Sustainable Brand (SB) THAILAND ก่อตั้งมากว่า 8 ปี เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สร้างการมีส่วนร่วม ในฐานะชุมชนนักคิด นักสร้างสรรค์ ที่ตั้งใจสร้างโลกของธุรกิจให้สามารถสร้างความยั่งยืนสำหรับอนาคตที่เป็นไปได้จริงๆ โดยให้บริการความรู้ การสนทนา การประชุม การจัดการแบรนด์ ผ่านกิจกรรมหลากหลาย ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก ผ่านการทำงานร่วมกับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง
และ เพื่อให้เกิดพัฒนาการเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านความยั่งยืน จึงได้ต่อยอดแนวคิด Regenerative Brand มาใช้ ขับเคลื่อนเรื่องของความยั่งยืนให้มีความสมบูรณ์ และลงลึกได้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความความต่อเนื่องเชื่อมโยงสถานการณ์ในปัจจุบันส่งต่อไปยังอนาคต ผ่านความพยายามฟื้นคืน สร้างมูลค่าให้กับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อส่งมอบคุณค่าที่มากขึ้น และสามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท้าทาย สามารถต้านทานและพลิกฟื้นสภาพที่เป็นอยู่ของโลก สังคม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างดีขึ้น ซึ่งหากมีแบรนด์ใช้แนวทาง Regenerative มากขึ้น จะช่วยฟื้นคืนสมดุลโลก สร้างอนาคตที่ทุกชีวิตทั้งคนและธรรมชาติมีความยั่งยืนร่วมกันได้อย่างแท้จริง
และในปี 2566 นี้ ทาง Sustainable Brand (SB) THAILAND จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ SB’23 BANGKOK CHANTHABURI: Regenerative Food, Regenerative Future ภายใต้ความร่วมมือกันของ SB ประเทศไทย และ SB ประเทศสเปน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เป็นความร่วมมือระหว่าง SB ทั้ง 2 ประเทศ โดยในงานประชุมจะเต็มไปด้วยกิจกรรมที่จะทำให้ทุกคนรู้จักกับแนวคิด Regenerative ผ่านหัวข้อใหญ่ 2 เรื่องที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและศักยภาพของประเทศ นั่นคือเรื่อง Food System และ Placemaking ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยเช่นเดียวกันที่มีการเจาะประเด็นทั้ง 2 เรื่องนี้อย่างลงลึก
ภายในงานจะจัดการเรียนรู้ที่กรุงเทพฯ และลงมือทำการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (workshop) จริงที่ จ.จันทบุรี และจะนำกรณีศึกษาต่างๆ ระดับนานาชาติมาร่วมส่งต่อให้กับคนสร้างแบรนด์ นักธุรกิจ นักคิดและคนทั่วไปที่มีความใส่ใจให้ชวนกันลุกขึ้นมาเปลี่ยนสังคมด้วยการใช้วิธีการต่างๆ และการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เกิด regenerative future ได้เป็นจริงในประเทศไทยในอนาคตข้างหน้า
ดร. ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ SB ประเทศไทย กล่าวถึงรายละเอียดว่า “งานประชุม SB’23 BANGKOK CHANTHABURI จะนำเสนองานประชุมที่ผสานการเรียนรู้ และ การปฏิบัติจริงบนพื้นที่จริง ที่.จันทบุรี โดยกิจกรรมในงานประชุมจะช่วยนำพาให้ทุกคนรู้จักกับแนวคิด Regenerative ผ่านระบบการเกษตร ระบบอาหาร (food system) และการฟื้นฟูและสร้างพื้นที่สร้างสถานที่ให้กลับมาสมบูรณ์ (placemaking) เพื่อให้เป็นระบบเชื่อมต่อที่จะผสานการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา (resilience) นำสิ่งที่หายไปกลับมา (restore) และสร้างอนาคตที่ทุกชีวิตทั้งคนและธรรมชาติมีความยั่งยืนร่วมกันได้อย่างจริงแท้ (regenerate) ทั้งในประเทศไทย และในโลกใบนี้
และเพราะประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นครัวและคลังอาหารของโลก และจันทบุรีก็เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายทั้งในเรื่อง อาหาร วัตถุดิบการเกษตร และ สถานที่อันอุดมสมบูรณ์ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดกันอยู่ จึงได้ทำการจัดงานครั้งนี้ ทั้งที่กรุงเทพฯ และจันทบุรี เพื่อชวนทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยถึงความเป็นไปได้ และสิ่งที่ควรจะทำให้เกิดขึ้น ภายใต้วิถีแนวทางของ Regenerative ผ่านกิจกรรมที่คัดสรร โดยมีนักคิดระดับโลก 2 ท่าน คือ Marc Buckley และ Jenny Andersson มาร่วมแบ่งปันความรู้ พร้อมนำการทำเวิร์คช็อปด้วยตนเอง ในช่วงระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤศจิกายน 2566
สำหรับแนวคิด Regenerative คือ แนวคิดใหม่ที่ต่อยอดขึ้นไปจากความยั่งยืน (sustainability) เมื่อก่อนเราจะรู้ว่าหลักของความยั่งยืนหรือ sustainability เน้นไปที่หลัก 3 Rs ได้แก่ Reuse นำกลับมาใช้ซ้ำ Reduce ลดการใช้สิ่งที่ย่อยสลายยากซึ่งอาจกลายเป็นภาระของโลกในระยะยาวนับพันปี เช่น พลาสติก และ Recycle การเปลี่ยนรูปแบบของที่เคยใช้แล้วผ่านกรรมวิธีให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประโยชน์ แต่สำหรับ Regenerative จะให้คุณค่า ใส่ใจทั้งระบบที่เกื้อกูลกันให้กลับมา (Restore) ไม่ใช่แค่ยืดเวลาจากสิ่งที่มีอยู่ให้นานที่สุด แต่มองอย่างสัมพันธ์ และมองไปไกลถึงโลกอนาคต นำความอุดมสมบูรณ์กลับมา ไม่ใช่แค่ลดการใช้ แต่สร้างสิ่งที่เสียไปหรือหายไปให้กลับมาขยายตัวเพิ่ม เป็นโอกาสและทางออกที่สังคมและสิ่งแวดล้อมกำลังต้องการในตอนนี้
“เป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างอาจเกิดขึ้นมาและหายไป เมื่อไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น แต่เรื่องที่มีคุณค่าที่โดนมองข้าม บางครั้งเพียงแค่หันกลับไปมองและหยิบขึ้นมาเพื่อค้นหาว่าคุณค่าของสิ่งนั้นอยู่ที่ไหน อาจสร้างความมหัศจรรย์ให้กับคนในยุคนี้และยุคต่อไปได้ เฉกเช่นคุณอาจคิดว่าแพลงตอน เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญจนพบว่าแพลงตอนเหล่านี้มีคุณค่ากับโลกใต้น้ำมากแค่ไหน ถ้าคุณไม่เห็นระบบที่เอื้อและเกื้อกูลต่อกัน คุณจะไม่สามารถฟื้นอะไรขึ้นมาได้จากฐานรากได้เลย เพียงเพราะสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในระบบชีวิตของเรา ก็ไม่ได้แปลว่ามันไม่สำคัญในระบบของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และโลกด้วย เพราะสุดท้ายแล้วแบรนด์ของคุณจะไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภคนึกถึง แต่การค้นพบถึงคุณค่าของแบรนด์จากแก่นข้างในสามารถเปลี่ยนโลกของคนทำแบรนด์และผู้คนที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด รวมทั้งต่อให้เจออีกกี่วิกฤต เราก็จะกลับมาเข้มแข็ง (resilience) และพร้อมจะฟื้นฟูคุณค่าของทุกสิ่งที่สำคัญ ที่สัมพันธ์กับทุกชีวิตและธรรมชาติให้เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างงดงามเสมอและตลอดไป”
