ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เร่งยกระดับ LifeWear จากปรัชญาขององค์กรสู่มาตรฐานใหม่ของทั้งอุตสาหกรรม วางแนวทางสร้างสมดุลในธุรกิจเครื่องแต่งกายเติบโตอย่างยั่งยืน

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ขับเคลื่อนแนวคิด LifeWear = a New Industry เพื่อประกาศความตั้งใจในการยกระดับปรัชญา Lifewear ให้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของทั้งอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อสร้างซัพพลายเชนที่นำไปสู่​การเติบโตได้อย่างยั่งยืนตลอดทั้ง Ecosystem

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) บริษัทแม่ของยูนิโคล่ ขับเคลื่อนแนวคิด LifeWear = a New Industry  เพื่อใช้เป็นแนวทางสร้างสมดุลระหว่างความยั่งยืนกับการเติบโตของธุรกิจ ​​พร้อมร่วมส่งเสริมสังคมที่ยั่งยืน ด้วยการสร้าง​​​ระบบและกระบวนการทำงานที่มีความชัดเจนได้มากขึ้น รวมถึงสามารถ​ควบคุมตัวแปรต่างๆ ​ทั้งระบบ​ซัพพลายเชนได้อย่างแท้จริง ตั้งแต่การผลิตไป​จนถึง​​หลังการขาย  ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนที่สร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นตลอดทั้งซัพพลายเชน ​และสามารถ​ส่งมอบความยั่งยืนได้มากขึ้น ผ่าน​ความร่วมมืออันแข็งแกร่งในระยะยาวกับผู้ผลิตเสื้อผ้าและวัตถุดิบต่างๆ ได้ทั้งอีโคซิสเต็ม

แนวคิดนี้ทำให้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สามารถบริหารระบบซัพพลายเชนทั้งหมดได้ดีขึ้น สามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตทั้งหมดได้โดยตรงตั้งแต่ คุณภาพ การจัดซื้อ การผลิต สิ่งแวดล้อม และสิทธิพื้นฐานของแรงงาน​ โดยหลังจากเห็นภาพรวมระบบซัพพลายเชนตั้งแต่สินค้าที่เสร็จสมบูรณ์ไปจนถึงขั้นตอนของวัถตุดิบ ทางบริษัทเริ่มรวมธุรกิจระหว่างพาร์ทเนอร์ที่ได้รับเลือกจำนวนหนึ่ง รวมถึงแผนการในอนาคตเรื่องการสรรหาวัตถุดิบจากฟาร์มหรือไร่ปศุสัตว์ ขณะเดียวกัน ยังได้ยกระดับแนวคิด RE.UNIQLO เพื่อส่งเสริมการนำเสื้อผ้ายูนิโคล่มารีไซเคิลและนำกลับมาใช้อีกครั้ง จากการเปิดตัวเสื้อดาวน์ขนเป็ดรีไซเคิลในปี 2563 ซึ่งทางบริษัทยังคงเดินหน้าเพื่อการพัฒนาสินค้ารีไซเคิลอื่นๆ จากเสื้อผ้าที่ทำด้วยผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้าย

คุณโคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด กล่าวว่า “เรามีความรับผิดชอบต่อสินค้าทุกชิ้นผ่านปรัชญา LifeWear  ทั้งการผลิต ​การพัฒนาสินค้า และขั้นตอนหลังการขาย เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าของเรา สามารถใช้งานได้ยาวนานและตอบโจทย์ โดยหนึ่งในตัวอย่างที่สะท้อนความมุ่งมั่นได้​ชัดเจนคือ การเปิดตัวโปรเจกต์นำร่องร้านค้าเสื้อผ้ามือสอง ภายใต้ความ​​ร่วมมือกับลูกค้าของเรา ชุมชนท้องถิ่น และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ​เพื่อร่วมกันยกระดับความเป็นไปได้ของ LifeWear ในฐานะผู้สร้างธุรกิจที่ส่งเสริมชีวิตของผู้คนและสังคมทั่วโลก”

สำหรับความคืบหน้าในการขับเคลื่อนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของฟาสต์ รีเทลลิ่ง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้ในปี​งบประมาณ 2573 ​มีดังต่อไปนี่

ด้านการพัฒนาสินค้า

มุ่งเน้นการ​​ใช้วัสดุที่​ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ โดยตั้งเป้าในปี 2573 ต้องใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลให้ได้ 50%  ซึ่งปัจจุบันใช้อยู่ในสัดส่วน 30% ขณะที่ภาพรวมในการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าทั้งหมดอยู่ที่ 8.5% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.4%

