เอปสันประกาศเลิกขายครื่องพิมพ์เลเซอร์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในสิ้นเดือนธันวาคมปี 2023 และทั่วโลกในปี 2026 ตามวิสัยทัศน์ Epson 25 Renewed เพื่อความยั่งยืน ตั้งเป้าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นลบในปี 2050 และจะใช้พลังงานหมุนเวียนทั้ง 100% พร้อมเติมพอร์ตเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทตอบโจทย์ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย
มร.จุนคิชิ โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจเครื่องพิมพ์ บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เอปสันวางเป้าหมายเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นลบภายในปี 2050 โดยจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ การให้บริการตลอดทั้งซัพพลายเชน รวมทั้งนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ และลงทุนกับกระบวนการใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง Epson 25 Renewed โดยมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าและบริการตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่าน 4 แนวทาง ประกอบด้วย
1. Decarbonization การวเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการดำเนินงาน เพื่อเป็นองค์กร Negative Carbon ภายในปี 2050
2. Closed Resource Loop การให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมด
การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ด้วยการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนในโรงงานผลิตของเอปสันทั่วโลกภายในปี 2023
3. Customer Operation Impact การพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4. Environment Technology การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม เช่น การลดการใช้พลาสติก หรือการพัฒนาวัสดุรีไซเคิลต่างๆ มาเป็นส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์
สำหรับแนวทางสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต เอปสันได้วางวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าธุรกิจและลูกค้าองค์กรเป็นหลัก เอปสันจะไม่เพียงนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่จะต้องสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ซึ่งเอปสันในฐานะผู้นำเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก ได้นำเสนอเทคโนโลยี Heat-Free ที่เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์แบบไม่ใช้ความร้อน เพื่อช่วยลดการปลดปล่อยความร้อนรวมถึงก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานในสำนักงานได้อีกด้วย
เนื่องจาก เทคโนโลยี Heat Free ของเอปสันมีความ Eco-friendly มากกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ทั้งการใช้พลังงานน้อยกว่าเลเซอร์ 85% และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 85% รวมทั้งยังมีการใช้อะไหล่น้อยและส่วนประกอบต่างๆ น้อยกว่า 55% ซึ่งถือว่าใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์เป็นอย่างมาก
“จากผลการสำรวจต่อปริมาณการใช้พลังงานของสำนักงานทั่วไปพบว่าการใช้เครื่องพิมพ์นั้นบริโภคพลังงานมากเป็นอันดับ 4 รองจากเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่าง และคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการนำ เทคโนโลยี Heat-Free จะช่วยให้องค์กรธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกวว่า เอปสันจึงได้ตัดสินใจยุติการจำหน่ายและกระจายสินค้าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั่วโลกในปี 2026 เพื่อหันไปทุ่มเทในการพัฒนาเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้มากกว่า โดยยอดขายปีที่ผ่านมาทั่วโลกของเอปสันอยู่ที่ราว 4 แสนล้านบาท (1 ล้านล้านเยน) ” มร.จุนคิชิ โยชิดะ กล่าว
