ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตของโลกดิจิทัล นำมาซึ่งปริมาณ E-Waste ที่เพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นำมาสู่ปัญหาโลกเดือดจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามมาในที่สุด
ขณะที่เป้าหมายสำคัญของ AIS ในฐานะผู้นำด้านเครือข่าย คือการสร้าง Green Network เพื่อชักชวนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนร่วมกัน โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักต่อปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste พร้อมสร้างเครือข่ายศูนย์กลางบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ HUB of e-waste เพื่อการบริหารจัดการอย่างถูกวิธีโดยปราศจากการฝังกลบ หรือ Zero e-waste to landfill ได้ในที่สุด
พร้อมต่อยอดสู่เวทีสัมมนา “AIS Greenovation The Road Towards Digital World เชื่อมต่อนวัตกรรมสู่การเติบโตในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน” เพื่อชวนพาร์ทเนอร์และ Stake Holder ภายใน Ecosystem มาร่วมถกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและแนวทางการทำงานเพื่อร่วมกันลด และแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน
งานเสวนาเริ่มด้วยการฉายภาพให้เห็นสถานการณ์การปล่อยคาร์บอนทั้งในระดับโลก และระดับประเทศ จาก คุณภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) กล่าวถึงสถานการณ์การปล่อยคาร์บอนทั้งในระดับโลก และในระดับประเทศ รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในหัวข้อ “Empowering Digital, Empowering Greener” โดยพบว่า ปัญหา Climate Change ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะแถบยุโรปที่เริ่มพบผู้ป่วยและเสียชีวิตจากอุณหภูมิที่สูงเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ประเทศไทยเองมีผู้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอาจจะสูงถึง 2.89 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่างบประมาณทั้งประเทศที่มีราว 3 แสนล้านบาท จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนและทุกภาคส่วนเพื่อมีส่วนแก้ปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกว่า 200 ประเทศทั่วโลก เริ่มประกาศเป้าหมายในการขับเคลื่อนสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero เช่นเดียวกับบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่างไมโครซอฟท์ หรือแอปเปิ้ล ที่ประกาศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030 ส่วนประเทศไทยเองก็มีมากกว่า 510 องค์กรแล้ว ที่ประกาศขับเคลื่อนการจัดการก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร ขณะที่ทาง TGO ก็มุ่งมั่นในการพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลอย่างแอปพลิเคชัน Zero Carbon ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็น Carbon neutral และ Net zero ทั้งในระดับองค์กรหรือในระดับบุคคลได้ง่ายมากขึ้น
ด้าน คุณจำรัส สว่างสมุทร ผู้อำนวยการใหญ่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงแนวทางสู่การเป็น Green Industry และบทบาทสำคัญของ สอท. ต่อการทรานสฟอร์มสู่ Next Gen Industry เพื่อสะท้อนถึงความเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ที่จำเป็นต้องขับเคลื่อน 3 มิติ ต่อไปนี้ คือ 1. สามารถสร้าง S-curve ให้อุตสาหกรรมได้ เช่น การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมรถยนต์ จากเครื่องสันดาปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า แต่ประเทศไทยก็สามารถสร้าง Advantage ในฐานะฐานผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ได้ทั้งการขยายสู่อุตสาหกรรม EV รวมทั้งการเป็น Last Man Standing ในกลุ่มเครืองยนต์สันดาปอีกด้วย
2. การนำหลักการ BCG มาช่วยในการทรานสฟอร์ม ทั้งด้าน Bio Economy ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบจากความหลากหลายของพืชพรรณธรรมชาติ แต่ยังขาดไอเดียในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ ส่วน Circular ต้องให้ความสำคัญเรื่องของการรีไซเคิลตั้งแต่เริ่มออกผลิตภัณฑ์ หรือ Circular By Design ส่วน Green คือการให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และต้องมองครบทั้ง 3 มิติ ตั้งแต่ Eco Product, Eco Factory และ Eco Town ซึ่งจะเชื่อมโยงมาสู่ปัจจัยที่ 3. การดูแลสังคมและเรื่อง Climate Change เพราะไทยเป็นฐานผลิตสินค้าหลายประเภทที่ต้องส่งออก โดยเฉพาะในยุโรป ที่เริ่มมีการใช้มาตรการภาษีมาเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยต้องตื่นตัวและเร่งปรับตัว