ด้าน คุณมาร์ค บัคลีย์ (Marc Buckley) นักคิดและนักปฏิบัติการด้านอาหารและตัวแทนความยั่งยืนจาก UN SDG กล่าวเสริมว่า หากเราไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตของเรา เราจะไม่สามารถย้ายข้ามผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ เพราะมนุษย์เราได้เดินทางผ่านไปหลายยุคของอารยธรรมแล้ว บางสิ่งบางอย่างก็สูญพันธ์ไปตามกาลเวลา และกาลเวลาก็คือหนึ่งในเหตุผลหลักที่นำไปสู่ความล่มสลายของอีกหลายอารยธรรมด้วย และเมื่อการปฏิวัติทางดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงมนุษย์และโลก มันทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปด้วย ย้อนกลับไป 7 ปีที่แล้ว มนุษย์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน และเราพบว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงต่อชีววิทยามากเกินกว่าที่เราจะคิดออก คิดได้ ดังนั้นเมื่อเราประสานการใช้เทคโนโลยีกับระบบชีวิต และธรรมชาติอย่างเคารพในวิถีของทุกสิ่งภายใต้แนวคิด regenerative ผลลัพธ์ที่เราได้รับจะเป็นผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบที่สุดยอด (super exponential)
สำหรับรายละเอียดกิจกรรมในงาน SB’23 BANGKOK CHANTHABURI: Regenerative Food, Regenerative Future จะเริ่มต้นในวันที่ 3 พ.ย. 2566 ที่โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพ เพลินจิต ตั้งแต่ 8.30 – 17.30 น. เพื่อร่วมเรียนรู้ พูดคุย และแลกเปลี่ยน กับนักคิดและนักปฏิบัติกาและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดและการสร้าง Regenerative ระดับโลก อาทิ Marc Buckley, Jenny Andersson, Sandra Pina และ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ที่จะนำเสนอ ส่งตรงแนวคิดแนวปฏิบัติจากตัวอย่างจริง เพื่อให้ทุกท่านที่ข้าร่วมงานได้ร่วมกันค้นพบคำตอบว่า ทำไมความยั่งยืนจึงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว พร้อมตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องความยั่งยืน มาร่วมตั้งคำถามและหาคำตอบ รวมทั้งเรียนรู้กรณีศึกษาจริงในเรื่อง regenerative ของโลก เพื่อค้นหาวิธีการดำเนินการสร้าง Regenerative เกิดขึ้นเป็นจริงได้ในการสร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ และ ดำเนินชีวิต
ส่วนในวันที่ 4 – 5 พ.ย. 2566 จะเป็นการลงพื้นที่เพื่อไปศึกษาวิธีปฏิบัติงานจริงใน จ.จันทบุรี ทั้งที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี: The Regenerative Dinner – The Lost Recipe ผ่านบรรยากาศมื้ออาหารค่ำของรสจันท์ที่จางหายภายใต้แนวคิดการกู้คืนสูตรตำหรับอาหารเมืองจันทน์ที่แท้จริงให้ฟื้นกลับคืนมา “Herb – Heritage – Hope” พร้อมด้วย สุธีร์ ออร์แกนิกฟาร์ม จันทบุรี: The Regenerative Food & The Regenerative Placemaking ร่วมทำกิจกรรม workshop จาก 2 หัวข้อ ได้แก่ The Regenerative Food และ The Regenerative Placemaking เรียนรู้แนวคิด Regenerative ไปใช้จริงในระบบเกษตร และ อาหาร และระบบการฟื้นฟูเมืองที่ไม่ใช่แค่การท่องเที่ยว แต่เป็นการกอบกู้ชีวิตและเสน่ห์ที่แท้จริงของเมืองจันท์ให้กลับมาอีกครั้ง ผ่านเรื่องราวของวัตถุดิบหลักของจันทบุรี คือ พริกไทย และกระวาน พืชสำคัญของประเทศไทย ที่อุดมคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และแง่มุมประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันพืชสำคัญสองชนิดนี้กำลังจางหายไป มาร่วมตั้งคำถามและหาคำตอบกับคนจันทบุรีว่าจะฟื้นคืนคุณค่าให้กลับมาได้อย่างไร
สำหรับผู้สนใจสามารถซื้อบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ www.sbthailand.com หรือติดต่อคุณดรุณี โทร. 081-817-0453 เวลา 09.00 – 18.00 น. ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2566 ราคาบัตรเข้าร่วมทุกกิจกรรม เริ่มต้นที่ 30,000 บาท (EARLY BIRD สำหรับทุกกิจกรรม เพียง 27,000 บาท)