มร.ซิ่ว จิน เกียด กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาค เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า การยุติการจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ของเอปสันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ภายในสิ้นปี 2023 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายทั่วโลก เพื่อหันมาโฟกัสตลาดเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทระบบหัวพิมพ์ Heat-Free และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนจากนี้ไป เนื่องจาก เป็นภูมิภาคสำคัญของเอปสัน ที่ได้ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 1982 ด้วยการขยายเครือข่ายและศักยภาพทางธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มีสำนักงานเปิดอยู่ใน 10 ประเทศ ภายใต้การดูแลของเอปสัน สิงคโปร์ ทั้งยังมีศูนย์โซลูชัน 6 แห่ง และโรงงานผลิต 7 แห่ง ในด้านการดำเนินนโยบายเชิงสิ่งแวดล้อม
“วิสัยทัศน์สู่อนาคตที่ยั่งยืนตามที่กล่าวมายังมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเทคโนโลยี Heat-Free และโซลูชันรีไซเคิลกระดาษ ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเพื่อธุรกิจของเอปสันที่เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์แล้ว สามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่า จึงเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนให้กับลูกค้า ทั้งยังมีชิ้นส่วนประกอบภายในเครื่องน้อยกว่า ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์น้อยลง และปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยกว่า ในขณะที่ PaperLab ของเอปสัน ก็เป็นระบบผลิตกระดาษแบบแห้งระบบแรกของโลก ที่เปลี่ยนกระดาษใช้แล้วให้เป็นกระดาษใหม่ด้วยเทคโนโลยี Dry Fiber ของเอปสัน เป็นโซลูชันแบบออนดีมานด์ที่ทำให้บริษัทธุรกิจลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ด้วยการรีไซเคิลกระดาษที่ใช้ในสำนักงาน”
ทั้งนี้ เอปสันได้เปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ในกลุ่มเครื่องพิมพ์เพื่อธุรกิจ Epson WorkForce Enterprise AM-Series จำนวนการพิมพ์ 40-60 หน้าต่อนาที เพื่อเพิ่มทางเลือกสำหรับการพิมพ์คุณภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในสำนักงานและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ
นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทของเอปสันที่ใช้เทคโนโลยี Heat-Free ได้รับความนิยมอย่างมากจากทุกตลาดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ จนครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทมากเป็นอันดับหนึ่งในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้เทียบเท่ากับเครื่องเลเซอร์ ทำให้ Painpoint ต่างๆ และภาพจำที่ลูกค้าเคยมองว่า เครื่องพิมพ์เลเซอร์พิมได้เร็วกว่า และคุณภาพดีกว่า ซึ่งการพัฒนาเครื่องอิงค์เจ็ทในปัจจุบันสามารถทดแทนได้ ประกอบกับการออกซีรี่ส์ใหม่ มาทำตลาดในกลุ่มธุรกิจที่ขนาดการพิมพ์ 40-60 หน้าต่อนาที จะทำให้มีไลน์อัพสินค้าที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ครบทุกกลุ่มและสามารถทดแทนเครื่องเลเซอร์ได้ครบทั้ง 100%
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเอปสันจะวางเป้าหมายที่จะเลิกจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนภายในปีสิ้นปีหน้า แต่ยังคงให้บริการสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ยังใช้เครื่องเลเซอร์อยู่ ทั้งการเติมหมึกและบริการอะไหล่ต่างๆ ไปก่อน จนถึงรอบอายุสินค้าหรือจนกว่าลูกค้าจะเปลี่ยนเครื่องใหม่ ซึ่งคาดว่าจะรองรับไปได้ชอีกราว 6-7 ปีข้างหน้า
