ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) ผู้บริหารแบรนด์ยูนิโคล่ (Uniqlo) และ GU ฉายภาพการขับเคลื่อนความยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ ไลฟ์แวร์ (LifeWear) ที่เน้นการผลิตเสื้อผ้าด้วยความเรียบง่าย คุณภาพดี และใช้งานได้นาน ซึ่งเป็นปรัชญาต้นแบบของการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด
โดยผู้บริหารที่ดูแลธุรกิจทั้งในมิติของ สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ ยูกิฮิโระ นิตตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้ให้รายละเอียดความคืบหน้าเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การขยายการตรวจสอบแหล่งที่มา และการพัฒนาความโปร่งใส
มิติของ สังคม (Social) มี เซเรนา เพ็ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง และ ประธานฝ่ายดำเนินการและที่ปรึกษาทั่วไป บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (สหรัฐฯ) ให้ข้อมูลเรื่องการพัฒนาบุคคลากร ความหลากหลาย และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งในการทำงานของสำนักงานใหญ่ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง
รวมถึง การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล (Governance) ที่มี โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด มานำเสนอการพัฒนาไลฟ์แวร์ (LifeWear) ใหม่ล่าสุด รวมถึงสินค้าและบริการที่ดีต่อโลกจากทางบริษัทฯ
ทั้งนี้ สามารถสรุปการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนตามกรอบ ESG ของยูนิโคล่ ได้ต่อไปนี้
1. วางเป้าหมายให้ลูกค้าเข้าถึงไลฟ์แวร์ (LifeWear) ได้ยาวนานมากขึ้น
ริเริ่มโปรเจกต์ RE.UNIQLO STUDIO ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่รองรับบริการซ่อมแซมเสื้อผ้าเก่า เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานได้นานขึ้น โดยได้นำร่องไปก่อนหน้าแล้วเมื่อ เดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ในสาขา รีเจนท์ สตรีท ลอนดอนเป็นแห่งแรก พร้อมทั้งได้ขยายบริการนี้ไปในหลายประเทศ รวมถึงการเปิดทดลองบริการนี้ในญี่ปุ่น ที่ร้านสาขาเซตะกายะ ชิโตเซได เมื่อ 22 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งยูนิโคล่ตั้งใจที่จะขยายบริการนี้ให้ทั่วทั้งญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
2. การเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุรีไซเคิลในสินค้ามากขึ้น
โดยตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีการใช้วัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 5% โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 50% ภายในปี 2573 รวมถึงอัตราส่วนการใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ได้จากการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นประมาณ 16% เทียบกับการใช้โพลีเอสเตอร์ทั้งหมด นับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2565 เสื้อฟลีซขนนุ่มของยูนิโคล่ปี 2565 ได้ทำจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากขวดพลาสติก (PET)
3. การเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการสร้างคาร์บอน
ปัจจุบันที่ร้านสาขาและสำนักงานของยูนิโคล่ในยุโรป อเมริกาเหนือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว 100% ซึ่งได้วางเป้าหมายให้ร้านสาขาและสำนักงานทุกแห่งทั่วโลกของยูนิโคล่ ปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนได้ทั้ง 100% ภายในปี 2573 เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ
ส่วนในระบบซัพพลายเชนโรงงานคู่ค้าหลักผู้ผลิตสินค้าของยูนิโคล่ และ GU มากกว่า 90% ได้ยกระดับมาตรการการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ถ่านหิน และเลือกใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งบริษัทจะเดินหน้าเพื่อให้ทั้งซัพพลายเชนปรับเปลี่ยนมาใช้ Renewable ทั้งอีโคซิสเต็มในอนาคต
4. สามารถระบุแหล่งที่มาของวัสดุในการผลิตได้อย่างโปร่งใส