การสร้างดิจิทัลโซลูชัน และโครงข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่มุมมองจากผู้ขับเคลื่อน Digital Infrastructure อย่าง AIS และหัวเว่ย ได้ร่วมฉายมุมมองการยกระดับการทำงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อมุ่งสู่ Green Network ในหัวข้อ The Road Towards Green Network & Solution เส้นทางสู่การสร้างดิจิทัลโซลูชัน และโครงข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม สะท้อนภาพรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในโลก และมุมมองต่อการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปยกระดับการทำงานของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้ง Value Chain
โดย คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS ให้ข้อมูลว่า โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกมีการตั้งเป้าหมายในเรื่องสิ่งแวดล้อมไว้แล้ว โดยบทบาทของเทคโนโลยีไอซีทีและกลุ่มเทเลคอม ไม่เพียงขับเคลื่อนเพื่อผลกระทบของตัวเองเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็น Enable Effect ที่เข้าไปมีส่วนสร้างผลกระทบเชิงบวกให้คนอื่นๆ ด้วย เช่น การพัฒนาโซลูชั่นด้านการสื่อสาร อย่างการใช้สมาร์ทโฟน หรือการประชุมออนไลน์ ก็ส่งผลให้การเดินทางต่างๆ ลดลง ส่งผลให้การปล่อยคาร์บอนลดลงเช่นกัน รวมถึงการพัฒนา Smart Solutions ให้อุตสาหกรรมต่าง เช่น Smart Building, Smart Manufacturing เป็นต้น โดยพบว่า อุตสาหกรรมมมากกว่า 80% ที่มีการปล่อย CO2 ขณะที่เทคโนโลยีไอซีทีเข้าไปมีส่วนร่วมในการลด CO2 ลงได้อีกกว่า 40% จากภาพรวม
ขณะที่เอไอเอสเองมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการลดคาร์บอนในแต่ละปีเทียบเท่าได้กับการปลูกต้นไม้ 17 ล้านต้น รวมทั้งการใช้ดิจิทัลช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมตลอด Value Chain ตั้งแต่การพัฒนาโครงข่ายที่ใช้แนวคิด Green Network ท้ังการใช้ Renewable อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมภายในสถานีโครงข่าย และนำ AI เข้ามาบริหารจัดการประมวลผล และวิเคราะห์คำนวนการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การให้ความสำคัญในมิติของฮาร์ดแวร์ที่มีความเป็น Network Function ที่แม้ว่าจะมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ต่างๆ ก็ยังคงสามารถรันได้จากอุปกรณ์เดิมเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานได้นานมากขึ้น รวมทั้งมีทีมซ่อมบำรุง Predictie Maintainannce ที่สามารถประเมินการซ่อมได้ล่วงหน้า พร้อมใช้ AI Optimization ในการบริหารจัดการท้ังการเดินทาง กำลังคน เพื่อประสิทธิภาพในภาพรวม รวมไปถึงการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งอุตสาหกรรม เพื่อออกแบบทั้งบริการและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าในยุคที่มีการใช้งานข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สอดคล้องกับ คุณวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ที่มองว่า ผู้ให้บริการ Digital Infrastructure โดยเฉพาะในยุค Digital Transformation นอกจากรองรับการทรานส์ฟอร์มแล้ว จำเป็นต้องมองผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทในทุกๆ การปฏิวัติอุตสาหกรรมทุกยุค โดยเฉพาะยุคที่ทุกคนมุ่งสู่ Net Zero ก็จะมีการพูดถึง Renewable หรือการยกระดับ Power Efficiency มากขึ้น สะท้อนความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการบรรลุ Green Mission โดยเฉพาะการคอนเวอร์เจนท์เทคโนโลยีที่น่าสนใจจากทั้ง 2 แขนงให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างบูรณาการ เพื่อพัฒนาเป็นสมาร์ทโซลูชั่นที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนในภาพรวมลงได้
รวมพลังขับเคลื่อน HUB of E-Waste