โดยในปี 2566 นี้ สินค้าฮีทเทค (HEATTECH) และแอริซึ่ม (AIRism) ​ได้เริ่มใช้​เส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลและไนลอนมาผลิตเป็นครั้งแรก โดยยังคงคุณสมบัติเชิงฟังก์ชันนัลของสินค้าไว้ได้อย่างครบถ้วน ​และมีความนุ่มสบาย ​รวมทั้งเสื้อตัวนอก PUFFTECH ที่ทำด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ รีไซเคิล รวมทั้งเสื้อยืดกราฟิก UT บางรุ่นยังทำมาจากเส้นใยฝ้ายรีไซเคิลด้วย

การขยาย​​แนวคิด LifeWear  

ยูนิโคล่ ​​ได้ขยายแนวคิด RE.UNIQLO เพื่อส่งเสริมการนำเสื้อผ้ายูนิโคล่มารีไซเคิลและนำกลับมาใช้อีกครั้ง​ โดยในปีนี้มีโปรเจกต์นำร่อง​การเปิดตัวเสื้อผ้ายูนิโคล่มือสอง ซึ่งเปิดเป็นป๊อพอัพสโตร์ให้บริการช่วงสั้นๆ ไปเมื่อ 11- 22 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ​​ที่สาขาฮาราจูกุ ​ประเทศญี่ปุ่น

ส่วนการขยาย RE.UNIQLO STUDIO ที่​เปิดตัวครั้งแรกในลอนดอน เมื่อเดือนกันยายน 2565 เพื่อให้บริการด้านการซ่อมแซมและปรับโฉมเสื้อผ้า ได้เดินหน้าขยายสาขาเพิ่มเติมไปทั่วโลก จนถึงเดือนกันยายน 2566 มีบริการนี้อยู่ ​35 แห่ง ใน 16 ประเทศ  รวมทั้งยังมีแนวคิด​พัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อเพิ่มแนวทางให้สามารถเพิ่มการรีไซเคิลเส้นใยจากเสื้อผ้าได้มากขึ้น โดยขยายมาสู่กลุ่มผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้ายจากสินค้าของยูนิโคล่ที่รวบรวมจากร้านสาขา

มิติด้านการผลิต

เร่ง​จัดทำระบบการบริหารครบวงจรสำหรับซัพพลายเชนของบริษัท เพื่อ​สามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตทั้งหมดได้โดยตรง ตั้งแต่คุณภาพ การจัดซื้อ การผลิต สิ่งแวดล้อม และสิทธิพื้นฐานของแรงงาน รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบการได้มาของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการตัดเย็บได้ตลอดทั้งกระบวนการอีกด้วย

ทั้งนี้ ​​สินค้าคอลเลคชั่น​ฤดูร้อน/ฤดูใบไม้ร่วง 2566 ที่เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2566 ​สามารถระบุซัพพลายเออร์ตามขั้นตอนการผลิตเส้นใย ซึ่งผลิตจากแหล่งที่เชื่อถือได้และมีความร่วมมือในระยะยาวเพื่อผลิตสินค้าผ้าฝ้ายของยูนิโคล่ และในอนาคต ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนที่จะขยายแนวคิดเดียวกันนี้ไปยังซัพพลายเออร์สำหรับวัสดุอื่นๆ

พร้อมกันนี้ได้ขยายฐานการผลิตและ​เพิ่มกำลัง​ผลิตในโรงงานหลักที่จีน รวมถึงเพิ่มอัตราส่วน​สินค้าที่ผลิตจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน โดยอัตราการผลิตในประเทศอินโดนีเซียและเวียดนามเพิ่มสูงกว่า 50% นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตภายในประเทศในพื้นที่ที่ธุรกิจของบริษัทกำลังเติบโต เช่น อินเดีย

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ยังได้​จัดทำระบบเพื่อสามารกำหนดและตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและสถานที่ผลิตตลอดทั้งซัพพลายเชน เพื่อความสามารถในการควบคุมการจัดหาวัตถุดิบทั้งหมด โดยเริ่มต้นใช้​กับฝ้าย และจะนำระบบนี้ไปใช้กับวัสดุอื่นๆ ด้วย รวมทั้งในอนาคต จะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในเพื่อสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึง​ฟาร์ม ไร่ปศุสัตว์ หรือโรงงานต่างๆ รวมทั้งในกลุ่มเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล จะ​กำหนดผู้ผลิตและมาตรฐานคุณภาพของเกล็ดและเม็ดพลาสติก เพื่อควบคุมคุณภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัยของแหล่งผลิตให้อยู่ในระดับสูงสุด