บริษัทบรรลุการพัฒนาระบบสำหรับการติดตามย้อนกลับไปสู่แหล่งต้นทางของซัพพลายเชนสำหรับสินค้าแต่ละชนิดเสร็จสมบูรณ์แล้ว ด้วยความร่วมมือกับโรงงงานคู่ค้าเริ่มต้นในคอลเลคชัน ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2565 และสามารถนำมาใช้ควบคุมการผลิตตามมาตรฐาน Code of Conduct ทั้งพันธมิตรด้านการผลิตเส้นใยฝ้าย และสิ่งแวดล้อมของแรงงาน และการตรวจสอบทางบัญชี เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการผลิตสินค้าทุกประเภทของยูนิโคล่ และสินค้าอื่นๆ ในเครือของฟาสต์ รีเทลลิ่งในอนาคต
พร้อมเตรียมยกระดับการพัฒนาระบบต่อเนื่อง เพื่อให้ตรวจสอบได้ในขอบเขตที่กว้างขึ้น รวมถึงพิจารณาการเพิ่มรายชื่อเพื่อรวมแหล่งผู้ผลิตเส้นใยฝ้ายในอนาคตด้วย รวมไปถึงของมูลต่างๆ เหล่านี้จะถูกระบุไว้ในออนไลน์สโตร์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ด้วย รวมไปถึงการระบุถึงประเทศต้นทางการผลิตด้วย
5. ลดความเสี่ยงในประเด็นสภาพแวดล้อมของแรงงาน
ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้ใช้มาตรการ Zero- Tolerance ในการทำข้อตกลงใดๆ เพื่อพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพิ่มความแข็งแกร่งในการตรวจสอบความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมของแรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ ก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงขึ้น โดยได้นำโปรแกรม SLCP (Social and Labor Convergence Program) มาใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 เพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งจะนำไปใช้ในทุกโรงงานผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้าหลักๆ ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2566
6. การสนับสนุนความหลากหลายและเป็นหนึ่งเดียวกันในสถานที่ทำงาน
ฟาสต์ รีเทลลิ่งตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้บริหารหญิงให้ถึง 50% ภายในปีงบประมาณ 2573 โดยในปลายเดือนสิงหาคม ปี 2565 อัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 43.7% รวมทั้งยังเปิดโอกาสสำหรับการจ้างงานผู้พิการทั่วโลก และส่งเสริมความคิดริเริ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้อีกด้วย
7. การขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ
– ปีงบประมาณ 2565 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สนับสนุนเงินจำนวน 8.8 พันล้านเยน ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ รวมถึงบริจาคเสื้อผ้า 6.98 ล้านชิ้น (ไม่ร่วมการบริจาคผ่านร้านสาขาและนำไปบริจาคให้กับผู้ลี้ภัยและผู้ที่ขาดแคลน) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้มีถึง 7.49 ล้านคนทั่วโลก
– ยูนิโคล่บริจาคเงินจำนวนประมาณ 100.45 ล้านเยน จากโปรเจ็กต์ PEACE FOR ALL โปรเจกต์เสื้อยืดการกุศลที่สื่อให้เห็นถึงความหวังของบริษัทในเรื่องของสันติภาพ ผลกำไรจากยอดขายของโปรเจกต์นี้ได้บริจาคและถูกจัดสรรไปยังองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), องค์การช่วยเหลือเด็กหรือ Save the Children และองค์การแพลน อินเตอร์เนชันแนล (Plan International) ซึ่งกิจกรรมนี้ยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต รวมทั้งการเพิ่มความช่วยเหลือสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น บริษัทกำลังเพิ่มการจ้างงานและการช่วยเหลือเพื่อตั้งรกรากสำหรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้ริเริ่มโปรเจกต์เพื่อช่วยเหลือด้านอิสรภาพของผู้หญิงพลัดถิ่นชาวโรฮิงญาที่ต้องการลี้ภัยไปยังบังกลาเทศอีกด้วย
– บริษัทมีแผนในการขยายโปรแกรมการพัฒนาสำหรับคนรุ่นต่อไป (next-generation development program) ด้วยความร่วมมือจากโกลบอลแบรนด์แอมบาสเดอร์ของยูนิโคล่ โดยในวันที่ 19 พฤศจิกายน นี้ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ จะมาเยือนประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประกาศยุติการเล่นเทนนิสอาชีพ เพื่อร่วมจัดคลาสเทนนิสสำหรับเยาวชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมนี้
– มูลนิธิฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Foundation) จัดโปรเจกต์ฟื้นฟูผืนป่าในฟิลิปปินส์ ด้วยแผนการปลูกต้นไม้ประมาณ 200,000 ต้นใน 3 พื้นที่