โดย Epson WorkForce Enterprise AM-Series เป็นเครื่องมัลติฟังก์ชันแบบ 4 สี รองรับการพิมพ์ขนาดใหญ่สุดได้ถึง A3 โดยเครื่องพิมพ์ทั้ง 3 รุ่น (40 หน้า, 50 หน้า และ 60 หน้า) ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ Heat-Free ซึ่งไม่ใช้ความร้อน ใช้พลังงานต่ำ และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ รวมถึงใช้วัสดุสิ้นเปลืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ นอกจากนี้ยังถูกออกแบบระบบภายในให้สามารถใช้งานและบำรุงรักษาง่าย เพราะมีชิ้นส่วนอะไหล่ที่ต้องดูแลรักษาน้อย ใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนาน รวมถึงมีการออกแบบหน้าจอการใช้งาน (User Interface) แบบใหม่ และยังรองรับการตรวจสอบและบำรุงรักษาจากระยะไกลผ่าน Epson Remote Services (ERS) หรือระบบจัดการอุปกรณ์ผ่านระบบคลาวด์ของเอปสันอีกด้วย
ขณะที่เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเพื่อธุรกิจของเอปสัน ที่ทำตลาดอยู่ก่อนหน้านี้ มีสินค้าหลากหลายรุ่น ตั้งแต่ระดับความเร็ว 24 หน้าต่อนาที ไปจนถึง 100 หน้าต่อนาที ทั้งแบบขาวดำและสี และการเพิ่ม Epson WorkForce Enterprise AM-Series ซึ่งเป็นเครื่องระดับกลาง ความเร็วขนาด 40-60 หน้าต่อนาที เข้ามาในพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งเหมาะกับสำนักงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณการพิมพ์ต่อเดือนประมาณ 10,000-20,000 แผ่น จึงเป็นการเติมเต็มให้มีสินค้าครอบทุกกลุ่มเป้าหมาย ทำให้เอปสันสามารถครอบคลุมความต้องการใช้งานขององค์กรธุรกิจได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น
เครื่องพิมพ์ AM-Series มีจุดเด่นที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ยอดเยี่ยม สามารถพิมพ์งานด้วยความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่อง ให้งานพิมพ์ที่คมชัด สามารถใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการเครื่องพิมพ์ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เย็บเอกสารทั้งแบบ เย็บลวด เย็บมุงหลังคา หรือชุดป้อนกระดาษความจุสูง รวมถึงอุปกรณ์เจาะรูกระดาษ นอกจากนี้เครื่องพิมพ์ยังได้รับการออกแบบใหม่ ให้มีดีไซน์ที่ทันสมัย และมีขนาดที่เล็กลงเมื่อเทียบกับเครื่องรุ่นอื่น ช่วยประหยัดพื้นที่ใช้งานเพิ่มขึ้น
“Epson WorkForce Enterprise AM-Series ทั้ง 3 รุ่นที่เปิดตัวในครั้งนี้ จะทำให้ไลน์สินค้าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเพื่อธุรกิจของเอปสันสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถแข่งขันกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ และในตลาดเครื่องถ่ายเอกสารได้อย่างทัดเทียมยิ่งขึ้น โดยในตลาดองค์กรธุรกิจ เครื่องพิมพ์ที่ความเร็วการพิมพ์ระดับ 31- 60 หน้าต่อนาที เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเครื่องพิมพ์ AM-Series ที่ได้รับการออกแบบใหม่นี้ ยังช่วยตอกย้ำถึงวิสัยทัศน์ของเอปสันในการที่จะก้าวต่อไปด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อิงค์เจ็ท ที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรของลูกค้าเอปสันได้ดีกว่า ด้วยความความเร็วและคุณภาพงานพิมพ์ และความคุ้มค่าในการลงทุน”
ทั้งนี้ เอปสันยังได้นำเสนอทางเลือกการใช้งานเครื่องพิมพ์เพื่อธุรกิจ โดยนำเสนอบริการแบบระบบสมาชิก (Subscription) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้งานผ่านโปร Epson EasyCare 360 ที่ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์งานทั้งสีหรือหรือขาวดำ รวมถึงการบริการหลังการขายแบบ On-Site Service ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบตามความเหมาะสบกับการใช้งานของลูกค้าแต่ละราย ได้แก่ EasyCare 360 เหมา เหมา ที่ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์งานทั้งสีหรือหรือขาวดำได้สูงสุดถึง 120,000 แผ่น ในระยะเวลา 24 เดือน ด้วยการเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเริ่มต้นที่ 790 บาท และรับเครื่องที่ใช้อยู่ไปฟรีๆ หลังหมดสัญญา หรืออีกโปรแกรม EasyCare 360 Click Charged ที่ให้ผู้ใช้งานจ่ายค่าใช้จ่ายตามการใช้งานที่ใช้งานจริง โดยสามารถเลือกทำสัญญาได้ทั้งแบบเช่าหรือแบบเช่าซื้อ