‘ปากีสถาน’ พื้นที่ 1 ใน 3 จมน้ำแล้ว ด้าน UN ส่งสัญญาณเตือน ‘วันนี้ปากีสถาน พรุ่งนี้อาจเป็นประเทศคุณ’

พื้นที่ 1 ใน 3 ของปากีสถานต้องจมอยู่ใต้น้ำ หลังเกิดคลื่นความร้อนรุนแรงและมรสุมที่พัดถล่มลงมาอย่างหนักเป็นประวัติการณ์จากธารน้ำแข็งละลาย และนับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงในรอบศตวรรษ
สำนักงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของปากีสถาน รายงาน จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 1,282 ราย และเกือบ 1 ใน 3 ของเหยื่อทั้งหมดเป็นเด็ก  (CNN Update 4 Sep. 2022)​

ด้านหน่วยงานด้านมนุษยธรรม  ระบุว่า ปากีสถานยังคงต้องการความช่วยเหลือระยะยาว เนื่องจากยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ความทุกข์ยากของประเทศยังไม่สิ้นสุด และในขณะที่ภัยพิบัติยังคงคลี่คลาย เด็ก ๆ จะเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด

โดยภาพถ่ายจากดาวเทียมของ European Space Agency และหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานช่วยเหลือต่าง ๆ ระบุว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 33 ล้านคน ​โดยมีเด็กมากกว่า 3 ล้านคน ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางน้ำ การจมน้ำ และการขาดสารอาหาร ตามรายงานของยูนิเซฟ อุทกภัยยังสร้างความเสียหายหรือทำลายโรงเรียน 17,566 แห่งทั่วประเทศ ยูนิเซฟกล่าว ซึ่งเป็นอันตรายต่อการศึกษาของเด็ก ๆ ต่อไป หลังจากปิดตัวเนื่องจากโควิด-19 เป็นเวลา 2 ปี


มหันตภัยจากสภาพอากาศ

ขณะที่นักวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศ แสดงความเห็นต่อภัยพิบัติ น่าจะเริ่มจากปรากฏการณ์คลื่นความร้อน ที่สะสมมาตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน ส่งผลให้หลายพื้นที่ของประเทศมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียล เป็นระยะเวลาหลายเดือน โดย​เดือนพฤษภาคม เมือง Jacobabad มีอุณหภูมิสูงถึง 51 องศาเซลเซียส ซึ่งนักวิจัยมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องผิดปกติที่ปากีสถานไม่เคยประสบมาก่อน โดยระบุว่า

“นี่ไม่ใช่คลื่นความร้อนปกติ แต่เลวร้ายที่สุดในโลก เรามีสถานที่ที่ร้อนที่สุดในโลกในปากีสถาน”

พร้อมวิเคราะห์ถึงอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้ธารน้ำแข็งบนภูเขาทางเหนือละลาย ส่งผลให้แม่น้ำสายสำคัญอย่างแม่น้ำสินธุที่ไหลทอดยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น ผนวกกับความกดอากาศต่ำในทะเลอาหรับที่เกิดจากคลื่นความร้อน ทำให้เกิดฝนตกหนักในจังหวัดทางชายฝั่งของปากีสถานตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน และรุนแรงจนกลายเป็นมรสุมในปลายเดือน ซึ่งถือว่ามาเร็วกว่าปกติ

ขณะที่ปริมาณฝนที่ตกลงมา ยังมากกว่ากือบสองเท่าของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี โดยเฉพาะใน 2 จังหวัดทางตอนใต้​ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด อย่าง Sindh และ Baluchistan มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 5 เท่า ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย กระทบโครงสร้างพื้นฐานและระบบน้ำได้รับความเสียหาย​ โดยสถาบันวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศบางแห่งพยากรณ์ว่าปรากฏการณ์ La Niña มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของลมมรสุมในอินเดียและปากีสถาน และจะมีต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นผลกระทบมาจาก อุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยระหว่างปี 1952 และปี 2009 อุณหภูมิในปากีสถานเพิ่มขึ้น 0.3 องศาเซลเซียส ต่อทศวรรษ สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก

ซึ่งนอกจากเรื่องภูมิอากาศแล้ว การบริหารจัดการภายในของปากีสถานเอง ก็มีส่วนให้เหตุการณ์ทวีความรุนแรงเช่นกัน  เช่น ระบบเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการภัยพิบัติที่ย่ำแย่ ความไม่มั่นคงทางการเมือง และ การพัฒนาเมืองที่ไร้การควบคุม และยังรวมไปถึงการขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านการระบายน้ำและการจัดเก็บน้ำ และผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำท่วมก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน


เร่งระดมความช่วยเหลือจากนานาชาติ

ด้านนายกรัฐมนตรี Shehbaz Sharif ของปากีสถาน ได้ประมาณการเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ภัยพิบัติดังกล่าวสร้างความเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์แก่โครงสร้างพื้นฐาน บ้าน และฟาร์ม  พร้อมยื่นอุทรณ์ทุนขอเงินช่วยเหลือฉุกเฉินร่วมกับสหประชาชนติ จำนวนกว่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือผู้คนนับล้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยคร้ังนี้

โดยในพิธีดังกล่าว อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวผ่านวิดีโอไว้ว่า น้ำท่วมในปากีสถาน ที่เกิดจากฝนมรสุมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เป็นสัญญาณให้โลกเร่งดำเนินการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  พร้อมระบุให้ทุกประเทศตื่นตัวและหยุดการทำลายโลก จากการทำให้อุณห​ภูมิของโลกสูงขึ้น พร้อมกล่าวคำเตือนอีกด้วยว่า “Today, it’s Pakistan. Tomorrow, it could be your country.” ซึ่งหมายถึง ภัยพิบัติในวันนี้เกิดที่ปากีสถาน แต่ในวันพรุ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศของพวกคุณก็เป็นไปได้ ​

ขณะที่ Sherry Rehman รมว.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปากีสถาน เรียกร้องให้ประเทศที่มีการสร้างก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อวิกฤติที่เกิดขึ้น​ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศร่ำรวยไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ปฏิญาณไว้บนเวทีโลก แต่ปากีสถานกลับต้องเผชิญกับหายนะในครั้งนี้ ​แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา Climate Change ในระดับต่ำเพียง 1% แต่กลับเป็นประเทศที่มีความเสียงสูงสุด อันดับที่ 8 จากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ​ เนื่องจากเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยธารน้ำแข็งมากที่สุดนั่นเอง

source

source 

source

source 

Stay Connected
Latest News