แต่ AIS ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนสู่ Action ที่สามารถจับต้องและปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเติมเต็ม Cyber Wellness Ecosystem เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเกิดการใช้งานที่สร้างสรรค์และปลอดภัยผ่านการพัฒนา หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ และ Thailand Cyber Wellness Index เพื่อยกระดับคนไทยสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่าน Green Network ทั้งการใช้ AI มาช่วยบริหารจัดการพลังงานหรือ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมด้านการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste อย่างถูกวิธีแบบ Zero to Landfill ได้ในที่สุด
และอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า นับจากนี้แนวคิดเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ จะถูกนำมาเชื่อมโยงเข้ากับทุกมิติในการขับเคลื่อนของ AIS คือ การจัดประชุมประจำปีของกลุ่ม Singtel ครั้งล่าสุดในปี 2023 นี้ ซึ่งประเทศไทย โดย AIS เป็นเจ้าภาพจัดประชุมภายใต้ชื่อ ‘Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023’ โดยมีบริษัทในเครือ Singtel อีก 5 ประเทศเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย Airtel จากอินเดีย, Globe จากฟิลิปปินส์, Optus จากออสเตรเลีย Telkomsel จากอินโดนีเซีย และ Singtel จากสิงคโปร์
งาน Regional Forum ครั้งนี้ ได้ผนวกแนวคิดเรื่องความยั่งยืนเข้าไปทุกมิติแบบ End to End อย่างแท้จริง โดย คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS ให้ข้อมูลว่า การขับเคลื่อนความยั่งยืนของ AIS เป็นมากกว่าแค่การสร้างภาพลักษณ์ แต่ขับเคลื่อนจริงผ่านการทำงานทุกมิติ รวมทั้งทุกกิจกรรมต้องเชื่อมโยงเป้าหมายเดียวกัน เช่นเดียวกับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมระดับภูมิภาคของ Singtel Group ที่ได้ยกระดับสู่ Regional Symposium พร้อมผนวกรวม 2 วาระ ทั้งเรื่อง ‘People’ และ ‘Sustainability’ เข้าไว้ด้วยกัน จากที่ก่อนหน้าจะจัดประชุมแยกกัน รวมทั้งคำนึงถึง Carbon Emission ที่จะเกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ทุกมิติ ตั้งแต่การเดินทางเข้ามาของสมาชิกแต่ละประเทศ การเลือกโรงแรมที่พัก การเดินทางในระหว่างการประชุมตลอด 3 วันในประเทศไทย รวมทั้งการส่งต่อ Positive Impact จากการประชุมครั้งนี้ให้แก่ผู้คนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
“การจัดงานประชุมระดับนานาชาติแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ประกอบกับมิติเรื่องของการพัฒนาคน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอยู่แล้ว AIS จึงนำเสนอสมาชิกเพื่อยกระดับการจัดประชุมทั้งวาระในเรื่องของ ‘คน’ และ ‘ความยั่งยืน’ ไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมทั้งเป็นประโยชน์ในการแชร์องค์ความรู้ ประสบการณ์ มุมมอง และ Best Practice ต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งสามารถแยกกันประชุมได้เมื่อต้องลงรายละเอียดในการขับเคลื่อนของแต่ละภาคส่วน รวมทั้งเน้นการขับเคลื่อนแบบคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่การเดินทางระหว่างประเทศที่แนะนำสมาชิกให้เดินทางด้วย Green Airline การเลือกโรงแรมที่พักที่ได้รับมาตรฐานการดำเนินงานอย่างยั่งยืน หรือการทำกิจกรรมในระหว่างการประชุม เมนูอาหารรับรองที่เน้น Low Carbon รวมทั้งมีการบันทึกคาร์บอนฟุตพรินท์ตลอดกิจกรรมซึ่งจะนำไปชดเชยคาร์บอนส่วนเกิน เพื่อให้งานประชุมครั้งนี้เป็น Carbon Neutral Event ได้อย่างแท้จริง”
แชร์ Best Practice ขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน
สำหรับรูปแบบ Symposium ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Content หรือการนำเสนอเนื้อหาในที่ประชุม ซึ่ง AIS ได้นำเสนอบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้าไปผลักดันให้เกิดความยั่งยืนทั้งในมิติของการสร้าง Cyber Wellness Ecosystem และการขยาย Green Network เพื่อร่วมบริหารจัดการ E-Waste ตลอดทั้ง Supply Chain ซึ่งได้รับความสนใจจากประเทศสมาชิกอย่างมาก โดยเฉพาะไอเดียการพัฒนาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยไซเบอร์ให้แก่ประชาชน ขณะเดียวกัน AIS เองก็ได้รับแรงบันดาลใจในการต่อยอด Thailand Cyber Wellness Index มาสู่มิติในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้กลายเป็นดัชนีที่สามารถชี้วัดการขับเคลื่อนเรื่องของความยั่งยืนได้อย่างรอบด้านทั้งในเรื่องของ Environment , Social และ Governance ได้ครบทุกมิติ
อีกส่วนหนึ่งคือ แนวทางในการจัด Activity ซึ่ง AIS ได้จัดกิจกรรมที่สามารถส่งมอบผลกระทบเชิงบวกให้ผู้คนและสังคมอย่างรอบด้านและยั่งยืน ทั้งการจัด ‘GalileOsis Night Eco Vision To Action’ เพื่อต้อนรับสมาชิกจากแต่ละประเทศ ซึ่งทุกมิติของงานเลี้ยงครั้งนี้เป็นหนึ่ง Best Practice ในการขับเคลื่อนเพื่อสร้าง Positive Impact ให้เกิดขึ้นกับผู้คนในชุมชนบ้านครัว ตั้งแต่การเลือกสถานที่จัดงานอย่าง GalileOsis ที่ผู้ก่อตั้งมีแนวคิดและเป้าหมายในการพัฒนา Art Space ขึ้นภายในพื้นที่ เพื่อมีส่วนช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้ลดน้อยลง รวมทั้งการตกแต่งสถานที่แบบ Cart Installation ด้วยสิ่งของและวัสดุในชุมชน เช่น การนำรถเข็นที่อยู่ในชุมชนมาทำ Food Station พร้อมการจัดเตรียมอาหารจาก เชฟแบล็ก- ภานุภณ บุลสุวรรณ ด้วยการนำเสนอ Sustainable Dinner จากวัตถุดิบในท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่า รวมทั้งใช้ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแยกขยะภายในงานอย่างเป็นระบบ ส่วนการแสดงต้อนรับก็ใช้นักแสดงภายในชุมชน ที่มาพร้อมเครื่องแต่งกายด้วยวัสดุที่ทำมาจากเศษผ้ารีไซเคิล เพื่อให้สมาชิกสัมผัสได้ถึงความเป็นไทยในอีกรูปแบบหนึ่ง ขณะเดียวกันยังช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนไปพร้อมกันด้วย
รวมทั้งยังมี Activity ที่เชื่อมโยงจากการประชุม ซึ่ง AIS เลือกทำกิจกรรมที่เข้าไปสนับสนุนการทำงานของกลุ่ม สภาเมืองคนรุ่นใหม่ หรือ BKK เรนเจอร์ โดยคัดเลือกเยาวชน 6 กลุ่มที่มีแนวคิดในการแก้ปัญหาเมืองในแต่ละมิติ มา Matching กับสมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อรับฟังแนวคิดการขับเคลื่อนของเด็กแต่ละกลุ่ม พร้อมให้คำแนะนำ มุมมองในการพัฒนาและต่อยอดจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเป็นการ Coaching ต่อเนื่อง 4-6 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทั้ง 6 ทีมมาพรีเซ็นต์การขับเคลื่อนโครงการในวัน Activity day ที่สมาชิกทั้ง 6 ประเทศ มาประชุมในประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะช่วยสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยมีมุมมองในการพัฒนา Business Model ใหม่ๆ ซึ่งสามารถเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่เข้ามาช่วยลดช่องว่างหรือปัญหาต่างๆ ในสังคมไทยในอนาคตได้ด้วย
