หลังวิกฤตโควิด-19 เราจะเห็นความพยายาม Transformation ในหลากหลายรูปแบบขององค์กรไทยไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่มักทุ่มงบประมาณไปกับการจัดระบบ IT ใหม่ หรือเปลี่ยนโครงสร้างงานบริหารให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
แต่สุดท้ายอาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีตามความคาดหมาย เพราะมักจะลืมการ Transform เรื่องสำคัญที่สุดไป นั่นคือการบริหารงาน HR เพื่อดูแลบุคลากร ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดให้เหมาะสม
คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง ซีแอค (SEAC) ผู้นำด้านการพัฒนาผู้นำ บุคลากรและองค์กร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวว่า SEAC เดินหน้าพัฒนาบุคลากร และองค์กรต่อเนื่อง ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี ผ่านเครือข่ายพันธมิตร และคนจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในระดับปฏิบัติการ ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการจากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ลูกค้าหลายรายได้ให้ความเห็นว่าธุรกิจไทยในโลกยุคหลังโควิด-19 นั้นตกต่ำลง โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry) ที่มีปัญหาเรื่องการส่งออก แม้จะมีความช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมถึงความพยายามอย่างมากที่จะ Transform องค์กรด้วยเครื่องมือหลากหลายแล้วก็ตาม
ปิ๊งไอเดีย ตั้ง SEAC HR Club คลับพูดคุยเพื่อผู้นำ
หากมองภาพรวมประเทศ จะเห็นว่าหลายสิ่งในไทยไม่ต่างจากเมื่อหลายสิบปีก่อนนัก เช่น ภาคการศึกษา ที่ไม่ได้ผลิตแรงงานจบใหม่ที่มีศักยภาพพอ หากเทียบกับระดับโลก ประเทศเราจึงไม่ได้มี “ผู้มีความสามารถโดดเด่น” หรือ “Talents” มากนัก ที่มีอยู่ก็มักเป็นประเภท “โชว์ได้ แต่ ใช้ไม่ได้” เพราะยังไม่เท่าทันโลกยุคดิจิทัลที่ต้องมีสกิลรอบด้าน จึงมีธุรกิจไทยเพียงน้อยนิดที่สามารถนำความสำเร็จเทียบเคียงธุรกิจประเภทเดียวกันในนานาชาติ ขณะที่รายได้เศรษฐกิจไทยเองยังต้องพึ่งพาการเติบโตของธุรกิจเอกชนเป็นหลัก
ทั้งนี้ ซีแอค (SEAC) มองว่าหากจะเริ่ม Transform องค์กรให้รอด ควรจัดเรื่อง “คน” เป็นความสำคัญลำดับแรกสุดของการเปลี่ยนแปลง โดยต้องเริ่มที่ผู้นำองค์กร เพื่อผลิตคนให้เก่งพอที่จะพาศรษฐกิจไทยก้าวไปข้างหน้า จึงได้จัดตั้ง “SEAC HR Club คลับพูดคุยเพื่อผู้นำ” เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ แลกเปลี่ยน และเก็บเกี่ยวเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต่อการก้าวสู่ยุค Transformation ที่คนต้องทำงานร่วมกับ AI พร้อมพูดคุยเรื่องคน ค้นหาก้าวใหม่ๆ ที่ผู้บริหารระดับสูง เจ้าของกิจการ หรือองค์กร และ Top HR ต้องรู้
“ไอเดียนี้มาจากการมองเปรียบเทียบระหว่างงาน HR ในไทย กับระดับนานาชาติเรื่องของผู้คนในองค์กร ที่มีมุมมองที่ต่างจากไทยมาก Top HR ในหลายประเทศอายุยังแค่ 30 ต้นๆ เพราะองค์กรต่างชาติมีความต้องการที่จะ Reframe ภาพของงาน HR ด้วยความคิดแบบคนรุ่นใหม่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญของ SEAC ในฐานะผู้นำด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคคลและองค์กร คือจะทำอย่างไรให้องค์กรต่างๆ เข้าใจการดูแลคนในภาพใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเริ่มต้นที่ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ รวมถึง Top HR เป็นลำดับแรก”
แนะ 8 บทเรียน (8 Critical Themes) สร้างประโยชน์ที่จับต้องได้จริงสำหรับผู้นำ