โดยได้มีการสรุป Production Partner Code of Conduct กับผู้ผลิตเส้นใย สำหรับสินค้าผ้าฝ้ายของยูนิโคล่ในฤดูใบไม้ผลิปี 2566 การตรวจสอบทั่วไปสำหรับผู้ผลิตเส้นใยรายหลักดำเนินการจนถึงเดือนสิงหาคม 2566 โดยเริ่มใช้มาตรการเดียวกันนี้กับผู้ผลิตเส้นโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้น

ตั้งแต่ปี 2566 ยูนิโคล่และ GU เริ่มเผยข้อมูลประเทศผู้ผลิตของแต่ละสินค้าผ่านเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ในบางประเทศ และมีแผนที่จะขยายความคิดริเริ่มนี้ไปยังตลาดอื่นๆ อีกด้วย

เป้าหมายด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 จาก​สาขาและสำนักงาน (Scope1) 

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHC) จากการใช้พลังงานในร้านสาขาและสำนักงานให้ได้ 90% ภายในปีงบประมาณ 2573  จากฐานในปีงบประมาณ 2562 โดยจนถึงปี 2565 สามารถลดลงได้ถึง 45.7%

นอกจากนี้ ตั้งเป้าการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% สำหรับร้านสาขาของทั้งกลุ่ม และสำนักงานทั่วโลกภายในปีงบประมาณ 2573  โดยล่าสุดในปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการไปแล้ว 42.4 %

จากซัพพลายเชน (Scope 2-3 )

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHC) ให้สอดคล้องกับการผลิตวัตถุดิบ การผลิตเนื้อผ้า และการตัดเย็บสินค้าของยูนิโคล่ และ GU ให้ได้ 20% ภายในปีงบประมาณ 2573  จากฐานในปีงบประมาณ 2562 ​โดยปี 2565 ทีผ่านมา สามารถลดระดับการปล่อยก๊าซได้ 6.2% โดย ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะเดินหน้าร่วมมือกับโรงงานพาร์ทเนอร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

การริเริ่มด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เผยแพร่นโยบายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติของกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Group Biodiversity Conservation Policy) บริษัทมีความต้องการบรรลุเป้าหมายเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบวกซึ่งเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท (Value Chain) ในระยะยาว

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จัดทำแบบประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสี่ยงด้านการพึ่งพาในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งระบุถึงผลกระทบสำคัญของการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้าย

สำหรับผ้าแคชเมียร์ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ร่วมมือกับนักวิจัยจาก University of the Ryukyus ประเทศญี่ปุ่น ในการใช้ดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถานะของผลผลิตจากไร่ปศุสัตว์ที่ผลิตขนแพะแคชเมียร์ให้กับยูนิโคล่ โดยบุคลากรแผนกความยั่งยืนได้เยี่ยมชมไร่ปศุสัตว์ และทำการสำรวจภาคสนาม

สำหรับผ้าวูล ฟาสต์ รีเทลลิ่ง วางแผนที่จะดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับผ้าแคชเมียร์  นอกจากนี้ บริษัทกำลังศึกษาเกี่ยวกับการนำเกษตรแบบหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับผ้าฝ้าย

กิจกรรมเพื่อสังคม

ในปีงบประมาณ 2566 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สนับสนุนเงินจำนวน 5.4 พันล้านเยน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงจัดหาเสื้อผ้าจำนวน 1.13 ล้านชิ้น โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้ถึง 1.82 ล้านคน

ในเดือนกันยายน 2565 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เปิดตัวโปรเจกต์เพื่อสนับสนุนการดำรงชีพโดยร่วมมือกับ UNHCR เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยหญิงชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศ โดยดำเนินการฝึกทักษะการตัดเย็บให้กับผู้หญิงประมาณ 350 คน ได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม 2566 นอกจากนี้ สิ่งของบรรเทาทุกข์อาทิ ผ้าอนามัยแบบซักได้กว่า 2 ล้านชิ้น และชุดชั้นในผู้หญิงกว่า 430,000 ชิ้นถูกผลิตขึ้นเพื่อแจกจ่ายไปยังแคมป์ผู้ลี้ภัย ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายในการอบรมให้กับผู้หญิงจำนวน 1,000 คนให้เสร็จสิ้นภายในปี 2568 เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้หญิงในแคมป์ผู้ลี้ภัย

มูลนิธิฟาสต์ รีเทลลิ่ง ยังได้จับมือกับ Philanthropy Asia Alliance ในเดือนกันยายนปี 2566 โดยมูลนิธิวางแผนจะสนับสนุนเงินจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะเวลามากกว่า 10 ปี เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การศึกษา และสาธารณสุขในทวีปเอเชีย ซึ่งมูลนิธิยังเปิดตัวโปรแกรมทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติในเวียดนาม โดยนักเรียนกลุ่มแรกจำนวน 6 คนจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2566

Stay Connected
Latest News