“สิ่งที่ AIS ทำ เราไม่ได้มองแค่สิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า แต่มองถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาและสามารถต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนได้ในอนาคต ซึ่งการ Matching สมาชิกเข้ากับเด็กไทย เราไม่ได้สนับสนุนด้วยเงิน แต่เราเติมวิธีคิด เติมมุมมองในการต่อยอดปัญหาต่างๆ เพื่อได้โซลูชั่นและนำมาสู่การเกิด Business Model ใหม่ๆ ซึ่งสามารถไปช่วยแก้ปัญหาให้คนอื่นๆ ในสังคมได้ต่อไป เช่น การเปลี่ยนขยะขวดพลาสติกในเมืองเป็นตั๋วรถเมลล์ การพัฒนาแพลตฟอร์มเติมทักษะภาษาอังกฤษให้กลุ่มคนขับแท็กซี่ หรือการแก้ปัญหา Mental Health ภายในโรงเรียน ด้วยการตั้ง Student Reflex Club ซึ่งเด็กๆ จะได้ฝึกทั้งทักษะภาษาอังกฤษจากการสื่อสารกับโค้ชหรือผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศโดยตรง รวมทั้งฝึกวิธีคิดอย่างเป็นระบบและต่อยอดมาสู่การสร้างเป็นแพลตฟอร์มของการพัฒนาซึ่งสิ่งเหล่านี้จะติดตัวเด็กๆ ไปตลอด และสามารถต่อยอดให้เกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต”
โดยกรอบความร่วมมือจากการประชุม ที่จะถูกส่งต่อสู่การทำงานของแต่ละประเทศที่จะสร้าง Positive Impact ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกกลุ่มเพื่อต่อยอดความยั่งยืน ประกอบด้วย
กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบมีเป้าหมาย (Purpose-led sustainability strategy)
1. E-Environment and Climate : การป้องกันและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีกระบวนการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดการใช้วัสดุหรือการใช้ทรัพยากรโดยคงประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Dematerialization) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติมุ่งสู่ Net Zero
2.S-Social Impact: การหาแนวทางความเป็นไปได้ในการสร้างความปลอดภัยทางดิจิทัล สิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
3. G-Governance : การจัดตั้งคณะกรรมการผู้บริหารด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน การปฏิบัติตามข้อกำหนด การให้ความรู้และการฝึกอบรมต่างๆ
4. V-Value Creation : การสร้างคุณค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างคุณค่าที่มุ่งเน้นไปยังความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพื่อวิเคราะห์หาโอกาสการพัฒนาแผนกลยุทธ์โครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Opportunity Framework) ภายในกลุ่ม Singtel ได้มีการอัปเดทแลกเปลี่ยนความรู้และความสนใจร่วมกันทั้งด้านงาน Sustainability ในฐานะโครงการและกิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวกับ ESG ที่ตนเองทำ และมองหาความสนใจร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของการบริหารและการรวม ESG เข้ากับธุรกิจและเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ
ขณะที่กรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability ในการ Empower Every Generation : การสร้างบุคลากรที่มีสามารถขับเคลื่อนวัฒนธรรมขององค์กรผ่านแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อองค์กร โดยกรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability นั้นยังคำนึงถึงการปรับทิศทางของค่าตอบแทนหรือแรงจูงใจให้สอดคล้องกับแนวทางด้านความยั่งยืน
“การ Set New Standard ระดับภูมิภาคของ AIS ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดการเติบโตร่วมกันผ่านแนวคิด Partnership for Inclusive Growth เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แข็งแรงมากขึ้น พร้อมส่งต่อผลลัพธ์เชิงบวกให้ขยายผลออกไปในหลากหลายมิติมากขึ้น เพื่อให้แนวคิดด้าน ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นสารตั้งต้นและเข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อทุกการขับเคลื่อนทั้งการพัฒนามาตรฐานสินค้า บริการ หรือนวัตกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเดินหน้าของประเทศไทยสู่การเป็น Sustainable Nation ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแท้จริง”