ปิดท้ายงานสัมมนาด้วยหัวข้อสำคัญอย่าง The Ecosystem of e-waste road to ZERO Waste สะท้อนภาพอีกหนึ่งมุมจากการพัฒนาด้านดิจิทัล ที่เมื่อมีการพัฒนามีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็ส่งผลต่อเนื่องมายังปริมาณของจำนวน Digital Device ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนใน Ecosystem ที่ต้องร่วมกันจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนเห็นความสำคัญและรู้ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากขยะเหล่านั้นไม่ได้เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง โดยในวงสัมมนามีพาร์ทเนอร์จากหลายหลายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสื่อมวลชนมาเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS, ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ETDA , คุณเอกพัชร์ สิทธิไตรวัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนธุรกิจและบริการกลาง บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน), คุณสุทธิดา ฝากคำ ผู้จัดการอาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด (WMS) และ คุณสมปรารถนา นาวงษ์ ผู้ก่อตั้ง “เพจอีจัน”
โดย คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS ให้ข้อมูลปิดท้ายงานสัมมนาคร้ังนี้ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งจากปริมาณ E-Waste ที่เพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นปัญหาสำคัญ โดยพบว่ามีมูลค่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเผาทำลายมากถึง 5.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและสามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้เพียง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ซึ่งปริมาณที่สูญหายไปในระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาล และการเข้าสู่ยุคดิจิทัลทำให้ปริมาณ E-Waste เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมมีการประเมินไว้ว่าภายในสิ้นปีนี้ จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะมีอยู่กว่า 5.4 พันล้านเครื่อง และจะก้าวกระโดดขึ้นเป็นกว่า 9 พันล้านเครื่อง ภายในปี 2030 ซึ่งหากเทียบเป็นปริมาณจะมีรวมกันกว่า 61.3 ล้านตัน หรือแต่ละคนจะถือครองมากกว่า 8 กิโลกรัม โดยจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 74.7 ล้านตันภายในปี 2030 และเป็นมากกว่า 110 ล้านตัน ภายในปี 2050
พร้อมกันนี้ยังพบข้อจำกัดที่ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกต้องได้ โดย 83% เพราะไม่รู้ว่าจะส่งไปรีไซเคิลได้ที่ไหน ทำอย่างไร 60% ไม่รู้ว่าสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 58% ไม่อยากจ่ายค่าธรรมเนียมในการทิ้งขยะรีไซเคิล (สำหรับในบางพื้นที่ที่มีการจัดเก็บ) และ 52% ที่กังวลว่าข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในเครื่องจะหลุดรอดไปสู่บุคคลอื่น รวมทั้งจากการสำรวจผู้บริโภคคนไทย และพบว่ามีถึง 65% ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร
“จากการค้นพบปัญหาต่างๆ ทำให้ AIS เข้ามาเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนโครงการคนไทยไร้ E-WASTE เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล้กทรอนิกส์ที่เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทั้งโลกกำลังให้ความสำคัญ และกลายเป็นหนึ่งในวาระที่การประชุม COP28 จะเริ่มพูดคุยกัน โดย AIS ได้ผนึกความร่วมมือกับทุกภาคส่วนใน Ecosystem กว่า 190 องค์กร เพื่อขับเคลื่อน HUB of E-Waste เพื่อแก้ไขสิ่งที่ยังเป็นข้อกังวลหรือ Painpoint ในด้านต่างๆ ทั้งการให้องค์ความรู้ การสร้างเครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ขยายจุดในการรับทิ้งให้ครอบคลุม รวมทั้งบริการด้านการขนส่ง หรือแม้แต่ด้านรีไซเคิล เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงช่องทางการทิ้งที่จะนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้องและปราศจากการฝังกลบ หรือ Zero e-waste to landfill ได้ในที่สุด”
นับได้ว่างานสัมมาครั้งนี้ ได้สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิด Green Network ที่เข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยเฉพาะความตั้งใจในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน โดยมีภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนอย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม พร้อมกิจกรรมสาธิตภายในงาน แสดงให้เห็นการคัดแยก E-Waste เพื่อนำไปรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่เหลือเป็นขยะฝังกลบ รวมท้ังยังได้คำนวนปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดจากงานครั้งนี้ เพื่อทำการชดเชยให้การจัดงานครั้งนี้มีความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือ Carbon Neutral Event อีกด้วย