อุปกรณ์แยกเกลือแบบพกพา ‘เปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำดื่ม’ใช้งานง่ายแค่กดปุ่ม กำลังผลิต 0.3 ลิตรต่อชั่วโมง

นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สามารถเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เมื่อนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)  ได้คิดค้นอุปกรณ์แยกเกลือออกจากน้ำทะเล ทำให้สามารถเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำดื่มได้ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว โดยใช้กระแสไฟในการกลั่นน้ำทะเลจากพลังงานแสงอาทิตย์ ตัวเครื่องมีน้ำหนักน้อยกว่า 10 กก. และเล็กพอที่จะสามารถใส่ในกระเป๋าเดินทางได้

เทคโนโลยีนี้ใช้เทคนิคที่จะทำให้น้ำเดือดด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อขจัดโมเลกุลของเกลือ แบคทีเรีย และไวรัส จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ตัวกรองและปั๊มแรงดันสูงซึ่งปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด  ทีมวิจัยจาก MIT ผู้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์นี้ ให้ข้อมูลว่าขนาดของอุปกรณ์เครื่องนี้มีขนาดเท่ากระป๋าเดินทาง โดยมีน้ำหนักไม่ถึง 10 กิโลกรัม และสามารถใช้งานได้ด้วยโซลาร์เซลล์แบบพกพาได้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกล หรือในพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด

Jongyoon Han ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแห่ง MIT กล่าวว่า ถือเป็นความสำเร็จสุดยอดของการเดินทางตลอด 10 ปี ของกลุ่มทำงาน​ครั้งนี้ ที่ได้ทุ่มเทค้นคว้าทางฟิสิกส์ที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการในการแยกเกลือโดยเฉพาะ โดย​ค่อยๆ พัฒนาและสร้างระบบจนมีความก้าวหน้ามากขึ้น รวมถึงการนำไปทดลองในทะเล ซึ่งทุกอย่างที่ผ่านมาล้วนมีคุณค่าและมีความหมายอย่างมากสำหรับ​ทีม

สำหรับคุณภาพของน้ำที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์เครื่องนี้ ถือว่ามีมาตรฐานเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ โดยสามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ได้ทั้งที่มองเห็นด้วยตาเปล่ารวมไปถึงสารที่ละลายปนอยู่ในน้ำก็ตาม

อุปกรณ์ชิ้นนี้ได้ดีไซน์ออกมาให้ใช้งานได้ง่าย คนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้เองโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่ควบคุมการทำงานผ่านแอปฟลิเคชันในสมาร์ทโฟน

“ขณะนี้ได้มีการทดสอบการทำงานของเครื่องต้นแบบเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งสามารถผลิตน้ำดื่มได้ 0.3 ลิตรต่อชั่วโมง จากน้ำทะเลโดยตรง  โดยทางทีมอยู่ระหว่างการขยายกำลังผลิตให้เพิ่มมากขึ้น นับเป็นโปรเจ็กต์ที่น่าตื่นเต้นและน่าภูมิใจอย่างมาก  รวมทั้งยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อในระยะยาว” Junghyo Yoon หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

ซึ่งนอกจากการเพิ่มกำลังผลิตแล้ว ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ จากความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้ร่วมทำการวิจัยในโครงการให้คำชี้แนะ

นอกจากการเพิ่มอัตราการผลิตแล้ว ยังมีความเห็นเกี่ยวกับข้อจำกัดของเครื่องต้นแบบจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ที่ไม่ร่วมการวิจัย​ เช่น  Professor Nidal Hilal ​ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยน้ำอาบูดาบี แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ที่มองว่า การติดตั้งเครื่องนี้ยังถือว่ามีราคาที่แพงอยู่ ซึ่งจะน่าสนใจเป็นอย่างมาก หากสามารถพัฒนาระบบที่มีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกันโดยใช้วัสดุที่มีต้นทุนต่ำกว่ามาทดแทนได้

สำหรับเอกสารที่ระบุรายละเอียดอุปกรณ์ชิ้นนี้ มีชื่อว่า “ระบบแยกเกลือออกจากน้ำทะเลแบบพกพาสำหรับการผลิตน้ำดื่มในพื้นที่ห่างไกล” ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ด้าน Environmental Science and Technology

Stay Connected
Latest News