SEAC HR Club ไม่ใช่การอบรมทั่วไป แต่เป็นพื้นที่เรียนรู้ที่เข้มข้น ผสานกับนวัตกรรมเอกสิทธิ์เฉพาะของ SEAC อย่าง SEAC’s SMART Learning เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมโยงกับบริบทของแต่ละบุคคล และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงทันที เสริมด้วยจุดแข็งจากเครือข่ายพันธมิตร และคู่ค้าที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากทั่วโลก ทั้งในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ทำให้เข้าใจว่าแต่ละสถาบันของโลกเก่งด้านไหนอย่างไร และรู้ว่าเรื่องอะไรบ้างของ HR ที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งยังอัดแน่นด้วยหัวข้อจำเป็นเร่งด่วนสำหรับโลกยุคใหม่ ทั้ง 8 หัวข้อ มีกิจกรรมต่างๆ ที่เอื้อให้ผู้เข้าร่วมสามารถไขว่คว้าประโยชน์ให้กับองค์กรของตนได้ ซึ่งเปิดให้ผู้บริหารระดับสูง ผู้นำธุรกิจ หรือองค์กร และ Top HR ที่มี Passion ด้านการเปลี่ยนแปลงมาเข้าร่วม ประกอบด้วย
1. Reframing the People Leader Role : ปรับบทบาทผู้นำเป็น People Leader เน้นพาคนก้าวไปพร้อมกันแทนการสั่งการ
ประเด็นสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการคนได้ เพราะ ส่วนใหญ่ยังมีแนวคิดแบบเก่า (Old Paradigm) เน้นรูปแบบการออกคำสั่งกับผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้น บทบาทผู้นำจึงต้องเปลี่ยนมาที่คำว่า People Leader เพื่อทำหน้าที่ชวนคนในองค์กรก้าวเดินไปพร้อมกัน ผู้บริหารที่มาร่วมเรียนจะได้รับฟังจากคณะผู้บริหารระดับ C จากภูมิภาค ที่มีประสบการณ์ในการปรับกลยุทธ์การบริหารคนและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้ workforce มีประสิทธิภาพจากหลากหลายองค์กร ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพว่า ผู้นำองค์กรที่ชวนกันไป ประสบความสำเร็จอย่างไร ถือเป็นการเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ใช่ทฤษฎี
2. Reframing HR as Drivers of Change and Organization Transformation : พลิกโฉม HR จุดเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงองค์กร
ผู้นำ และ Top HR ควรเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ต้องเริ่ม Transform เพื่อเป็นสารตั้งต้นในการพลิกโฉมบุคลากรและผลักดันให้ Digital Transformation เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรได้สำเร็จ นำโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Reframing HR อย่าง ศาสตราจารย์ Christopher Rider และรองศาสตราจารย์ Thomas C. Kinnear อาจารย์ประจำภาควิชา Entrepreneurial Studies แห่ง Michigan Ross Business School ที่จะมาแนะนำอธิบายทีละขั้นตอนจนเห็นภาพชัดที่สุด
3. Reframing HR in the AI Age : ปรับบทบาทใหม่ HR ให้ทันโลกยุค AI
การเกิดขึ้นของ AI จะรุนแรง และสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน มากกว่าอินเตอร์เน็ตหลายเท่าตัว ผู้บริหารรวมถึงเจ้าของกิจการ และ Top HR จึงต้องหาวิธีให้คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกับ AI ให้ได้ โดย SEAC HR Club ได้เปิด AI Market เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มาช็อปปิ้งเครื่องมือที่เหมาะกับเป้าหมายองค์กรของตน โดยจะได้พบกับรองศาสตราจารย์ Michael Bernstein อาจารย์ประจำภาควิชา Computer Science มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่จะชี้ชวนและแนะนำว่าบุคลากรในองค์กรจะทำงานคู่กับ AI ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร
4. Reframing People Management and HR Operations for Workforce NEXT : บริหารบุคลากรหลากหลายช่วงวัย
เมื่อในองค์กรประกอบด้วยคนหลากหลายรุ่น หรือ Multi-Generational Workforce ผู้นำจึงต้องหาแนวทางจัดการให้คนทุกวัยสามารถทำงานร่วมกันได้ ในส่วนนี้ผู้บริหารที่มาร่วมเรียนจะได้ร่วมกันวิเคราะห์ และหาทางออกในประเด็นดังกล่าวไปกับ Michael Fors ศาสตราจารย์วุฒิคุณ แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้ควบตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายองค์กรและพัฒนาภาคธุรกิจของ Boeing ทั้งยังเข้าไปเป็นที่ปรึกษา และร่วมลงมือปฏิบัติการจริงให้กับองค์กรยุคใหม่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกา
5. Reframing HR’s Role in the Gig Workforce Age : พลิกบทบาทของ HR ในการบริหาร “Gig Workforce”
จากสถิติพบว่า องค์กรที่ก้าวกระโดดในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา คือองค์กรที่เริ่มใช้ Freelancer หรือ Gig Workforce ในองค์กรมากว่า 38% ดังนั้น ผู้นำและ Top HR จึงต้องมีแผนบริหารคน ทั้ง 2 กลุ่มไปพร้อมกัน ที่สำคัญคือการมี Career Path ให้ Gigs ทั้งการขึ้นเงินเดือน และการให้รางวัล เพื่อโอบรับคนเหล่านี้ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขา ผู้บริหารที่เรียนจะได้พูดคุยกับ Gigs จากหลากหลายกลุ่มในระดับภูมิภาคและนานาชาติมาร่วมให้ข้อมูลเชิงลึก และคำแนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัว รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มธุรกิจที่ส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ใช้ความสามารถจากตลาดแรงงาน Gigs ที่มีทักษะในการช่วยขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร และยังจะมีการเปิดตลาดนัด Gigs ที่มีศักยภาพ ให้ผู้บริหารที่มาเรียนคัดเลือกกลับไปร่วมงานกับองค์กรตัวเอง
6. Reframing Total Employee Experience : ยกระดับประสบการณ์การทำงานของบุคลากร
วันนี้พนักงานไม่ได้สนใจแค่ว่า ได้เงินเดือนเท่าไหร่ หรือกำลังทำงานอย่างไร แต่สนใจว่ากำลังมีประสบการณ์อย่างไรกับการทำงาน หากองค์กรสามารถสร้างประสบการณ์การทำงานในทุกวันและทุกโมเมนต์ตามความคาดหวังของพนักงานได้ ก็จะถือเป็นการสร้างแรงกระตุ้นในการทำงาน และทำให้พนักงานเลือกที่จะอยู่กับองค์กรต่อไป
7. Reframing Getting, Developing, and Keeping Talent : ค้นหา พัฒนา และรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ (Talent) ในนิยามใหม่
การเกิดขึ้นของ AI ทำให้หลายประเทศและหลายองค์กรต้องหันกลับมาทบทวนนิยามใหม่ของคำว่า “คนเก่ง” ในยุคนี้ว่าหมายความว่าอะไร เพราะคนที่เคยเก่งในอดีตอาจจะไม่ได้เก่งอีกต่อไป ทั้งนี้ เพื่อวางแผนการหาคนเก่ง และสร้างคนเก่งที่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้คนเก่งยังคงทำงานให้กับองค์กรต่อไป ในช่วงนี้ทุกคนจะได้ร่วมเรียนรู้กระบวนการปฏิวัติการทำงานคู่กับ AI โดย Michael Fors ผู้บริหารฝ่ายองค์กรและพัฒนาภาคธุรกิจของ Boeing และศาสตราจารย์วุฒิคุณแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
8. Reframing People and Workforce Capability Development : เปลี่ยนเลนส์มองโลกการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และสร้างแผนการจัดการองค์กรแบบใหม่
ในธีมนี้จะได้พูดคุยกับคณะผู้บริหารระดับ C ในระดับภูมิภาคที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงวิธีพัฒนาความสามารถของบุคคลและองค์กร จากนั้นจะจัดเป็นพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนหลังการเรียนทั้งหมด โดยให้ผู้บริหารที่ร่วมเรียนทุกคนมาเป็น Speaker ร่วมกัน เพื่อเห็นการบริหารจัดการในภาพรวมทั้งหมด และสร้างกระบวนการพัฒนาคนสู่ภาพใหม่ เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำ Conversation Mapping บทสนทนาชวนคิด แบ่งปันประสบการณ์จากการนำสิ่งที่เรียนไปลงมือปฏิบัติ และระดมความคิด จนเกิดเป็นแผนบริหารจัดการบุคลากรที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กรตัวเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่นำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
“ภายใต้กระแสของ Transformation หลายองค์กรกลับมองว่าการลงทุน Transform คนนั้นไม่คุ้มค่า เพราะเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมกลับมาได้ยาก รวมถึงไม่สามารถวัดผลกำไรได้ด้วย ซึ่งอาจจะจริงสำหรับในองค์กรที่ยังยึดกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการแบบเก่า หรือไม่สามารถเชื่อมโยงงานบริหารคนเข้ากับเทรนด์ของโลกยุคใหม่ได้อย่างเหมาะสม หากไม่พยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องดูแลคนในองค์กรให้สามารถเข้ากับยุค AI Transformation เป็นไปได้ว่าผลประกอบการของบริษัทนั้นๆ จะถูกแซงโดยบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า และอาจทำให้ภาพรวมภาคเอกชนของไทยไม่สามารถเติบโตได้ทันกับความเป็นไปของโลกอีกด้วย” คุณอริญญา กล่าวทิ้งท้าย